กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองปัตตานี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการคัดแยะขยะชุมชนกำปงกู

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองปัตตานี

ชุมชนบือติงกำปงกู

ณ อาคารโรงเรียนตาดีการชุมชนบือติงกำปงกู

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สถานการณ์การจัดการขยะมูลฝอย แถลงการณ์กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมควบคุมมลพิษ เผยสถานการณ์มลพิษประเทศไทย ปี 2560 ปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นทั่วประเทศประมาณ 27.40 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.26 จากปี 2559 ที่เกิดขึ้น 27.06 ล้านตัน เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากรและการขยายตัวของชุมชนเมือง แต่อัตราการเกิดขยะมูลฝอยต่อคนลดลงจาก 1.14 กิโลกรัม/คน/วัน ในปี2559เป็น 1.13 กิโลกรัม/คน/วัน โดยเป็นผลมาจากความร่วมมือของหน่วยงานท้องถิ่น ประชาชน และภาคเอกชนในการลดและใช้ประโยชน์จากขยะมูลฝอยและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค
การจัดการขยะมูลฝอยใน 2560 เปรียบเทียบกับ ปี 2559 ปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกนำไปกำจัดอย่างถูกต้องเพิ่มขึ้นร้อยละ 22 จาก 9.57 ล้านตัน เป็น 11.70 ล้านตัน มีปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกนำกลับมาใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้น ร้อยละ 47 จาก 5.80 ล้านตัน เป็น 8.52 ล้านตัน ส่งผลให้ปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกนำไปกำจัดอย่างไม่ถูกต้องลดลง ร้อยละ 39 จาก 11.69 ล้านตัน เป็น 7.18 ล้านตัน อย่างไรก็ตามปัจจัยที่ส่งผลให้การจัดการขยะมูลฝอยยังดำเนินการได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ อาทิ การคัดแยกขยะมูลฝอยจากต้นทางยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องโดยบางแห่งยังมีการเก็บขนขยะมูลฝอยที่คัดแยกไว้แล้วรวมกับขยะที่จะต้องกำจัด ความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการให้บริการเก็บขนขยะมูลฝอย การกำจัดขยะมูลฝอยในบางพื้นที่ยังดำเนินการไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ บางพื้นที่ไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากประชาชนต่อต้าน การขาดความร่วมมือและความตระหนักจากประชาชน นักท่องเที่ยว และผู้ประกอบการในการลดและคัดแยกขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทาง รวมถึงยังมีการใช้สินค้าและ/หรือบรรจุภัณฑ์ที่กำจัดยากและย่อยสลายตามธรรมชาติได้ยากโดยเฉพาะถุงพลาสติกและโฟม
ปัญหาจากขยะมูลฝอยเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ เนื่องจากขยะมูลฝอยส่งผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมอย่างเห็นได้ชัด เพื่อลดปัญหาการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะและขยะตกค้างจึงต้องมีการคัดแยกขยะให้ถูกประเภทเพื่อสะดวกในการจัดการ เช่น ขยะย่อยสลายได้ก็นำไปทำปุ๋ยหมัก ขยะอันตรายก็นำเข้าสู่ระบบการทำลายที่ปลอดภัย ส่วนขยะที่รีไซเคิลได้ก็นำรวบรวมเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ใหม่ส่วนขยะทั่วไปก็นำไปทิ้งหรือนำไปกำจัดอย่างถูกวิธีและตามหลักสุขาภิบาลต่อไป เมื่อเราทราบว่าขยะรีไซเคิลมีชนิดใดบ้างก็สามารถแยกชนิดได้อย่างละเอียดตั้งแต่ในครัวเรือน เมื่อนำไปขายก็จะเพิ่มมูลค่าของขยะรีไซเคิลให้มากขึ้นและง่ายต่อการนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลประเภทนั้น ๆ ขยะมูลฝอยในครัวเรือนโดยทั่วไปสามารถแยกออกเป็นวัสดุรีไซเคิลได้เป็น 4 ประเภท คือ แก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ/อโลหะ ซึ่งเมื่อแยกออกเป็นประเภทต่าง ๆ แล้วมักจะเรียกว่าวัสดุรีไซเคิลการคัดแยกขยะก่อนทิ้งในครัวเรือน จะช่วยลดปริมาณขยะในครัวเรือนและลดปัญหาขยะที่ตกค้างตามชุมชนทำให้สิ่งแวดล้อมสะอาดได้เป็นอย่างมาก อีกทั้งยังเป็นการลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติลดการใช้พลังงานและลดมลพิษที่จะเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ประชาชนจะร่วมมือกันลดและแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น ด้วยการคัดแยกขยะให้ถูกประเภทและนำวัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลเพื่อใช้ทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างคุ้มค่าและยั่งยืนต่อไป
ข้อมูลพื้นฐานของชุมชนกำปงกู
จากการสำรวจปัญหาขยะในชุมชนบอติงกำปงกู ซึ่งมีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด567ครัวเรือนมีหลังคาเรือนทั้งหมด 352 ครัวเรือน ประชากรทั้งหมด2,663 คน มีอาณาเขตตั้งแต่ถนนสฤษดิ์ถนนปากน้ำ
ถนนโรงเหล้าสาย ข
ลักษณะทั่วไปของชุมชน เป็นชุมชนที่ติดกับแม่น้ำปัตตานีบ้านที่อยู่อาศัยล้อมรอบติดกับชุมชนใกล้เคียง มีแรงงานต่างด้าวอยู่อาศัย เนื่องจากมีอุตสาหกรรมโรงงานน้ำแข็งอยู่ในชุมชนการดำเนินชีวิตส่วนใหญ่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยร้านค้าประมงพื้นบ้านจะพบปัญหาในการทิ้งขยะมูลฝอยเป็นส่วนมากซึ่งขยะต่างๆเหล่านี้ประชาชนจะทิ้งรวมในถังขยะทิ้งลงแม่น้ำลำคลอง ทิ้งลงพื้นที่ว่าง ไม่มีการคัดแยกขยะ ในชุมชนมีถังขยะเทศบาล จำนวน15 ใบ ตั้งอยู่บริเวณป้ายชุมชนบริเวณสามแยก โดยจากการสุ่มแบบสอบถามละสำรวจปริมาณขยะในบ้านเรือนประชาชน จำนวน 50 หลังคาเรือน พบว่า ขยะรีไซเคิลร้อยละ 12 ขยะอินทรีย์ ร้อยละ30ขยะทั่วไปร้อยละ 74.และขยะอันตราย ร้อยละ 2ซึ่งประชาชนอาจไม่เข้าใจถึงประเภทขยะ และไม่รู้จักการคัดแยกขยะ
คณะกรรมการชุมชนกำปงกูเห็นความสำคัญเรื่องปัญหาขยะในชุมชนจึงได้จัดทำโครงการรณรงค์การคัดแยกและจัดเก็บขยะมูลฝอยขึ้นเพื่อนำร่องในการบริหารจัดการขยะ สร้างมูลค่าขยะให้เป็นรายได้เสริมแก่ประชาชนให้ประชาชนรู้จักการคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือน และป้องกันแหล่งโรคติดต่อที่เกิดจากปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะมูลฝอยในอนาคตต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนในชุมชน มีความรู้เกี่ยวกับขยะประเภทต่างๆตลอดจนทราบถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากขยะ

ร้อยละ 50ของประชาชนในชุมชนมีความรู้เรื่องประเภทขยะ

0.00
2 เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับวิธีการลดปริมาณขยะ วิธีการคัดแยกขยะ การนำกลับมาใช้ใหม่

ร้อยละ 30ของประชาชนในชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะ

0.00
3 เพื่อรณรงค์สร้างจิตสำนึกให้กับประชาชนในการคัดแยกขยะ

ร้อยละ 80ของประชาชนในชุมชนรับทราบการประชาสัมพันธ์ในการคัดแยกขยะ

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะตามหลัก 3Rและให้ความรู้เรื่องการจัดทำธนาคารขยะแก่คระทำงานและสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ -ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 4 ชั่วโมง ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้ารับการอบรมและผู้ดำเนินการจัดอบรม จำนวน 60 คนๆละ25 บาท ต่อมื้อ รวม 2 มื้อเป็นเงิน 3,000 บาท -ค่าอาหารกลางวัน สำหรับผู้เข้ารับการอบรมและผู้ดำเนินการจัดอบรม จำนวน 60 คนๆละ75 บาท ต่อมื้อ รวม 1 มื้อเป็นเงิน 4,500 บาท -ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการดำเนินงาน เช่น สมุด ปากกา กระดาษชาร์ต ป้ายไวนิล ฯลฯ
เป็นเงิน จำนวน 5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16400.00

กิจกรรมที่ 2 ขยะแลกเงิน

ชื่อกิจกรรม
ขยะแลกเงิน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าจัดทำป้ายไวนิล  ชื่อโครงการ จำนวน 1 ผืน            เป็นเงิน 500 บาท     -ค่าจัดซื้อตาชั่งขนาด 20 กิโลกรัม  จำนวน 1 เครื่อง            เป็นเงิน 1,000 บาท     -ค่าจัดซื้อเครื่องคิดเลข จำนวน 1 เครื่อง                เป็นเงิน    600บาท     -ค่าจัดซื้อเข่งสำหรับคัดแยกขยะ จำนวน 4 ใบๆละ300 บาท    เป็นเงิน 1,200 บาท     -ค่าซื้อกระสอบสำหรับใส่ขยะ จำนวน 100 ใบๆละ 10 บาท      เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6300.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรม “ปุ๋ยหมักจากขยะอินทรีย์ “

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม “ปุ๋ยหมักจากขยะอินทรีย์ “
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-คัดแยกขยะและรับซื้อขยะรีไซเคิล

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 33,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอย
2.ประชาชนได้ใช้ประโยชน์จากขยะที่เกิดขึ้นในชุมชน
3.มีแกนนำในการจัดดารขยะในชุมชน


>