แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา
1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม
โครงการป้องกันการแพร่ระบาด โรคพิษสุนัขบ้าในเขตเทศบาลนครยะลาชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา
กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา
กลุ่มงานป้องกันและควบคุมโรค สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครยะลา
เขตเทศบาลนครยะลา
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
โรคพิษสุนัขบ้า เป็นโรคติดต่อชนิดสัตว์ติดคนที่มีอันตรายและน่าสะพรึงกลัวเป็นอย่างยิ่ง คนหรือสัตว์ที่เป็นโรคนี้แล้วไม่มีทางรักษาให้หายได้ผู้ป่วยทุกรายจะต้องตาย ถึงแม้ว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมาได้พยายามกำจัดโรคนี้ให้หมดไป แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ และภายหลังจากมีจากมีพระบรมราชโองการให้ประกาศใช้ "พระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535" มีผลทำให้สถิติของผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าลดลงอย่างต่อเนื่องแล้วก็ตาม แต่ในการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ายังคงมีอยู่เพื่อกำจัดโรคนี้ให้หมดไป เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าวจึงมีความจำเป็นต้องดำเนินกิจกรรมควบคู่กันไปหลายประการ และทุกกิจกรรมจะต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภายใต้กรอบของกฎหมายที่กำหนดไว้ เช่น การสร้างภูมิโรคจากการให้วัคซีน การลดจำนวนสุนัขจรจัด การควบคุมอัตราการเกิดของสุนัขเลี้ยงและแมว การให้ความรู้ประชาชน และตระหนักถึงความสำคัญของโรค
ในพื้นที่ของเทศบาลนครยะลา มีสุนัขและแมว จำนวนเกือบ 5,000 ตัว
จากการสำรวจผ่านกลุ่มงานสัตวแพทย์ มีสุนัขและแมวประมาณ 3,000 ตัวโดยประมาณที่ได้รับการฉีดวัคซีน จากสถานบริการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม คิดเป็นร้อยละ 60อีกร้อยละ 40 ทางงานสัตวแพทย์ สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครยะลา กำลังดำเนินการเร่งฉีดทั้งในเขตและนอกเขตเทศบาลบริเวณใกล้เคียงประกอบกับข้อมูลเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2561 ได้มีการประกาศกำหนดเขตโรคระบาดชั่วคราวตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 พบสุนัขที่ติดเชื้อพิษสุนัขบ้า ณ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดยะลา ตำบลสะเตง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ซึ่งยังไม่ทราบเจ้าของที่มาทิ้งสุนัขที่เป็นโรคดังกล่าว
จากปัญหาดังกล่าวเพื่อเป็นการควบคุมป้องกันและเฝ้าระวังโรคที่เกิดจากสัตว์ไปสู่คน กลุ่มงานป้องกันและควบคุมโรคสำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครยะลา ในฐานะผู้รับผิดชอบงานสาธารณสุข จึงได้จัดทำโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการการแก้ไข เฝ้าระวัง ป้องกัน โรคพิษสุนัขบ้าให้ความรู้แก่แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุข ครู แกนนำนักเรียน และประชาชนทั่วไป ได้เล็งเห็นความสำคัญและอันตรายจากโรคพิษสุนัขบ้า ให้มีความเข้าใจและร่วมกันดูแลรักษาสัตว์เลี้ยงของตนเองให้ได้รับวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ตลอดจนควบคุมจำนวนสัตว์เลี้ยงไม่ให้มีจำนวนมากเกินไป ซึ่งจะเป็นการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ตามแนวทางการติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้าภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 3 การเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรค และดูแลรักษาโรคในคน
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
1. เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคติดเชื้อพิษสุนัขบ้า
2. เพื่อให้แกนนำชุมชนอาสาสมัครสาธารณสุข.ครู แกนนำนักเรียน และประชาชนทั่วไป มีความรู้ในการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
3. เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์เลี้ยง
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น : 28/06/2018
กำหนดเสร็จ : 30/09/2018
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1.ประชาชนมีความปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้าและไม่มีผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้า
2. สัตว์เลี้ยงไม่เป็นพาหะนำโรคพิษสุนัขบ้ามาสู่คน
3. เจ้าของสัตว์เลี้ยงมีจิตสำนึกและความรับผิดชอบในการเลี้ยงสัตว์ และได้รับความรู้ในการดูแลสัตว์เลี้ยงให้ปลอดจากโรคพิษสุนัขบ้า