กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่ากำชำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันโรคไข้เลือดออก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่ากำชำ

ประธานอาสาสมัครสาธารณสุข ม.6

พื้นที่ตำบลท่ากำชำ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย ส่วนใหญ่มาเป็นในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ในผู้ใหญ่อาจพบได้บ้าง บางรายอาการรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ มักระบาดในช่วงหน้าฝน เพราะพาหะของโรคไข้เลือดออกคือ ยุงลาย ลักษณะที่อยู่อาศัยของยุงลายพบมากตามบ้านที่อยู่อาศัยในสวนขยายพันธุ์โดยการวางไข่ในน้ำขัง เช่น โอ่งน้ำ แจกันดอกไม้ ยางรถยนต์เก่า หรือเศษวัสดุที่รองรับน้ำได้ทุกชนิด
พื้นที่ตำบลท่ากำชำ เป็นพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก จากข้อมูล 3 ปีที่ผ่านมามีผู้ป่วยเป็นไข้เลือดออกดังนี้คือ ปี พ.ศ.2558 จำนวน 5 ราย ปี พ.ศ.2559 จำนวน 7 ราย ปี พ.ศ.2560 จำนวน 8 ราย ดังนั้นเพื่อไม่ให้มีการระบาดของไข้เลือดออกจึงต้องมีการป้องกันโดยการทำลายยุงลายและแหล่งเพาะพันธุ์ โดยสร้างความเข้าใจตระหนักให้ความสำคัญ จึงเกิดความร่วมมือในชุมชนอย่างจริงจัง นำไปสู่การป้องกันไข้เลือดออกได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายด้วยความร่วมมือของประชาชนในชุมชน

ไม่พบลูกน้ำยุงลายในภาชนะรองรับน้ำในบ้าน (Container Index = 0) และบริเวณบ้าน (House Index = 0)

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 40
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้และหาแนวทางในการควบคุมโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้และหาแนวทางในการควบคุมโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าป้ายโครงการ 1 x 4 เมตร    เป็นเงิน  1,000  บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 40 คน x 25 บาท x 2 มื้อ     เป็นเงิน   2,000  บาท -ค่าอาหารกลางวัน 40 คน x 50 บาท     เป็นเงิน   2,000  บาท -ค่าเดินทาง 40 คน x 50 บาท         เป็นเงิน  2,000  บาท -ค่าวัสดุทรายกำจัดลูกพันธุ์ยุงลาย ถังละ 5,000 บาท x 4 ถัง      เป็นเงิน    20,000  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้และแนวทางในการควบคุมโรคไข้เลือดออกด้วยหลัก 5 ป
-รู้วิธีการจัดการขยะในครัวเรือนและการปรับสภาพแวดล้อมในครัวเรือน
-การกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ุลูกน้ำยุงลายที่ถูกวิธี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
27000.00

กิจกรรมที่ 2 ติดตั้งป้ายรณรงค์ที่มัสยิดในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
ติดตั้งป้ายรณรงค์ที่มัสยิดในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าป้านรณรงค์ ขนาด 1 x 2 เมตร จำนวน 8 แผ่น x แผ่นละ 500 บาท   เป็นเงิน  4,000  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ช่วยสร้างจิตสำนึกให้แก่ประชาขนในพื้นที่มีการระวัง และป้องกันตนเองจากไข้เลือดออก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 31,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อัตราผู้ป่วยด้วยไข้เลือดออกในชุมชนลดลงเมื่อเปรียบเทียบย้อนหลัง 3 ปี
2. ประชาชนสุขภาพดีด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อมในบ้านและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ


>