กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโล๊ะหะลอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะที่ต้นทางของชุมชน ประจำปี 2561

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโล๊ะหะลอ

องค์การบริหารส่วนตำบลตะโละหะลอ

มัสยิดในตำบลตะโละหะลอ จำนวน 8 มัสยิด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปริมาณขยะที่ครัวเรือนผลิตได้ต่อวัน (ก.ก.)

 

433.00
2 จำนวนประชาชนที่มีพฤติกรรมแยกขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)

 

600.00
3 จำนวนครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)

 

700.00
4 จำนวนหน่วยงาน/องค์กรที่มีนโยบายจัดการขยะที่ถูกต้อง(แห่ง)

 

9.00
5 จำนวนหมู่บ้านที่มีนโยบายหรือมาตรการด้านการจัดการขยะที่ถูกต้อง(แห่ง)

 

3.00
6 จำนวนเงินที่ อปท.ใช้เพื่อการกำจัดขยะในชุมชน(บาท/ปี)

 

20,000.00

ปัจจุบัน ปัญหาการจัดขยะเป็นปัญหาใหญ่ของหลายๆประเทศในประเทศไทยเองก็กำลังเผชิญกับปัญหาการกำจัดขยะที่นับวันจะมีความรุนแรงตลอดเวลา และยังไม่สามารถหาทางออกที่ดีได้ แม้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะพยายามหาวิธีการกำจัด และ ของเสียอันตรายจากบ้านเรือนเป็นปัญหาสำคัญ ครัวเรือนเป็นแหล่งกำเนิดของเสียอันตรายจากชุมชนประมาณ๑ ใน ๔ ของทั้งหมด และที่มาของเสียอันตรายจากชุมชนมากกว่าครึ่งที่กำจัดในสถานที่ฝังกลบขยะมูลฝอย การถูกกำจัดพร้อมขยะมูลฝอยชุมชนหรือปล่อยทิ้งสู่ท่อน้ำเสียหรือระบบสู่สิ่งแวดล้อมโดยตรง การกระทำเช่นนี้เพิ่มความเสี่ยงของสาธารณะ และอาจจะส่งผลให้มีการปนเปื้อนของน้ำใต้ดินอีกด้วย
นโยบายรัฐบาลปัจจุบัน ได้กำหนดการเร่งรัดแก้ไขปัญหาการจัดการขยะเป็นวาระแห่งชาติที่ต้องได้รับการแก้ไขเป็นลำดับแรกโดยให้ดำเนินการตาม Road map การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายที่ผ่านการเห็นชอบจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อกำจัดมูลฝอยตกค้างสะสมในสถานที่กำจัดในพื้นที่วิกฤตสร้างรูปแบบการกำจัดขยะและของเสียอันตรายที่เหมาะสม วางระเบียบมาตรการบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันราย และสร้างวินัยของคนในชาติโดยมุ่งเรื่องการคัดแยกขยะเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ทั้งการรีไซเคิล และการแปรรูปเป็นพลังงาน
จากสภาพปัญหาขยะมูลฝอยของประเทศที่เพิ่มปริมาณมากขึ้นในทุกปี ประกอบกับการหาพื้นที่สำหรับเป็นที่ตั้งของระบบกำจัดขยะมีปัญหาถูกต่อต้านจากชุมชน การเข้าไปใช้พื้นที่ป่า หรือพื้นที่สาธารณะ ก็มักก่อให้เกิดปัญหาการทำลายระบบนิเวศและเกิดปัญหามลพิษแพร่กระจายสู่สิ่งแวดล้อม แนวทางการจัดการเพื่อลดปริมาณขยะจากต้นทาง จึงเป็นมาตรการที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ดังนั้น เพื่อเป็นการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลในการจัดการขยะมูลฝอย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวกับการสร้างวินัยของคนในชาติในการคัดแยกขยะเพื่อนำกลับไปใช้ใหม่ เป็นการใช้ทรัพยากรประหยัด คุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด มุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ องค์การบริหารส่วนตำบลตะโละหะลอจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการคัดแยกขยะที่ต้นทาง ประจำปี 2561 ขึ้น เพื่อให้ประชาชนมีการคัดแยกขยะที่ต้นทาง เพื่อให้สามารถนำไปสู่การจัดการขยะที่ถูกต้อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีการคัดแยกขยะในครัวเรือน ๒. เพื่อให้ประชาชนมีการคัดแยกขยะและนำไปใช้ประโยชน์ ๓. เพื่อให้สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนรักสิ่งแวดล้อม

๑. ประชาชนมีการคัดแยกขยะในครัวเรือน ๒. ประชาชนมีการคัดแยกขยะและนำไปใช้ประโยชน์ ๓. สามารถสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนรักสิ่งแวดล้อม

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 6,000
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะที่ต้นทางของชุมชน ประจำปี 2561

ชื่อกิจกรรม
โครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะที่ต้นทางของชุมชน ประจำปี 2561
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๔.๑ การอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้และการสาธิตการคัดแยกขยะแต่ละประเภท ให้กับ
          กลุ่มเป้าหมายในหมู่บ้าน         ๔.๒  การดำเนินกิจกรรมการคัดแยกขยะที่แหล่งกำเนิดในแต่ละครัวเรือน จะต้องดำเนินกิจกรรม
                     การคัดแยกขยะครบทั้ง ๔ ประเภทและแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับกิจกรรมการคัดแยกขยะ
                     แต่ละประเภทอย่างชัดเจน (ขยะรีไซเคิล ขยะอินทรีย์ ขยะอันตรายและขยะทั่วไป)
        ๔.๓ ดำเนินการรวบรวมหรือกำจัดหรือการนำไปใช้ประโยชน์ของขยะในแต่ละประเภท         - ขยะรีไซเคิล เก็บรวบรวมที่พักขยะ ของหมู่บ้าน ขายนำรายได้เข้ากองกลาง         - ขยะอินทรีย์ จัดอบรมให้ความรู้ในการทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ
              - ขยะอันตราย องค์การบริหารส่วนตำบลตะโละหะลอดำเนินการเก็บรวบรวมเพื่อส่งให้                       องค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลาส่งไปกำจัด
                     -ขยะทั่วไป องค์การบริหารส่วนตำบลตะโละหะลอดำเนินการเก็บรวบรวมส่งไปกำจัดที่ทิ้ง                        ขยะของเทศบาลนครยะลา     4.4 ประสานหน่วยงานราชการในพื้นที่ตำบลตะโละหะลอ และประชาชน ร่วมกันเดินรณรงค์
          โครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะที่ต้นทางของชุมชน รายละเอียดค่าใช้จ่ายโครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะที่ต้นทางของชุมชน

          ๑. อาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 4๐๐ คน คนละ 3๕ บาท จำนวน ๒ มื้อ  เป็นเงิน 28,๐๐๐บาท     ๒. ค่าอาหารกลางวัน         จำนวน 4๐๐ คน คนละ ๕๐  บาท                 เป็นเงิน 20,๐๐๐บาท     ๓. ค่าวิทยากร  จำนวน ๑ คน จำนวน 48 ชั่วโมง               ( 8 วันๆละ  6 ชั่วโมง ชั่วโมงละ ๖๐๐ บาท)                                    เป็นเงิน 28,8๐๐บาท     ๔. ค่าป้ายไวนิล จำนวน 8 ป้าย  ป้ายละ 720 บาท                               เป็นเงิน  5,760บาท

                 รวมเงินทั้งสิ้น        82,56๐ บาท (แปดหมื่นสองพันห้าร้อยหกสิบบาทถ้วน)


ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑. ประชาชนมีการคัดแยกขยะในครัวเรือน     ๒. ประชาชนมีการคัดแยกขยะและนำไปใช้ประโยชน์     ๓. สามารถสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนรักสิ่งแวดล้อม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
82560.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 82,560.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. ประชาชนมีการคัดแยกขยะในครัวเรือน
๒. ประชาชนมีการคัดแยกขยะและนำไปใช้ประโยชน์
๓. สามารถสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนรักสิ่งแวดล้อม


>