กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จะแหน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ส่งเสริมสุขภาพและอบรมแกนนำผู้สูงอายุตำบลจะแหน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จะแหน

ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน คอลอมุดอ

นางมาสีเต๊าะล่อเต๊ะ
นางตีบ๊ะไอนา

ห้องประชุม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล วังโอ๊ะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โครงสร้างประชากรเปลี่ยนแปลงไปและมีแนวโน้มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ใน พ.ศ. 2568 จากการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ.2550 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าโรคเรื้อรังที่คุกคามภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุไทยมากที่สุด 3 อันดับแรกได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคหัวใจ
จากปัจจัยเสี่ยงและปัญหาด้านสุขภาพในผู้สูงอายุ ข้างต้น ทางอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านคอลอมุดอ ตำบลจะแหน อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา ได้นำมาวิเคราะห์ร่วมกับภาคีสุขภาพในพื้นที่เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการ ส่งเสริมสุขภาพและอบรมแกนนำผู้สูงอายุประจำปี 2561 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อให้ผู้สูงอายุเข้าถึงบริการสุขภาพ โดยได้รับการตรวจประเมินภาวะสุขภาพ และสามารถดูแลตนเองได้ ทั้งร่างกายและจิตใจ
2. เพื่อส่งเสริมสุขภาพให้ผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและการแก้ปัญหาด้านสุขภาพด้วยตนเอง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 150
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/08/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คัดกรอง พร้อมให้ความรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลสุขภาพในชีวิตประจำวัน

ชื่อกิจกรรม
คัดกรอง พร้อมให้ความรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลสุขภาพในชีวิตประจำวัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

  4. จัดคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ พร้อมทั้งให้ความรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์แก่ผู้สูงอายุ โดยใช้แบบคัดกรองผู้สูงอายุ ในเรื่อง               4.1      - ให้ความรู้ แนวคิด การเปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุ
                       - อาหารสำหรับผู้สูงอายุ                        - ให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาวะทางตา  ข้อเข่าเสื่อมของผู้สูงอายุ    4.2 - การคัดกรองภาวะซึมเศร้าผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง 3 โรค                        - การออกกำลังกาย (การบริหารร่างกาย)                        - โรคเรื้อรังในผู้สูงอายุ
                       - การนวดคลายเครียด
              4.3 - การประเมินภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ                        -  โรคอ้วนในผู้สูงอายุ                        - โรคมะเร็งที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ                        -  โรคกระดูกและข้อในผู้สูงอายุ           -  ให้ความรู้เกี่ยวกับแพทย์แผนไทยกับข้อเข่าเสื่อมผู้สูงอายุ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
33150.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 33,150.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุมีความรู้ เจตคติ ทักษะและการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการดูแลตนเองได้ถูกต้อง
2. ผู้สูงอายุมีสุขภาพแข็งแรงไม่ป่วยด้วยโรคหรือได้รับอุบัติเหตุที่เกิดจากการปฏิบัติตนไม่ถูกต้อง
3. แกนนำชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ


>