กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คอลอตันหยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ชุมชนบ้านแม่โอนไร้ควันบุหรี่

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คอลอตันหยง

ดาหลาคอลอตันหยง

1.นางสาวยาวารี กูโน (หัวหน้าโครงกาาร)
2.นายมะซาลี แวกือจิ
3.นางสาวปาตีเมาะ ดาราโอ
4.นางสาวตูแวเตาะ สุหลง
5.นางสาวไซยเราะห์ ดาแม

ชุมชนคอลอตันหยง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานยาสูบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 1.ร้อยละของเด็กและเยาวชน(อายุไม่เกิน 20 ปี) ที่สูบบุหรี่

 

50.00
2 2.ร้อยละของผู้ได้รับควันบุหรี่มือสอง

 

50.00

ควันบุหรี่ส่งผลกระทบด้านสุขภาพทั้งต่อตัวผู้สูบและคนไม่สูบ(แต่ได้รับสูดดมควัน) หรือที่เรียกกันว่า “ควันบุหรี่มือสอง” คือควันจากปลายมวนบุหรี่ที่จุดไฟ และควันที่ผู้สูบบุหรี่สูดเข้าไปและหายใจออกมา ประกอบด้วยสารเคมีมากกว่า 7,000 ชนิด และมีถึง 70 ชนิดที่เป็นสารก่อมะเร็ง ควันบุหรี่มีผลต่อผู้สูบและผู้ไม่สูบได้รับควันทั้งในระยะสั้นและระยะยาวและที่สำคัญที่น่าเป็นห่วงมาก คือ ควันบุหรี่มีผลต่อเด็กโดยพบว่า เด็กจะได้รับอันตรายจากควันบุหรี่มือสองมากกว่าผู้ใหญ่เนื่องจากมีขนาดของร่างกายที่เล็กกว่า มีอัตราการหายใจมากกว่า และมีระบบการหายใจร่วมกับระบบภูมือต้านทานที่ยังทำงานได้ไม่เต็มที่อีกทั้งควันบุหรี่มือสองสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคในเด็กหลายอย่าง เช่นการตายอย่างเฉียบพลันในวัยทารก ทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจหลายอย่างทำให้อาการหอบหืดแย่ลง ทำให้เกิดโรคของหูชั้นกลาง และทำให้การเจริญเติบโตของปอดช้าลงนอกจากนี้เด็กที่ได้รับควันบุหรี่มือสองในบ้านสัมพันธ์กับการเข้ารับบริการที่ห้องฉุกเฉินมากขึ้น และต้องนอนโรงพยาบาลนานขึ้นและมีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพมากขึ้น และที่สำคัญเด็กที่อยู่ในบ้านที่มีคนสูบบุหรี่ก็มีแนวโน้มที่จะเริ่มสูบบุหรี่ในอนาคตมากกว่า
ดังนั้นจึงอยากให้มีการจัดโครงการ "คอลอตันหยงไร้ควันบุหรี่"เพื่อให้มีการสร้างภูมิกันให้กับเด็กเยาวชนในการให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องโทษและพิษภัยของบุหรี่ทำให้เด็กเยาวชนเกิดการมีทักษะที่ดีในการใช้ชีวิตและมีทักษะในการปฏิเสธบุหรีและสารเสพติดส่งผลให้เด็กเยาวชนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่ไปยุ่งกับบุหรี่และยาเสพติดเพื่อเป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็งต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนผู้สูบบหรี่รายใหม่ในกลุ่มเด็ก-เยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 20ปี

ร้อยละของเด็กและเยาวชน(อายุไม่เกิน 20 ปี) ที่สูบบุหรี่ ลดลงเหลือ(คน)

30.00
2 เพื่อลดอัตราการได้รับควันบุหรี่มือสองที่บ้าน

อัตราการได้รับควันบุหรี่มือสองที่บ้านของตนเองลดลงเหลือ(ร้อยละ)

30.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มแกนนำ 20

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2019

กำหนดเสร็จ 31/03/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ เรื่องโทษ และพิษภัยของบุหรี่ ให้กับเยาวชนบ้านแม่โอน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ เรื่องโทษ และพิษภัยของบุหรี่ ให้กับเยาวชนบ้านแม่โอน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะกรรมการการจัดทำโครงการ กลุ่มจิตอาสาจำนวน 20 คน คณะกรรมการแกนนำชุมชน จำนวน 8 คน รวมเป็น 28 คน 1.1 เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ และทำความเข้าใจในโครงการรวมถึงแบ่งบทบาทหน้าที่และวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน 1.2 เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยน เรียนรู้ในการดำเนินโครงการร่วมกัน ให้ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะ ในการดำเนินงาน การแก้ไขปัญหา อุปสรรค และการปรับปรุงแผนการดำเนินงาน 1.3 งบประมาณ -ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมประชุมการจัดทำโครงการ จำนวน 28 คน ๆ ละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 700 บาท

จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่องโทษ และพิษภัยของบุหรี่เยาวชนอายุตั้งแต่ 9-15 ปี จำนวน 50 คน 2.1ให้ความรู้ เรื่องโทษ และพิษภัยของบุหรี่แก่เยาวชนที่มีอายุตั้งแต่ 9-15 ปี จำนวน 50 คน ได้มีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงโทษพิษภัยของบุหรี่ เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่ยุ่งเกี่ยวกับบุหรี่ 2.2 เกิดการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ลดการสูบบุหรี่และการมั่วสุมยาเสพติดในชุมชน

งบประมาณ -อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโทษของบุหรี่ จำนวน 50 ราย -ค่าใช้จ่าย ไวนิล 700 บาท รวมเป็นเงิน 700 บาท ค่าวัสดุอุปกรณ์และเอกสาร จำนวน 50 ชุดๆละ 50 บาท รวมเป็นเงิน 2,500 บาท ค่าอาหาร 50 บาท ต่อคน รวมเป็นเงิน 2,500 บาท อาหารว่างจำนวน ่50 คนๆละ 25 บาท/มื้อ จำนวนสองมื้อ รวมเป็นเงิน 2,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-ได้รับความรู้เกี่ยวกับโทษภัยของบุหรี่ จำนวน 50 ราย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8200.00

กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมการจัดกีฬานันทนาการ

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมการจัดกีฬานันทนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ส่งเสริมการจัดกิจกรรมนันทนาการ หรือกีฬา ให้เยาวชนเล่นกีฬาหรือนันทนาการ ทุกวันตั้งแต่เวลา 17-18น. เป็นเวลา 3เดือน 1.1 เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีของเยาวชนในชุมชน 1.2เพิ้อให้เยาวชนบ้านแม่โอนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ งบประมาณ - ค่าเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการเหมาจ่าย จำนวน 100 บาท3เดือน เป็นเงิน9,000บาท และค่าอุุปกรณ์ ฟุตบอล 4003 =1200 เป็นเงินทั้งสิ้น 10,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-เยาวชนชุมชนบ้านแม่โอน จำนวน20คนเกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเยาวชน และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์มากขึ้น -ทำให้ลดอัตราเสี่ยงต่อโรคภัยจากควันบุหรี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ได้แกนนำรุ่นใหม่ 20 ราย ไร้ควันบุหรี่
2.เด็กและเยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี ได้รับความรู้เกี่ยวกับโทษภัยของบุหรี่ จำนวน 50 ราย
3.ส่งเสริมเลิก ละ บุหรี่อายุตัังแต่ 25 ปีขึ้นไปและได้จำนวนผู้เลิกบุหรี่ /ทำให้ลดอัตราเสี่ยงต่อโรคภัยจากควันบุหรี่


>