กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหนองจิก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ตุยงใส่ใจ ห่างไกลบุหรี่

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหนองจิก

จิตอาสาตำบลตุยง

นางอาสีเร๊าะ ดอเลาะ (หัวหน้าโครงการ) 0908688601
นางสาวแวอานีซะ เเวนายี
นางวาสินี สะอะ
นางสาววันดี ดอเลาะ
นางสาวซูสานา ดอเลาะ

โรงเรียนวัดมุจลินทวาปีวิหาร ( เพชรานุกูลกิจ )

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานยาสูบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กและเยาวชน(อายุไม่เกิน 25 ปี) ที่สูบบุหรี่

 

40.00
2 จำนวนผู้สูบบุหรี่รายใหม่ในกลุ่มเด็ก-เยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี (คน)

 

15.00
3 ร้อยละของผู้ใหญ่(อายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป) ที่สูบบุหรี่

 

50.00

ปัญหาการสูบบุหรี่ในประเทศไทยทวีความรุนเเรง โดยเฉพาะอายุของนักสูบหน้าใหม่ที่มีเเนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งการสูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ส่งผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมอย่างกว้างขวางและเป็นสาเหตุสำคัญของการเจ็บป่วย เสียชีวิตก่อนวัยอันควร ทำให้รัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูเเละรักษาเป็นจำนวนมาก จากข้อมูลการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของประชากร พ.ศ.2557 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า ประเทศไทยมีผู้สูบหรี่จำนวน 11.4 ล้านคน อัตราการสูบบุหรี่ในประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป ร้อยละ 20.7 ต่อประชากรพันคน อยู่ในกลุ่มอายุ 25-59 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มวัยทำงานมากที่สุด ร้อยละ 23.5 รองลงมาคือกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 16.6 และกลุ่มอายุ 15-24 ปีร้อยละ 14.7 ตามลำดับ เป็นผู้ชายร้อยละ 40.5 และผู้หญิง ร้อยละ 2.2 โดยสูบจากโรงงานอย่างเดียวมากที่สุด 5.3 ล้านคน รองลงมาคือบุหรี่ม้วนเอง 4.2 ล้านคน และทั้งบุหรี่โงงานหรือบุหรี่ม้วนเอง คนไทยได้รับควันบุหรี่มือสองในบ้านร้อยละ 28.1 มีนักสูบหน้าใหม่เกิดขึ้นราว 2-3 แสนคนต่อปี คนไทยเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ร้อยละประมาณ 52,000 คน เฉลี่ยวันละ 142 คน ชั่วโมงละ 6 คน เเละเสียชีวิตจาดกโรคที่เกิดจากบุหรี่ร้อยละ 12 ของการตายทั้งหมด ผู้ที่สูบบุหรี่มีโอกาสตายด้วยโรคมะเร็งมากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ 20 เท่า ที่สำคัญ 1 ใน 4 เป็นเด็กเล็กที่ตายเพราะได้รับควันบุหรี่มือสอง หากการบริโภคยาสูบไม่เข้มเเข็งจะมีการตายด้วยโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ถึง 8 ล้านคนใน 20 ปี ข้างหน้า ซึ่งทางทีมจิตอาสาได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่า ภายในเวลา 1 ปี ในการดำเนินการเพื่อลดอัตราจำนวนการสูบบุหรี่ของเด็กเเละเยาวชน จากปัจจุบันร้อยละ 40 ให้เหลือร้อยละ 35 ลดจำนวนผู้สูบหน้าใหม่จาก จากร้อยละ 15 ให้เหลือร้อยละ 10 และลดอัตราการสูบของผู้ใหญ่จาก ร้อยละ 50 ให้เหลือร้อยละ 45 ทางทีมงานจิตอาสาตำบลตุยงได้เล็งเห็นถึงปัญหาของการสูบบหรี่ซึ่งยังมีอยู่เป็นจำนวนมากพอสมควรที่จะต้องดำเนินการเเก้ไข จึงได้จัดโครงการตุยงใส่ใจ ห่างไกลบุหรี่ เพื่อชีวีมีสุข ปี 2562 ขึ้น เนื่องจากบุหรี่เป็นปัยจัยเสี่ยงของการเสียชีวิตอันดับต้นของคนไทยที่สามารถป้องกันได้โดยการช่วยเหลือให้ผู้สูบบุหรี่เลิกสูบ และป้องกันหรือลดจำนวนนักสูบหน้าใหม่ให้ห่างไกลจากการสูบบุหรี่

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราการสูบยาสูบของเด็กและเยาวชน

อัตราการสูบบุหรี่ของเด็กและเยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี ลดลงเหลือ(ร้อยละ)

40.00 35.00
2 เพื่อลดจำนวนผู้สูบบุหรี่รายใหม่ในกลุ่มเด็ก-เยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี

จำนวนผู้สูบบุหรี่รายใหม่ในกลุ่มเด็ก-เยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี ลดลงเหลือ (คน)

15.00 10.00
3 เพื่อลดอัตราการสูบยาสูบของผู้ใหญ่

อัตราการสูบบุหรี่ของผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไปลดลงเหลือ(ร้อยละ)

50.00 45.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 90
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 10
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เยาวชนตุยงใส่ใจ ห่างไกลออเกาะ(บุหรี่)

ชื่อกิจกรรม
เยาวชนตุยงใส่ใจ ห่างไกลออเกาะ(บุหรี่)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ขั้นเตรียมการ 1.1 ประชุมวางแผนดำเนินงาน 1.2 ประชาสัมพันธ์กิจกรรม โดยจิตอาสาเเต่ละชุมชน

  2. ขั้นดำเนินการ 2.1 เปิดโอกาสให้เยาวชนได้สมัครใจ เข้าร่วมอบรมเยาวชนต้านภัยบุหรี่ 2.2 เยาวชนได้เข้าร่วมกิจกรรม

  • เรียนรู้โทษภัยของการยุ่งเกี่ยวกับบุหรี่จากวิทยากร
  • เเบ่งกลุ่มเยาวชน เพื่อทำกิจกรรมเสนอเเนวคิด ถึงข้อดี ข้อเสียของการยุ่งเกี่ยวกับบุหรี่ พร้อมออกมานำเสนอ
  • กิจกรรมตอบคำถามจากเกม
  • กิจกรรมเสริมสร้างพลังให้ห่างไกลจากยาเสพติด
  1. ตรวจสอบเเละประเมินผล ประเมินจากการให้ความร่วมมือขณะทำกิจกรรม
  2. ขั้นสรุป รายงาน และประเมินผล 4.1 นับจำนวนเยาวชนที่ผ่านเกณฑ์การเข้าร่วมกิจกรรม 4.2 รายงานผล เเละประเมินความพึงพอใจ

รายละเอียดด้านงบประมาณ • ค่าสถานที่ 2000 บาท • ค่าอาหารกลางวัน 80 บาท x 100 คน เป็นเงิน 8000 บาท • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 35 บาท x 100 คน เป็นเงิน 3500 บาท • ค่าวิทยากร 6 ชั่วโมง x 600 บาทเป็นเงิน 3600 บาท • ค่าไวนิล 1000 บาท • ค่าวัสดุ อุปกรณ์ 50 บาท x 100 คน เป็นเงิน 5000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เยาวชนมีการพัฒนาศักยภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23100.00

กิจกรรมที่ 2 ตุยงรณรงค์ประชาสัมพันธ์ สร้างสรรค์สุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
ตุยงรณรงค์ประชาสัมพันธ์ สร้างสรรค์สุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ขั้นเตรียมการ 1.1 ประชุมวางแผนดำเนินงาน 1.2 ประชาสัมพันธ์กิจกรรม โดยจิตอาสาเเต่ละชุมชนร่วมกับเยาวชน Permudo Family (PMD)

  2. ขั้นดำเนินการ 2.1 เปิดโอกาสให้เยาวชนได้สมัครใจ เข้าร่วมกิจกรรม 2.2 เยาวชนได้เข้าร่วมกิจกรรม *ช่วงเช้า

- กิจกรรมสันทนาการ - กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสร้างความรัก ความรู้ ความเข้าใจเธอ เข้าใจฉัน - ทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์สถานที่สำคัญในชุมชนตำบลตุยง - สะท้อนการเรียนรู้จากกิจกรรมและเสริมพลังความเข็มเเข็งในการนำพาให้ชุมชนเข็มเเข็งร่วมกับจิตอาสา โดยมีการอัพเดตเพจทางเฟสบุ๊ค พูดคุยเรื่องราว เเนวทางการพัฒนาชุมชน แนวทางการดำเนินงานเชิงสร้างสรรค์
*ช่วงบ่าย - กีฬาพื้นบ้านต้านโรคภัย ห่างไกลยาเสพติด

  1. ตรวจสอบ เเละประเมินผล 3.1 ทำเเบบประเมินความพึงพอใจ 3.2 ประเมินจากการให้ความร่วมมือ ขณะทำกิจกรรม

  2. ขั้นสรุป รายงาน และประเมินผล รายงานผล เเละประเมินความพึงพอใจ

รายละเอียดด้านงบประมาณ - ค่าสถานที่ 2000 บาท - ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท x 100 คน เป็นเงิน 5000 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 35 บาท x 100 คน เป็นเงิน 3500 บาท - ค่าวิทยากร 8 ชม. x 600 บาทเป็นเงิน 4800 บาท - ค่าไวนิล 1000 บาท
- ค่าวัสดุ อุปกรณ์ 50 บาท x 100 คน เป็นเงิน 5000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดกระแส ภัยของบุหรี่ ปรับเปลี่ยนทัศนคติ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21300.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมติดตาม ประเมินผล การดำเนินงานเกี่ยวกับการลด เลิกบุหรี่

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตาม ประเมินผล การดำเนินงานเกี่ยวกับการลด เลิกบุหรี่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ขั้นเตรียมการ 1.1 ประชุมวางแผนดำเนินงาน 1.2 กำหนดวัตถุประสงค์และขอบเขตการติดตาม

  2. ขั้นดำเนินการ -นำข้อมูลจากการทำกิจกรรมมาวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์ของการติดตาม

  3. ขั้นสรุป และรายงานผล

- รายงานผล จากการประเมินความพึงพอใจ

รายละเอียดของงบประมาณ - ค่าสถานที่ 2000บาท - ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท x 100 คนเป็นเงิน 5000 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 60 บาท x 100 คน เป็นเงิน 6000 บาท - ค่าวิทยากร 6 ชม.x 600 บาทเป็นเงิน 3600 บาท - ค่าวัสดุ อุปกรณ์ 30 บาท x 100 คน เป็นเงิน 3000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 64,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อัตราการสูบบุหรี่ของเด็กเเละเยาวชนมีจำนวนลดลง
2. จำนวนความต้องการของผู่สูบบุหรี่รายใหม่ลดลง
3. อัตราการสูบหรี่ของผู้ใหญ่ลดลง
4. เยาวชนมีกิจกรรม ในพื้นที่ อย่างสร้างสรรค์ มีทัศนคติที่ดี และค่านิยมที่ถูกต้อง เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม


>