กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะรือโบออก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเยาวชนสร้างสุขภาพเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นตำบลมะรือโบออก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะรือโบออก

องค์การบริหารส่วนตำบลมะรือโบออก

1. นายอับดุลเลาะมิงดอมิ๋
2.นายปริญญากามา
3.นางสาวยูไรดาดาโอ๊ะ
4.นายนิมะต่วนลอโมง
5.นางสาวฮานามีตาเยะ

องค์การบริหารส่่วนตำบลมะรือโบออก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 อยากรู้ อยากลอง

 

0.00

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
เนื่องจากในปัจจุบันมีปัญหาในสังคมเกิดขึ้นกับวัยรุ่นหลายด้านด้วยกันปัญหาที่เป็นตัวอย่างใน
ระดับประเทศ เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาครอบครัว ปัญหาการทำแท้ง ปัญหาโรคเอดส์ ปัญหาความรุนแรงเด็กและ ปัจจัยด้านพฤติกรรมและบุคลิกภาพที่เกี่ยวข้องกับการกระทำรุนแรงของครอบครัวของผู้กระทำ ปัจจัยด้านลักษณะเศรษฐกิจของครอบครัวและที่อยู่อาศัย ส่งผลให้เกิดปัญหาหลายอย่างเช่น ปัญหาทางด้านอารมณ์ ปัญหาการปรับตัวเข้ากับสังคมทัศนคติเกี่ยวกับการซึ่งความรุนแรงนวัตกรรมเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

ผลการศึกษาวิจัยปัญหาในกลุ่มตัวอย่างเด็กวัยรุ่นอายุ 14-17 ปี พบว่ามีปัญหาที่พบมากเป็นส่วนมากเช่น ปัญหาเรื่องการต่อต้านผู้ใหญ่ ปัญหาไม่ค่อยเชื่อฟังในสิ่งที่ผู้ปกครองบอกส่วนใหญ่จะชื่อฟังเพื่อนและไปตามเพื่อน ปัญหาด้านอารมณ์ ความรุนแรงของวัยรุ่น ปัญหาทางด้านการเรียน เที่ยวกลางคืนปัญหาการมีรักในวัยเรียนของวัยรุ่น ปัญหาการติดยาเสพติด ปัญหาเหล่านี้ยังเป็นปัญหาของสังคมที่ยังแก้ไม่หายและจำเป็นที่ต้องได้รับการแก้ไข จากความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดโครงการ“เยาวชนสร้างสุขภาพเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นตำบลมะรือโบออก”ขึ้นเพื่อให้วัยรุ่นได้ตระหนักถึงปัญหาในปัจจุบัน เช่น ปัญหาความเครียดจากการเรียน ปัญหาสารเสพติด ปัญหาการมีพฤติกรรมรุนแรง ปัญหาการคบเพื่อนต่างเพศและสามารถแสดงออกทางพฤติกรรมได้อย่างเหมาะสม ส่งเสริมให้วัยรุ่นได้มีแนวทางในการแก้ไขปัญหาแนวทางปฏิบัติตัวกับปัญหาและแนวทางในการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม และให้วัยรุ่นไทยได้ตระหนักถึงปัญหาของสังคมมีอยู่ปัจจุบันได้ เป็นการส่งเสริม ป้องกัน ปัญหาสังคมไทยในปัจจุบันในกลุ่มเสี่ยงที่สามารถแก้ไขได้ และเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตของวัยรุ่น และวิธีการจัดการกับปัญหาของวัยรุ่นกลุ่มเสี่ยงได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมไม่ว่าจะเป็นปัญหาความเครียดด้านการเรียน ปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติดปัญหาวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมรุนแรง ปัญหาการคบเพื่อนต่างเพศเป็นต้น

ปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น เกิดจากการขาดความเข้าใจต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพร่างกายซึ่งมีสาเหตุสำคัญจากปัญหาครอบครัว สภาพแวดล้อมใกล้ตัวที่ชักจูงไปในทางไม่ดี และตัวอย่างการใช้ความรุนแรงในสังคม ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องให้การส่งเสริม ป้องกัน แนะนำแนวทางในการปฏิบัติเพราะเด็กและเยาวชนในปัจจุบันคืออนาคตของชาติถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาสังคมและทำให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้าต่อไปในอนาคต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้มีความรู้ความเข้าใจหลักการทางการแพทย์เกี่ยวกับสุขภาพและแลกเปลี่ยนกับความคิดเห็นผู้อื่นได้

ร้อยละ 90 ของผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ความเข้าถึงการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญาในวัยรุ่น

80.00
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้มีความรู้ถึงปัญหาวัยรุ่นในปัจจุบัน เช่น ปัญหาการเคลียดจากการเรียน ปัญหาการใช้สารเสพติด ปัญหาการมีพฤติกรรมรุนแรง ปัญหาการคบเพื่อนต่างเพศ

ร้อยละ 90ของผู้เข้าร่วมประชุมทราบถึงปัญหาในปัจจุบัน

80.00
3 เพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตและลดความเคลียดให้กับผู้เข้าร่วมโครงการและกลุ่มเสี่ยง

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมประชุมมีวิธีลดความเคลียดจากปัญหาวัยรุ่นในปัจจุบัน

80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 80
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2018

กำหนดเสร็จ 01/08/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เยาวชนสร้างสุขภาพเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นตำบลมะรือโบออก

ชื่อกิจกรรม
เยาวชนสร้างสุขภาพเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นตำบลมะรือโบออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๒.๑ ประชุมปรึกษาหารือ ผู้บริหาร สมาชิก ศูนย์เยาวชน และผู้เกี่ยวข้อง ๒.๒ ประสานกลุ่มเป้าหมายและผู้เกี่ยวข้อง ๒.๓ จัดทำเอกสารประกอบการอบรม ๒.๔ ดำเนินการจัดกิจกรรมประกอบด้วยกิจกรรม ค่าตอบแทนวิทยากร๖ ชั่วโมงๆละ ๖๐๐ บ =๓,๖๐๐ บ. ค่าอาหารกลางวัน ๖๐.บ .๘๐คน =๔,๘๐๐ บ. ค่าอาหารว่าง..๒๕..บ.x๘๐คน ๒ มื้อ =๔,๐๐๐บ. ค่าถ่ายเอกสารประกอบอบรม๒๕..บ.x๘๐คน = ๒,๐๐๐ บ. ค่ากระเป๋าพร้อมสกรีน ๑๐๐บ.x๘๐ค=๘,๐๐๐ บ. ค่าจัดทำป้ายโครงการขนาด ๑.๒x๒.๕ ตร.มๆละ ๒๕๐ บ= ๗๕๐ บ


๒.๕ ประเมิน สรุปรายงานและติดตามผลการดำเนินงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23150.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,150.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑.ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจหลักการทางการแพทย์เกี่ยวกับสุขภาพและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อื่นได้
๒. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ถึงปัญหาวัยรุ่นในปัจจุบัน เช่น ปัญหาความเครียดจากการเรียน ปัญหาการใช้สารเสพติด ปัญหาการมีพฤติกรรมรุนแรง ปัญหาการคบเพื่อนต่างเพศและสามารถแสดงออก
ทางพฤติกรรมได้อย่างเหมาะสม
๓. ส่งเสริมการรักสุขภาพตัวเอง และลดความเครียดให้กับผู้เข้าร่วมโครงการและกลุ่มเสี่ยงเพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถจัดการกับปัญหาได้อย่างเหมาะสม
๔. ผู้เข่าร่วมโครงการได้มีแนวทางในการแก้ไขปัญหา แนวทางการปฏิบัติตัวและแนวทางในการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม


>