2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
๑. หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันประชาชนสังคมไทยมีความซับซ้อนในการดำรงชีวิต ด้วยข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพที่หลากหลาย และระบบสุขภาพที่มีความซับซ้อน การพัฒนาสมรรถนะให้ประชาชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ(health literacy) จึงเป็นประเด็นที่มีความท้าทาย เพื่อเพิ่มความสามารถของประชาชนให้สามารถควบคุม ดูแล และพัฒนาสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชน บรรลุสุขภาพที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลด้านการสร้างสุขภาพด้วยหลัก ๓ อ ๒ ส ประกอบกับรายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ ๕ ปี ๒๕๕๗ (สำนักโรคไม่ติดต่อ, ๒๕๕๗) พบว่า มีการป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเพิ่มขึ้น หนึ่งในสามของประชาชนไทยที่มีอายุ ๑๕ ปีขึ้นไปมีความชุกโรคเบาหวานจากร้อยละ ๖.๙ ปี ๒๕๕๒ เป็น ร้อยละ ๘.๙ ในปี ๒๕๕๗ เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนประมาณ ๔.๘ ล้านคน ในช่วง ๕ ปีที่ผ่านมา หรือเฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ คน/ปี ส่วนความชุกของโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มจากร้อยละ ๒๑.๔ ในปี ๒๕๕๒ เป็นร้อยละ ๒๔.๗ ในปี ๒๕๕๗ เพิ่มขึ้นจำนวน ๑๓ ล้านคน หรือเฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณ ๖๐๐,๐๐๐ คน/ปี โดยจำนวนนี้เป็นผู้ไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงถึงร้อยละ ๔๐ ดังนั้นการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อมีปัจจัยเสี่ยง ๒ ด้านสำคัญ คือ ด้านพฤติกรรม และด้านสรีระวิทยา ปัจจัยด้านพฤติกรรม มี ๔ ปัจจัย คือ การบริโภคยาสูบ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม การมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ ส่วนด้านสรีระวิทยา มี ๔ ปัจจัย คือ ไขมันในเลือดสูงความดันโลหิตสูง ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน
สำหรับตำบลยะรัง ข้อมูลด้านสุขภาพในปี ๒๕๖๐ มีอัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มอายุ 15-39 ปี ร้อยละ 0.81 กลุ่มอายุ 40-49 ปี ร้อยละ 8.92 กลุ่มอายุ 50-59 ปี ร้อยละ 19.60 และกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 35.02ส่วนโรคเบาหวานมีอัตราป่วยในกลุ่มอายุ 15-39 ปี ร้อยละ 0.32 กลุ่มอายุ 40-49 ปี ร้อยละ 2.85 กลุ่มอายุ 50-59 ปี ร้อยละ 7.42 และกลุ่มอายุ 60 ปี ขึ้นไป ร้อยละ 9.85 ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง จากข้อมูลดังกล่าวสะท้อนถึงกระบวนการส่งเสริมสุขภาพ และการควบคุมป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่ผ่านมา อาจยังไม่มีอิทธิพลเพียงพอที่จะทำให้ประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมดำรงชีวิตที่เหมาะสม จำเป็นต้องมีการพัฒนากระบวนการสื่อสารสุขภาพ(health listeracy) ให้ประชาชนทั่วไป รับรู้ในวงกว้าง และประชาชนกลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องและต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยะรัง จึงได้จัดทำโครงการชุมชนร่วมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ เพื่อลดเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้องรัง ตำบลยะรัง ปี 2562 ขึ้น เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับรู้ข้อมูลและตัดสินใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชีวิตประจำวัน ที่เหมาะสมกับบริบทของตนเองต่อไป
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/10/2018
กำหนดเสร็จ 30/09/2019
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?กลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้รับการดูแล และความรู้อย่างเหมาะสม เกิดความรอบรู้ด้านสุขภาพ สามารถปฏิบัติตนในการดำรงชีวิตประจำวันที่ไม่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอื่นๆ