กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาปะขอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาปะขอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหาดไข่เต่า

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหาดไข่เต่า

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคเรื้อรังเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ การรักษาเป็นเพียงแค่การประคับประคองไม่ให้โรคลุกลามขึ้น และผู้ป่วยต้องรับการรักษาต่อเนื่องเป็นเวลานาน หรือส่วนใหญ่ต้องรักษาไปตลอดชีวิต ซึ่งนอกจากจะบั่นทอนสุขภาพกายและสุขภาพจิตแล้ว ยังเป็นการสูญเสียทางเศรษฐกิจของตัวผู้ป่วยเอง และส่งผลถึงเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมด้วย และหากผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมโรคได้ ก็จะส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพ ที่รุนแรงตามมา ถึงขั้นพิการและเสียชีวิตได้ โรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นภาวะวิกฤตในปัจจุบัน คือ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง และโรคอ้วน
ปัจจัยสำคัญที่เชื่อว่าเป็นสาเหตุของโรคเรื้อรังคือ พฤติกรรมในการดำเนินชีวิตของบุคคลขาดความสมดุล เช่น การรับประทานอาหารไขมันสูง อาหารรสหวานจัดและเค็มจัด ไม่รับประทานผัก ผลไม้ ไม่ออกกำลังกาย การใช้ชีวิตที่สะดวกสบายเกินไป และการใช้สารเสพติด เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีการระบุว่าความเครียดในชีวิตยังเป็นปัจจัยร่วมที่ทำให้เกิดโรคเรื้อรังได้ คนที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังคือ ผู้มีภาวะอ้วน ผู้ที่มีคลอเรสเตอรอลในเลือดสูงผู้มีอายุเกิน 35 ปี ผู้ที่ขาดการออกกำลังกาย และผู้ที่มีภาวะเครียดสูง
อย่างไรก็ตามพฤติกรรมสุขภาพไม่ใช่สิ่งที่จะปรับเปลี่ยนได้ง่ายเพราะบุคคลมักจะเคยชินกับพฤติกรรมที่ปฏิบัติมานาน แม้จะมีความรู้และมีทัศนคติที่ถูกต้องก็อาจไม่ปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพที่ดีตัวอย่างเช่น คนมีความรู้ว่า การออกกำลังกายมีประโยชน์ต่อสุขภาพ รวมถึงรู้สึกว่าการออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดีและควรทำ แต่ก็มีคนจำนวนมากที่ไม่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ด้วยเหตุผลในเรื่องของเวลา ความขี้เกียจความจำกัดด้านสถานที่ เป็นต้น จึงเห็นได้ว่าการปรับเปลี่ยนความรู้ และทัศนคตินั้น ไม่เพียงพอต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ที่ผ่านมาบุคลากรสาธารณสุขที่รับผิดชอบโครงการด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ มักให้ความสำคัญกับการให้ความรู้และปรับทัศนคติเท่านั้น ทำให้ไม่เกิดผลลัพธ์ที่ดี มีทฤษฎีพฤติกรรมสุขภาพมากมายที่ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่ออธิบายพฤติกรรมสุขภาพของบุคคล
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหาดไข่เต่า จึงจัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังขึ้นเพื่อเป็นการพัฒนาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแก่บุคคลกลุ่มเสี่ยงเพื่อไม่ให้เป็นบุคคลกลุ่มป่วยและพิการในอนาคต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพของประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

 

0.00
2 เพื่อลดอัตราการเพิ่มของผู้ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

 

0.00
3 เพื่อประหยัดงบประมาณในการใช้ยา

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 120
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
อาสาสมัครสาธารณสุข 74

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 05/09/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพแก่กลุ่มเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพแก่กลุ่มเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าตอบแทนวิทยากร  จำนวน  6  ชั่วโมงๆ ละ   600  บาท เป็นเงิน  3,600  บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมประชุม  จำนวน  120  คน  วิทยากรและเจ้าหน้าที่
            10  คน รวม  130  คน ๆ ละ 2  มื้อๆละ 25  บาท รวมคนละ  50  บาทเป็นเงิน  6,500 บาท 3.ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมประชุม  จำนวน  120  คน  วิทยากรและเจ้าหน้าที่  10  คน
             รวม  130  คน ๆ ละ  1  มื้อๆละ 60  บาท รวมเป็นเงิน   7,800   บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17900.00

กิจกรรมที่ 2 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพ แก่ อสม.

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพ แก่ อสม.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

          1.ค่าตอบแทนวิทยากร  จำนวน  6  ชั่วโมงๆ ละ   600  บาท เป็นเงิน  3,600  บาท          2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมประชุม  จำนวน  74  คน  วิทยากรและเจ้าหน้าที่
            10  คน รวม  84  คน ๆ ละ  2  มื้อๆละ 25  บาท รวมคนละ  50  บาทเป็นเงิน  4,200   บาท          3.ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมประชุม  จำนวน  74  คน  วิทยากรและเจ้าหน้าที่  10  คน
             รวม  84  คน ๆ ละ  1  มื้อๆละ 60  บาท รวมเป็นเงิน   5,040  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12840.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,740.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. อสม.มีความรู้ในการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงต่อการป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้
๒. จำนวนการเพิ่มของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ลดลงจากปีที่ผ่านมา


>