กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลสิ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

คัดกรองป้องกันและป้องกันและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโรคความดันโลหิตสูง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลสิ

ชมรม อสม.

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ร่วมกับ คณะกรรมการหมู่บ้าน เทศบาลตำบลสิ โรงพยาบาลขุนหาญ

บ้านโนนศรีทอง หมู่ที่ 11 ตำบลสิ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สืบเนื่องจากปัจจุบันปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม ทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำค่าครองชีพสูงขึ้น ประชาชนมีรายได้น้อยบางส่วนมีอัตราการว่างงานสูง ทำให้เกิดความเครียด ความวิตกกังวล และสุขนิสัยในการบริโภคของประชาชนเปลี่ยนไป ทำให้สถิติการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยเฉพาะเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีสถิติอัตราการการป่วยสูงมากยิ่งขึ้น และยังทำให้ผู้ป่วยเกิดโรคแทรกซ้อน บงคนร่างกายพิการหรือบางรายถึงขั้นเสียชีวิต จึงถือได้ว่าโรคความดันโลหิตสูงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในพื้นที่
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน ร่วมกับโรงพยาบาลขุนหาญ มีมติร่วมกันที่จะดำเนินการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น ของประชาชนอายุตั้งแต่ ๓๕ ปี ขึ้นไป โดยการวัดระดับความดันโลหิตสูงให้กับประชาชน และค้นหาผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง เพื่อจะนำข้อมูลสุขภาพเบื้องต้นที่ได้ไปใช้ในการวางแผนดูแลสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยง และประชาชนกลุ่มป่วยไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรัง และศูนย์บริการสาธารณสุขมูลฐานชุมชนบ้านโนนศรีทอง ยังขาดแคลนอุปกรณ์ในการคัดกรองดังกล่าวด้วย
ดังนั้น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน ร่วมกับโรงพยาบาลขุนหาญ จึงได้เสนอให้มีการจัดทำโครงการคัดกรองป้องกันและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโรคความดันโลหิตสูง บ้านโนนศรีทอง หมู่ที่ ๑๑ ตำบลสิ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงในประชาชนกลุ่มป่วย และประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง เพื่อจะได้ดำเนินการวางแผนในการเฝ้าระวัง ดูแลสุขภาพเบื้องต้น ของประชาชนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อให้ประชาชนอายุตั้งแต่ ๓๕ ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรอง ประเมินภาวะสุขภาพ และการค้นหาผู้มีภาวะเสี่ยงด้วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคแทรกซ้อนอื่นๆ
2. เพื่อเพื่อจัดบริการลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตสูง และโรคแทรกซ้อน
3. เพื่อพัฒนาศักยภาพ อสม.ในการดำเนินการตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยง
4. ประชาชนมีความรู้ เข้าใจ สามารถดูแลตนเองในการป้องกันและควบคุมการป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ได้อย่างถูกต้อง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 20
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/09/2018

กำหนดเสร็จ 31/12/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. จัดหาเครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอล สำหรับใช้ในการปฏิบัติงาน จำนวน 1 เครื่อง 2. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่อง ทักษะการใช้เครื่องวัดความดันโลหิตและการบำรุงรักษาแก่ อสม. จำนวน 1 ครั้ง 3. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่อง โรคความดันโลหิตสูง/โรคอื่น

ชื่อกิจกรรม
1. จัดหาเครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอล สำหรับใช้ในการปฏิบัติงาน จำนวน 1 เครื่อง 2. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่อง ทักษะการใช้เครื่องวัดความดันโลหิตและการบำรุงรักษาแก่ อสม. จำนวน 1 ครั้ง 3. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่อง โรคความดันโลหิตสูง/โรคอื่น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน x 80 บาท x 1 มื้อ    เป็นเงิน        4,000   บาท
  • ค่าอาหารว่างเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน x 20บาท x 2 มื้อ  เป็นเงิน        2,000   บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท      เป็นเงิน        3,600    บาท 
  • ค่าป้ายโครงการ จำนวน 1 ป้าย ขนาด 1 x 3 เมตร      เป็นเงิน              750   บาท
  • ค่าวัสดุอบรม จำนวน 50 ชุดๆละ 15  บาท        เป็นเงิน        4,500    บาท
  • ค่าเครื่องวัดความดันโลหิต จำนวน 1 เครื่อง            เป็นเงิน                2,700   บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองด้านสุขภาพเบื้องต้น โดย อสม.
  2. ประชาชนมีความรู้ เข้าใจ สามารถดูแลตนเองในการป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูงได้อย่างถูกต้อง
    1. อสม.มีศักยภาพในการดำเนินงานตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง
    2. อสม.มีอุปกรณ์สำหรับตรวจคัดกรองความดันโลหิตสูงสำหรับใช้ในการปฎิบัติงานในชุมชน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13350.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,350.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองด้านสุขภาพเบื้องต้น โดย อสม.
2. ประชาชนมีความรู้ เข้าใจ สามารถดูแลตนเองในการป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูงได้อย่างถูกต้อง
3. อสม.มีศักยภาพในการดำเนินงานตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง
4. อสม.มีอุปกรณ์สำหรับตรวจคัดกรองความดันโลหิตสูงสำหรับใช้ในการปฎิบัติงานในชุมชน


>