กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการวิกฤติโรคหัวใจ ปลอดภัยทั่วตำบลปากู

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากู

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากู

พื้นที่ในเขตตำบลปากู

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในปี 2557 ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด 58,681 คน หรือเฉลี่ยชั่วโมงละ 7 คน คิดเป็นอัตราตายของโรคหัวใจและหลอดเลือด เท่ากับ 90.34 ต่อแสนประชากร จำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดและหัวใจ 18,079 คน หรือเฉลี่ยชั่วโมงละ 2 คน คิดเป็นอัตราตายของโรคหลอดเลือดและหัวใจ เท่ากับ 27.83 ต่อแสนประชากร ดังนั้นในแผนกลยุทธ หรือแผนพัฒนาสุขภาพโรคหัวใจและหลอดเลือดจะถูกจัดเปนสวนหนึ่งในแผนพัฒนา และเป็นการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี ปี 2561-2564 จัดอยู่ในหมวดยุทธศาสตร์ด้านบริการเป็นเลิศ (Service Excellence) แผนที่ 6 การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service plan) และโครงการที่ 9 โครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สาขาโรคหัวใจ และยังเป็น Bright spot ของคปสอ.ทุ่งยางแดงอีกด้วย
จากการปฏิบัติงานในพื้นที่ ได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุการเสียชีวิต ในแต่ละปี พบผู้เสียชีวิตที่เกิดภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันเสียชีวิตก่อนวัยอันควรเพิ่มมากขึ้น จาก 2 ราย ในปี 2557 เพิ่มเป็น 7 ราย ในปี 2560 (รายงานผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากู, 2557) ซึ่งจากการสำรวจ และจากการลงเยี่ยมบ้านในพื้นที่ พบว่า จำนวนผู้เสียชีวิตกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่วินิจฉัยจากแพทย์ที่โรงพยาบาลแม่ข่ายว่า เสียชีวิตจากสาเหตุภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน รวมทั้งความครอบคลุมในการตรวจคัดกรองไม่พบข้อมูลการลงทะเบียนกลุ่มผู้ป่วยที่เสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดในทะเบียนของหน่วยบริการจึงทำให้ผู้เสียชีวิตกลุ่มนี้ขาดการดูแลคัดกรองเบื้องต้น รวมทั้งกลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดที่ผ่านการคัดกรองแล้ว ก็ยังไม่รู้จักอาการของโรคเกี่ยวกับโรคหัวใจและหลอดเลือดว่าคืออะไร และต้องปฏิบัติตัวอย่างไร ดังนั้น เพื่อป้องกันการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในชุมชน ประชาชนในชุมชนควรได้รับการตรวจคัดกรอง และถ้าคัดกรองพบเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด ประชาชนในพื้นที่ควรได้รับความรู้เบื้องต้น เพื่อป้องกันการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
ปัจจุบันการบริหารจัดการด้านสุขภาพ เป็นระบบบริการสุขภาพแบบเชิงรุกที่ครอบคลุมในด้านการสร้างเสริมสุขภาพ การดูแลรักษาโรค การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสภาพ เน้นการทำงานเป็นทีมสหสาขาวิชาชีพ ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากู ได้เห็นความสำคัญและเน้นการบริการดูแลประชาชนเชิงรุกต้องเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว ไม่เป็นอุปสรรคสำหรับกลุ่มเป้าหมาย และผู้ให้บริการ ซึ่งอาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่เป็นบุคลากรที่สามารถเข้าไปให้บริการถึงบ้านได้ ประกอบกับได้รับการฝึกอบรมทั้งด้านความรู้ และทักษะในการใช้เครื่องมือการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุข สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค (Color Chart) ทั้งที่ได้ปฏิบัติในคลินิกโรคเรื้อรังในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากู ทุกวันพฤหัสบดีของทุกสัปดาห์ รวมทั้งการปฏิบัติงานจิตอาสาของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่ได้ปฏิบัติงานเป็นที่ยอมรับเชื่อถือของผู้มารับบริการโดยตลอด
จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นจึงเกิดแนวคิดในการปฏิบัติการเชิงรุกในการให้บริการติดตามกลุ่มผู้ป่วยโรคหัวใจ และกลุ่มผู้ป่วยโอกาสเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด เพื่อป้องกันภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันถึงบ้านได้อย่างครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย และรวดเร็ว ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ส่งเสริมการสร้างสุขภาพที่ดีให้แก่ประชาชนในระยะยาว เน้นให้ประชาชนพึ่งตนเองในด้านสุขภาพ โดยการจัดกิจกรรม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ป่วยกับผู้ป่วย ผู้ป่วยกับกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มเสี่ยงกับกลุ่มเสี่ยง ผ่านการถ่ายทอดประสบการณ์ที่ผ่านมาในการช่วยแก้ปัญหาซึ่งกันและกัน ภายใต้การให้คำแนะนำ และการสนับสนุนของฝ่ายผู้ให้บริการสุขภาพ ซึ่งประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล และทีมสุขภาพ เพื่อป้องกันภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Acute Coronary Syndrome: ACS)

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจในพื้นที่ มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโรคหัวใจ การดูแลตนเอง และจัดการตนเองเบื้องต้นเมื่อมีอาการเจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจ ได้ถูกต้องและปลอดภัยมีทักษะเกี่ยวกับการปฏิบัติการเรื่องการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR) เมื่อมีอาการเจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจ ได้ถูกต้องและปลอดภัย

ร้อยละ 100 ของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจในพื้นที่มีความรู้มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโรคหัวใจ การดูแลตนเอง และจัดการตนเองเบื้องต้นเมื่อมีอาการเจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจ ได้ถูกต้องและปลอดภัย  มีทักษะเกี่ยวกับการปฏิบัติการเรื่องการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR) เมื่อมีอาการเจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจ ได้ถูกต้องและปลอดภัย 

120.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 120
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 20/09/2018

กำหนดเสร็จ 21/09/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องโรคหัวใจ และฝึกทักษะในการคัดกรองตรวจสอบป้องกันตนเองจากภาวะเสี่ยงของโรคหัวใจโดยใช้ Color Chart ของสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค (Color Chart) อย่างเข้มข้น

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องโรคหัวใจ และฝึกทักษะในการคัดกรองตรวจสอบป้องกันตนเองจากภาวะเสี่ยงของโรคหัวใจโดยใช้ Color Chart ของสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค (Color Chart) อย่างเข้มข้น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรมให้ความรู้เรื่องเกี่ยวกับโรคหัวใจ และฝึกทักษะในการคัดกรองตรวจสอบป้องกันตนเองจากภาวะเสี่ยงของโรคหัวใจโดยใช้ Color Chart และฝึกทักษะเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเมื่อมีอาการเจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจรวม 120 คน ดังนี้
    1. ค่าจัดทำป้ายโครงการ 3 ตร.ม.ๆ ละ 400 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท 1.2 ค่าอาหารกลางวันและอาหารว่างแก่ผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 120 คน

- ค่าอาหารกลางวัน มื้อละ 45 บาท (45 บาทx 120 คน) เป็นเงิน 5,400 บาท - ค่าอาหารว่าง มื้อละ 20 บาท (20 บาท x 2 มื้อ x 120 คน) เป็นเงิน 4,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจ ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคหัวใจ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11400.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมให้ความรู้และฝึกทักษะเกี่ยวกับการปฏิบัติการ เรื่องการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้และฝึกทักษะเกี่ยวกับการปฏิบัติการ เรื่องการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 ค่าอาหารกลางวันและอาหารว่างแก่ผู้เข้าร่วมฝึกทักษะ จำนวน120คน - ค่าอาหารกลางวัน มื้อละ 45 บาท (45 บาทx 120 คน) เป็นเงิน5,400 บาท - ค่าอาหารว่าง มื้อละ 20 บาท (20 บาท x 2 มื้อ x 120 คน) เป็นเงิน4,800 บาท 2.2 ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน 2 คน x 6 ชั่วโมงๆละ 300 บาทเป็นเงิน3,600บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจมีความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติการ เรื่องการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโรคหัวใจ การดูแลตนเอง และจัดการตนเองเบื้องต้นเมื่อมีอาการเจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจ และมีความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติการ เรื่องการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR) เมื่อมีอาการเจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจ ได้ถูกต้องและปลอดภัย


>