กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาปะขอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้มีภาวะเสี่ยง ลดพุง ลดโรค

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาปะขอ

รพ.สต.บ้านเกาะเคียน

รพ.สต.บ้านเกาะเคียน หมู่ที่ 13 และที่ทำการหมู่บ้านหมู่ที่ 8 ตำบลนาปะขอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคหัวใจและหลอดเลือดเกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดส่งผลให้เลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะสำคัญในร่างกายอุดตัน หรืออาจถึงขั้นเส้นเลือดแตกโดยเฉพาะหากเกิดกับหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองและหัวใจ อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้เป็นสาเหตุอันดับหนึ่งที่คร่าชีวิตพลเมืองโลกมากที่สุด จากสถิติพบว่าในทุกๆ ๒ นาทีจะมีคนเสียชีวิตด้วยโรคนี้ ๑ คนองค์การอนามัยโลก ได้ทำนายไว้ว่าใน ปี ๒๕๗๓ ประชากรโลกจำนวน ๒๓ ล้านคน จะเสียชีวิตจากโรคหลอดสมอง และหัวใจร้อยละ๘๕อยู่ในประเทศกำลังพัฒนา ประเทศไทยคาดว่ามีผู้ป่วยรายใหม่ในแต่ละปี ๑๕๐,๐๐๐ รายในปัจจุบันนี้ แม้การแพทย์จะสามารถเอาชนะโรคร้ายต่างๆมากมาย ทำให้ประชากรโลกรอดพ้นจากการเจ็บป่วยเหล่านั้นและมีอายุที่ยืนยาวขึ้น แต่จำนวนคนที่เป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงโรคไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน โรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งเรียกรวมกันว่า เมตะบอลิกซินโดรม (Metabolic Syndrome) กลับมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ต้นเหตุของการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้เป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงในปัจจุบัน คือการเพิ่มขึ้นของจำนวนคนอ้วน เพราะอุปนิสัยการกินอยู่ที่เปลี่ยนไป มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลงในการใช้ชีวิตประจำวัน กินอาหารที่มีไขมันเพิ่มขึ้น ซึ่งไขมันที่สะสมอยู่ที่พุงเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ระดับน้ำตาลและระดับไขมันในเลือดเพิ่มสูงขึ้น

จากผลการตรวจคัดกรองสุขภาพของ ประชาชนอายุ ๓๕ ปี ขึ้นไป ในชุมชนเขตพื้นทีรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะเคียนจำนวน ๗๔๒ รายพบว่าเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง๑๖๗ ราย ร้อยละ ๒๒.๕เสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน ๙๓ ราย ร้อยละ๑๒.๕ เสี่ยงโรคอ้วน ๒๙๓ รายร้อยละ ๓๙.๕ และจากสถิติผู้ป่วย ส่วนใหญ่พบป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน ๑๕๙รายควบคุมความดันโลหิตได้ดี ๖๑ ราย ร้อยละ ๓๘.๓ และโรคเบาหวานจำนวน ๘๙ ราย ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี๒๕ ราย ร้อยละ ๒๘.๑ พบว่ากลุ่มป่วยทั้งสองโรคนี้ ผลการคัดกรอง(CVD Risk) เสี่ยงปานกลาง (๑๐ ≥๒๐ %) จำนวน ๕๐ รายเสี่ยงสูง (๒๐ < ๓๐ %) จำนวน ๓๕ ราย เสี่ยงสูงมาก (๓๐ < ๔๐ %) จำนวน ๑๗ ราย และเสี่ยงสูงอันตราย (≥๔๐ %) จำนวน ๕๑ ราย ซึ่งเป็นโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองจึงต้องทำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในสังคมทั้งหมดด้วยการรณรงค์เรื่องวิถีชีวิต ทำให้เกิดความตระหนักในอันตรายของอาหารที่ทำให้เกิดความอ้วน อันตรายของชีวิตที่กินๆนอนๆไม่ขยับเขยื้อน ไม่ออกกำลังกาย การปล่อยปละละเลยไม่ควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่จะส่งผลให้โรคแทรกซ้อนเกิดเร็วขึ้น

ด้วยเหตุผลดังกล่าวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะเคียน จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้มีภาวะเสี่ยงลดพุง ลดโรคโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะเคียน
ต.นาปะขอ อ.บางแก้ว จ.พัทลุงปี ๒๕๖๑ เพื่อให้ประชาชนในชุมชนเขตพื้นที่รับผิดชอบทั้งกลุ่มป่วยและกลุ่มเสี่ยง รวมถึงประชาชนทั่วไปให้ได้รับความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องถึงพฤติกรรมของการเกิดโรคและสามารถรับผิดชอบในการจัดการตนเองเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาแทรกซ้อนต่างๆ ตลอดจนดำรงรักษาสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีเพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองได้อย่างยั่งยืนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการ ได้รับความรู้ มีความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพของตนเอง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองเพิ่มขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคและเกิดความตระหนักถึงการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง

 

0.00
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานสามารถลดหรือควบคุมน้ำหนักได้ดีกว่าตอนเข้าร่วมโครงการ

 

0.00
3 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินค่ามาตรฐาน สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้และไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

 

0.00
4 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการที่มีระดับไขมันในเลือดสูงเกินค่ามารตฐาน สามารถควบคุมระดับไขมันในเลือดได้

 

0.00
5 เพื่อให้ผู้ที่มีระดับความดันโลหิตสูงเกิน 140/90 mm/Hg สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 20/09/2018

กำหนดเสร็จ 25/09/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้ตามโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพฯ

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้ตามโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

               -  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้ารับการอบรม วิทยากร และผู้จัดอบรม
     จำนวน ๕๕ คน X ๒๕ บาท X ๒ มื้อ X ๒ ครั้ง                               เป็นเงิน ๕,๕๐๐ บาท               -  ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าอบรมวิทยากรและผู้จัดอบรม
     จำนวน ๕๕ คน X ๖๐บาท     X ๑ มื้อ X ๒ ครั้ง                            เป็นเงิน ๖,๖๐๐ บาท     -  ค่าพาหนะในการเดินทางแก่ผู้เข้ารับการอบรม (ไป-กลับ)      จำนวน ๕๕คน ๆ ละ ๕๐ บาท  X ๒ ครั้ง                                     เป็นเงิน  ๕,๕๐๐ บาท
               -ป้ายโครงการขนาด ๑ X ๒ เมตร X  ๒ ป้าย                                  เป็นเงิน   ๘๐๐  บาท
               -ป้ายประชาสัมพันธ์ โครงการขนาด ๑  X ๑.๕ เมตร X 3 ป้าย            เป็นเงิน    ๙๐๐  บาท
               -.ค่าจัดทำเอกสาร ๑๐๐ เล่ม X ๓๕                                            เป็นเงิน  ๓,๕๐๐ บาท               - ค่าสมนาคุณวิทยากร ๒ คน X จำนวน ๓ชั่วโมง ๆละ ๖๐๐ บาทX ๒ ครั้ง    เป็นเงิน ๗,๒๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- ร้อยละ ๗๐ ของจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการมีการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมสุขภาพของตนเองสามารถเป็นแบบอย่างในการสร้างพฤติกรรมที่ถูกต้องในการดูแลตนเอง และความตระหนักถึงการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ
- ร้อยละ ๗๐ ของจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น โดยวัดจากการกำกับพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง
- ร้อยละ ๗๐ ของจำนวนผู้มีค่า BMIเกิน มีค่า BMI ลดลงจากก่อนเข้าร่วมโครงการ
- ร้อยละ ๗๐ ของจำนวนผู้มีค่าความดันโลหิตสูงหรือไขมันในเลือดสูง มีระดับความดันโลหิตหรือไขมันในเลือดลดลงจากก่อนเข้าร่วมโครงการ
- ร้อยละ ๗๐ ของจำนวนผู้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง มีระดับน้ำตาลในเลือดลดลงจากก่อนเข้าร่วมโครงการ


>