กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ผดุงมาตร

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเด็กไทย ฟันดี โรงเรียนบ้านบูเก๊ะบือแต

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ผดุงมาตร

โรงเรียนบ้านบูเก๊ะบือแต

โรงเรียนบ้านบูเก๊ะบือแต

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กในวัย 4-12 ปี ที่มีภาวะฟันผุ (ร้อยละ)

 

30.00
2 จำนวนเด็กในวัย 4-12ปี ขาดอุปกรณ์ในการดูแลรักษาสุขภาพช่องปาก(ร้อยละ)

 

100.00
3 จำนวนเด็กในวัย 4-12 ปี ขาดทักษะในการดูแลรักษาสุขภาพช่องปาก (ร้อยละ)

 

100.00

การมีสุขภาพฟันที่ดี ถือเป็นลักษณะอันพึงประสงค์ประการแรกของนักเรียนไทย แต่ปัจจุบันสถานการณ์ปัญหาสุขภาพฟันได้เปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ สาเหตุเนื่องมาจากการมีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องและขาดความตระหนักในการดูแลรักษาสุขภาพฟัน ตลอดจนปัญหาสภาพแวดล้อมทั้งทางกายภาพและทางสังคม ซึ่งนับวันแนวโน้มของปัญหาเหล่านี้ย่อมมีความรุนแรงขึ้น และปัญหาดังกล่าวมีผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียนมากยิ่งขึ้น ดังนั้น เพื่อให้ผู้เรียนได้มีสุขภาพฟันที่ดี ซึ่งส่งผลให้สุขภาพกายและสุขภาพจิตดีขึ้นด้วย อีกทั้ง เป็นการเตรียมความพร้อมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ และพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นไป โรงเรียนบ้านบูเก๊ะบือแต จึงมีความประสงค์จะจัดโครงการเด็กไทย ฟันดี เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนมีความรู้ความสามารถในการดูแลรักษาสุขภาพฟันที่ดีต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาโรคฟันผุในเด็กอายุ 4-12 ปี

การตรวจสุขภาพฟันประจำปี

20.00
2 เพื่ออบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพในช่องปากที่ถูกวิธี มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล

การตรวจฟันหลังการแปรงฟัน

80.00
3 เพื่อสนับสนุนอุปกรณ์ในการดูแลรักษาฟัน

การตรวจสุขภาพฟันประจำปี

100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 162
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/01/2019

กำหนดเสร็จ 28/02/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมให้ความรู้ "เด็กไทยฟันดี ชีวีมีสุข"

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้ "เด็กไทยฟันดี ชีวีมีสุข"
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ให้ความรู้โดยทันตบุคลากร ค่าวิทยากร 1 คน ระยะเวลา 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
  • อาหารว่างผู้เข้าร่วมอบรมฯ จำนวน 162 คนๆละ 25 เป็นเงิน 4,050 บาท
  • ค่าไวนิล กิจกรรมอบรมให้ความรู้ "เด็กไทยฟันดี ชีวีมีสุข" ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร เป็นเงิน 662 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6512.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมส่งเสริมการดูแลรักษาฟัน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริมการดูแลรักษาฟัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดซื้ออุปกรณ์ในการแปรงฟัน - แปรงสีฟัน จำนวน 162 ด้ามๆละ 20 บาท เป็นเงิน 3,240 บาท - ยาสีฟัน จำนวน 162 หลอดๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 4,860 บาท - แก้วน้ำ จำนวน 162 ใบๆละ 20 บาท เป็นเงิน 3,240 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11340.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,852.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากที่ถูกวิธี
2. นักเรียนมีจิตสำนึกและแรงบันดาลในการดูแลรักษาช่องปากที่ดีขึ้น


>