กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนางานอนามัยแม่และเด็กโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตำบลบ้านควน ปีงบประมาณ 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

รพ.สต.บ้านควน 1

1.น.ส.โสภิตรา นารีเปน
2.นางสาวนุสรัตน์ นุ่งอาหลี
3.นางรีนาโต๊ะเจ๊ะ

รพ.สต.บ้านควน 1

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เด็กอายุ 6 เดือน - 1ปี ที่ได้รับการตรวจเลือดในคลินิกสุขภาพเด็กดี มีภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 22.9

 

22.90
2 เด็กอายุครบ 3 ปี ได้รับวัคซีนครบชุด (เกณฑ์ร้อยละ 90 ขึ้นไป)

 

75.00

การตั้งครรภ์เป็นระยะพัฒนาการที่สำคัญของครอบครัว การตั้งครรภ์ทำให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากทั้งในด้านกายวิภาค ชีวเคมี และสรีรวิทยา การเปลี่ยนแปลงนี้ดำเนินไปตลอดการตั้งครรภ์และร่างกายจะมีการปรับตัวอย่างมากมายกับการเปลี่ยนแปลงของระบบต่างๆของร่างกายที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างสลับซับซ้อนสัมพันธ์กับปัจจัยต่างๆ นอกจากนี้หญิงตั้งครรภ์ ยังต้องปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงทางจิตสังคม เช่น บทบาทหน้าที่ ภาพลักษณ์ สัมพันธภาพกับครอบครัว
เป้าหมายสูงสุดของงานอนามัยแม่และเด็กที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย โดยมีกลวิธีที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ได้แก่ การให้บริการตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์และขณะตั้งครรภ์ การดูแลขณะเจ็บครรภ์คลอด การประเมินภาวะเสี่ยงของมารดาขณะตั้งครรภ์จะสามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาทั้งที่จะเกิดแก่มารดาและทารกได้ ปัจจัยด้านอายุมารดาที่อายุน้อยและมารดาที่อายุมากมีผลต่อการตั้งครรภ์และการคลอดทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม เช่น การคลอดก่อนกำหนด วิธีการคลอด น้ำหนักทารกแรกเกิด และการตายของมารดาและทารกปริกำเนิด ปัญหาการตั้งครรภ์เหล่านี้เป็นผลมาจากการตั้งครรภ์ในช่วงอายุที่ไม่เหมาะสม ภาวะเสี่ยงต่างๆขณะตั้งครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์ การดูแลสุขภาพตนเองขณะตั้งครรภ์ ทั้งในเรื่องการรับบริการฝากครรภ์ที่ครบตามเกณฑ์ ด้านโภชนาการ การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค การออกกำลังกายและการพักผ่อนเพื่อผ่อนคลาย รวมไปถึงการดูแลสุขภาพจิตใจและการปรับตัวเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านด้านร่างกาย จิตใจและสังคมเพื่อรองรับบทบาทหน้าที่ที่จะเกิดขึ้น
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลบ้านควน ได้ดำเนินการพัฒนาระบบบริการอนามัยแม่และเด็ก ในคลินิกบริการและเครือข่ายที่มีมาตรฐานและต่อเนื่อง โดยเน้นการดูแลเด็กทารก ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา การดูแลในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด หลังคลอด และการเลี้ยงดูบุตรแรกเกิดถึง ๕ ปี โดยครอบครัว ชุมชนมีส่วนร่วมการพัฒนาคุณภาพบริการ งานอนามัยแม่และเด็ก เพื่อมุ่งหวังให้เด็กเจริญเติบโตและมีพัฒนาการสมวัย เป็นคนดีมีคุณภาพของสังคมต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปี มีความรู้เรื่องวัคซีนและการดูแลภายหลังการรับวัคซีน

ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปี มีความรู้เรื่องวัคซีนและการดูแลภายหลังการรับวัคซีน ร้อยละ 60

60.00
2 เด็กที่มีภาวะโลหิตจางหรือเสี่ยงต่อภาวะโลหิตจางได้รับการติดตามการตรวจเลือด

เด็กที่มีภาวะโลหิตจางหรือเสี่ยงต่อภาวะโลหิตจางได้รับการติดตามการตรวจเลือด ร้อยละ 80

80.00
3 หญิงตั้งครรภ์และสามีหรือผู้ดูแลมีความรู้ในการปฏิบัติตัว/การดูแลขณะตั้งครรภ์

หญิงตั้งครรภ์และสามีหรือผู้ดูแลมีความรู้ในการปฏิบัติตัว/การดูแลขณะตั้งครรภ์ ร้อยละ 70

70.00
4 อสม.มีความรู้เรื่องวัคซีนและการติดตามการได้รับวัคซีนของเด็กอายุ 0-5 ปี

อสม.มีความรู้เรื่องวัคซีนและการติดตามการได้รับวัคซีนของเด็กอายุ 0-5 ปี ร้อยละ 70

70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ปกครองเด็ก 0 - 5ปี 100
หญิงตั้งครรภ์และสามีหรือผู้ดูแล 40
อสม. 95
เด็กอายุ 6เดือน - 1 ปี ที่มีภาวะโลหิตจางหรือเสี่ยง 25

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2019

กำหนดเสร็จ 31/08/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ส่งเสริมความรู้ในผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปี

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมความรู้ในผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปี เรื่องวัคซีนและการดูแลภายหลังการรับวัคซีน
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้ปกครองเด็ก 0 - 5 ปี จำวน 100 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปี มีความรู้เรื่องวัคซีนและการดูแลภายหลังการรับวัคซีน ร้อยละ 60

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2500.00

กิจกรรมที่ 2 ติดตามเด็กที่มีภาวะโลหิตจางหรือเสี่ยงต่อภาวะโลหิตจาง

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเด็กที่มีภาวะโลหิตจางหรือเสี่ยงต่อภาวะโลหิตจาง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามเด็กที่มีภาวะโลหิตจางหรือเสี่ยงต่อภาวะโลหิตจาง โดย
1.แจกไข่ในเด็กที่มีภาวะโลหิตจางหรือเสี่ยงต่อภาวะโลหิตจาง ครั้งที่ 1 จำนวน 25 คนๆละ20 ฟองๆละ 4 บ. เป็นเงิน 2,000 บ.
2.แจกไข่ในเด็กที่มีภาวะโลหิตจาง ครั้งที่ 2( ซีดซ้ำ) จำนวน 10 คนๆละ20 ฟองๆละ 4 บ. เป็นเงิน 800 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กที่มีภาวะโลหิตจางหรือเสี่ยงต่อภาวะโลหิตจางได้รับการติดตามร้อยละ 80 และมีความเข้มข้นของเลือดดีขึ้น ร้อยละ 60

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2800.00

กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมความรู้หญิงตั้งครรภ์ในการดูแล เฝ้าระวังภาวะสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมความรู้หญิงตั้งครรภ์ในการดูแล เฝ้าระวังภาวะสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์และสามีหรือผู้ดูแลตามหลักสูตรโรงเรียนพ่อแม่
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มหญิงตั้งครรภ์และสามีหรือผู้ดูแล จำนวน 40 คนๆละ 25 บ.จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 2,000 บ.
-ค่าอาหารกลางวันหญิงตั้งครรภ์และสามีหรือผู้ดูแล จำนวน 40 คนๆละ 75 บ.จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บ.
-ค่าตอบแทนวิทยากร ชม.ละ 300 บ.X 3 ช.ม.จำนวน 2 วัน เป็นเงิน 1,800 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หญิงตั้งครรภ์และสามีหรือผู้ดูแลมีความรู้ในการดูแล เฝ้าระวังภาวะสุขภาพร้อยละ 70

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6800.00

กิจกรรมที่ 4 ส่งเสริมความรู้ใน อสม.

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมความรู้ใน อสม.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมอสม.เรื่องวัคซีนและการติดตามการได้รับวัคซีนของเด็กอายุ 0-5 ปี
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มอบรมให้ความรู้ใน อสม.จำนวน 95 คนๆละ 25 บ.จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 4,750 บ.
-ค่าอาหารกลางวันอบรมให้ความรู้ใน อสม.จำนวน 95 คนๆละ 75 บ.จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 7,125 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม.มีความรู้เรื่องวัคซีนและการติดตามการได้รับวัคซีนของเด็กอายุ 0-5 ปี ร้อยละ 70

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11875.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,975.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปี มีความรู้เรื่องวัคซีนและการดูแลภายหลังการรับวัคซีน
2.เด็กที่มีภาวะโลหิตจางหรือเสี่ยงต่อภาวะโลหิตจางได้รับการติดตามและมีค่าความเข้มข้นของเลือดดีขึ้น
3.หญิงตั้งครรภ์และสามีหรือผู้ดูแลมีความรู้ในการปฏิบัติตัว/การดูแลขณะตั้งครรภ์
5.อสม.มีความรู้เรื่องวัคซีนและสามารถติดตามการได้รับวัคซีนของเด็กอายุ 0-5 ปีได้


>