กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะนังยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลมะนังยง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะนังยง

สำนักงานเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลมะนังยง

องค์การบริหารส่วนตำบลมะนังยง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้เห็นชอบให้ดำเนินงานระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ตามมาตรา 18(9)
และมาตรา 47 ได้สนับสนุนและกำหนดหลักเกณฑ์ให้องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน และภาคเอกชนที่ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการแสวงหาผลกำไร ดำเนินและบริหารจัดการเงินทุนในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ได้ตามความพร้อม ความเหมาะสมและความต้องการ โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้แก่บุคคลในพื้นที่ ให้คณะกรรมการสนับสนุนและประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยให้ได้รับค่าใช้จ่ายจากกองทุน

องค์การบริหารส่วนตำบลมะนังยง ได้ดำเนินการจัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลมะนังยง ในปี พ.ศ. 2554 เพื่อให้การรบริหารจัดการและการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลมะนังยงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คณะกรรมการกองทุนฯ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องบุคลากรมีความรู้ความเข้าใจในกฎเกณฑ์ ระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องและปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับภารกิจที่ระบุในข้อตกการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่กับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตลอดจนทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงหลักประกันสุขภาพครอบคลุมทุกกลุ่ม
เป้าหมายและทุกพื้นที่ สำนักงานเลขานุการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลมะนังยง จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลมะนังยงขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลมะนังยง

การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลมะนังยงมีประสิทธิภาพ

20.00
2 เพื่อให้คณะกรรมการกองทุนฯ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมีความรู้ความความเข้าใจในการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนฯ

คณะกรรมการกองทุนฯ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมีความรู้ความความเข้าใจในการดำเนินงาน และบริหารจัดการกองทุนฯ

20.00
3 เพื่อให้การดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนฯ เป็นไปตามวัตถุประสงค์และมีประสิทธิภาพ

การดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนฯ เป็นไปตามวัตถุประสงค์และมีประสิทธิภาพ

20.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 20

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง

ชื่อกิจกรรม
การประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมกรรมการ ที่ปรึกษา อนุกรรมการ คณะทำงาน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 ครั้ง ครั้งละ 19 คน คนละ 400 บาท เป็นเงิน 22,800 บาท (สองหมื่นสองพันแปดร้อยบาทถ้วน) ดังนี้

ครั้งที่ 1 เพื่อสรุปผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา กำหนดกรอบแผนงานโครงการของปีงบประมาณใหม่ (แผนปฏิบัติงานประจำปี) พิจารณารายละเอียดของโครงการ อนุมัติ การใช้งบประมาณ รายงานสถานะการเงิน และส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานและการบริหารงานกองทุนฯ

ครั้งที่ 2 เพื่อพิจารณาโครงการที่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนระหว่างปี กำกับติดตามผลการดำเนินงานโครงการที่กองทุนให้การสนับสนุน รายงานสถานะการเงิน
และส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานและการบริหารงานกองทุนฯและส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานและการบริหารงานกองทุนฯ

ครั้งที่ 3เพื่อรายงานผลการดำเนินงาน รายงานผลการใช้จ่ายเงิน ประเมินผลการดำเนินงานกองทุนฯ ติดตามการบันทึกรายงานในระบบออนไลน์ ทบทวนปัญหาสาธารณสุข ในพื้นที่และกำหนดแนวทางการพัฒนากองทุนอย่างต่อเนื่อง

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กองทุนฯ มีแผนสุขภาพชุมชนของที่มีประสิทธิภาพตรงตามวัตถุประสงค์
  2. กองทุนฯ มีการกำหนดกรอบแผนงานโครงการที่ชัดเจน
  3. การพิจารณาโครงการครอบคลุมกิจกรรมทั้ง 5 ประเภท
  4. อนุมัติการใช้งบประมาณสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชนและปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่
  5. มีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนฯ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22800.00

กิจกรรมที่ 2 พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนฯ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนฯ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดส่งกรรมการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ฝึกอบรม สัมมนาต่างๆ ฯลฯ โดยเบิกจ่ายเงินเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ได้แก่ ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าที่พัก และค่าพาหนะเดินทางสำหรับกรรมการ ที่ปรึกษา อนุกรรมการ คณะทำงาน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเข้าร่วมประชุม ฝึกอบรม สัมมนาต่างๆ ฯลฯ เป็นเงิน 7,200 บาท (เจ็ดพันสองร้อยบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะกรรมการกองทุนฯ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมีความรู้ความความเข้าใจในการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนฯ 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เพื่อพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลมะนังยง
2. เพื่อให้คณะกรรมการกองทุนฯ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมีความรู้ความความเข้าใจในการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนฯ
3. เพื่อให้การดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนฯ เป็นไปตามวัตถุประสงค์และมีประสิทธิภาพ


>