2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
ปัญหาสุขภาพช่องปากของประชาชนไทยยังคงเป็นปัญหาสำคัญ โดยเฉพาะโรคฟันผุเป็นปัญหาที่เด่นชัด ซึ่งเมื่อไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที โรคจะลุกลามและสูญเสียฟันในที่สุด ส่งผลต่อพัฒนาการ สุขภาพ การสบฟันตลอดจนการใช้ชีวิตประจำวันข้อมูลจากการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากกลุ่มเด็กอายุ ๓ ปี ปี 2561 ระดับประเทศ พบว่ากลุ่มเด็กอายุ ๓ ปี มีฟันน้ำนมผุร้อยละ ๕๑.๑ในขณะที่ภาคใต้เขตสุขภาพที่ ๑๒พบว่าเด็กอายุ ๓ ปีมีอัตราการเกิดฟันผุสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับภาคอื่นๆ เป็นร้อยละ ๕๖.๓ สำหรับจังหวัดพัทลุง แม้โรคฟันผุของเด็กเล็กจะมีความชุกต่ำสุดในเครือข่าย แต่ก็พบว่าเด็กอายุ ๓ ปี ยังคงสูงกว่าเป้าหมายของประเทศ โดยจากการสำรวจสภาวะช่องปาก ตั้งแต่ปี 2559-2561 พบว่ามีฟันน้ำนมผุ ร้อยละ ๖๐.๗๓, ๖๒.๙๗ และ ๕๒.๕๔ ตามลำดับ โดยอำเภอที่มีความชุกสูงสุด ได้แก่ อำเภอศรีนครินทร์ และอำเภอปากพะยูน
จากการสำรวจเด็ก 3 – 5 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฝาละมี จำนวน 3 ศูนย์ ได้แก่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดบ้านม่วงทวน ,ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดหารเทา และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดฝาละมี พบว่า เด็กมีอัตราฟันผุ ร้อยละ 55.18 ,52,49.32 ตามลำดับ ซึ่งจะเห็นได้ว่าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดบ้านม่วงทวนเด็กมีอัตราฟันผุมากที่สุด และรองลงมาคือศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหารเทา ซึ่งตามเกณฑ์ตัวชี้วัดจังหวัดร้อยละฟันผุต้องไม่เกิน 50 และจากผลการดำเนินงานในปี 2561 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฝาละมี พบว่ามีกิจกรรมที่ควรพัฒนา คือ การฝึกทักษะผู้ปกครองแปรงฟันให้ลูก พบว่า มีผู้ปกครองได้รับการฝึกทักษะเพียง ร้อยละ ๒๕.๕๘ และเด็กได้รับฟลูออไรด์วานิชเสริม ร้อยละ ๔๔.๔๒ เฉลี่ย ๑.๓ ครั้งต่อปี สำหรับการทาฟลูออไรด์วานิชเพียง ๑ ครั้งต่อปีนั้น อาจไม่ส่งผลต่อประสิทธิผลในเชิงป้องกันการเกิดฟันผุในเด็กเล็กได้ ซึ่งจากหลายการศึกษาพบว่าผลเชิงป้องกันของฟลูออไรด์วานิชต้องทาอย่างน้อย ๒ ครั้งต่อปี และประสิทธิผลสูงสุดเมื่อมีการประเมินความเสี่ยงของเด็กทุกครั้งก่อนทา การฝึกทักษะให้ผู้ปกครองสามารถแปรงฟันให้ลูกได้ และการให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพช่องปากลูกตามระดับความเสี่ยง และติดตามเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฝาละมี ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง เห็นความสำคัญในการที่จะลดอัตราการเกิดฟันผุในเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดบ้านม่วงทวน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดหารเทา โดยการแปรงฟันที่มีคุณภาพ ร่วมกับกระบวนการให้บริการทันตกรรมป้องกันโดยการทาฟลูออไรด์ วานิชที่มีคุณภาพ จึงได้จัดทำโครงการ พัฒนาศักยภาพเครือข่ายผู้ดูแลเด็ก (Care giver) ในการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากเด็ก 3 - 5 ปี เพื่อบูรณาการส่งเสริมป้องกันฟันผุในเด็กก่อนวัยเรียนต่อไป
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/04/2019
กำหนดเสร็จ 30/09/2019
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?๑.ผู้เลี้ยงดูหลักมีความรู้ ด้านทันตสาธารณสุขมีทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก
๒.ผู้เลี้ยงดูหลักมีการดูแลเฝ้าระวัง ติดตาม การสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก เด็ก 3 – 5 ปี
๓.ผู้เลี้ยงดูหลักมีทักษะในการแปรงฟันให้เด็กอย่างมีคุณภาพ