กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะรือโบออก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดในกลุ่มเสี่ยง (Home BP)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะรือโบออก

โรงพยาบาลส่งเสริสุขภาพตำบลมะรือโบออก

-

โรงพยาบาลส่งเสริสุขภาพตำบลมะรือโบออก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

อัมพาต หรือ โรคหลอดเลือดสมอง เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญระดับโลก องค์การอัมพาตโลก (World Stroke Organization: WSO) รายงานว่า โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 ของโลก มีจำนวน ผู้ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองทั่วโลก 17 ล้านคน และเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 6.5 ล้านคน สำหรับในประเทศไทย โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุของโรคที่ก่อให้เกิดความสูญเสียอันเนื่องมาจากการตาย ก่อนวัยอันควรสูงเป็นอันดับ 1 ในเพศหญิงและสูงเป็นอันดับ 2 ในเพศชาย จากรายงานของสำนักนโยบายและ ยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พบว่าอัตราตายด้วยโรคหลอดเลือดสมองต่อประชากรแสนคน ใน ภาพรวม ปี พ.ศ. 2557 – 2559 เท่ากับ 38.63, 43.28 และ 43.54 ตามลำดับ จะเห็นได้ว่า อัตราตายด้วย โรคหลอดเลือดสมองนั้นเพิ่มขึ้นทุกปี และยังพบว่า โรคหลอดเลือดสมองมีอัตราตายมากกว่าโรคเบาหวานและ โรคหัวใจขาดเลือดเป็น 1.5 – 2 เท่าตัว
ปัจจุบันจากสถานการณ์ดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าโรคหลอดเลือดสมองเป็นภัยที่กำลังคุกคามประชากรทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ทั้งนี้เพราะโรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ และยังเป็นโรคที่สามารถ เกิดได้กับประชากรทุกคนและทุกวัย ผู้ที่รอดชีวิตจากโรคนี้จะได้รับผลกระทบทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม ในผู้ป่วยบางรายเกิดความพิการกลายเป็นภาระให้กับคนในครอบครัว ทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ จึงเป็น ปัญหาที่ทุกคนควรตระหนัก
ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะรือโบออกและองค์การบริหารส่วนตำบลมะรือโบออกเห็นความสำคัญเพื่อให้ประชาชนร่วมกันดูแลป้องกัน แก่ประชาชน ครอบครัว ชุมชน ให้มีความตระหนักและร่วมกันป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง โดยเน้นการให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคหลอดเลือดสมอง การสังเกตสัญญาณเตือนของโรค แนวทางการรับบริการเมื่อพบอาการของโรค และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จึงได้ดำเนินการโครงการส่งเสริมป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดในกลุ่มเสี่ยง (Home BP) ขึ้นเพื่อนำไปใช้ในการดูแล ป้องกัน ลดปัจจัยเสี่ยง ลดความพิการและเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ดูแลและกลุ่มเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวัดความดันโลหิตสูงที่ถูกต้อง

ร้อยละ 80 ผู้ดูแลและกลุ่มเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง 

54.00
2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดได้รับการบริการวัดความดันซ้ำที่บ้าน และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ร้อยละ 80 กลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดได้รับการบริการวัดความดันซ้ำที่บ้าน และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเปลี่ยนกลุ่มเป็นกลุ่มปกติ

54.00
3 เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดในเขตรับผิดชอบได้รับการวัดความดันโลหิตที่บ้าน

ร้อยละ 100 กลุ่มสงสัยป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดในเขตรับผิดชอบได้รับการวัดความดันโลหิตที่บ้านและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมปรับเป็นกลุ่มเสี่ยงหรือกลุ่มปกติหรือได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

54.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 54
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปีขึ้นไป

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปีขึ้นไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามารถแบ่งประเภทของกลุ่มเป้าหมายซึ่งจะแบ่งเป็นกลุ่มปกติ,กลุ่มเสี่ยง,กลุ่มสงสัยเป็นโรค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้ เกี่ยวกับโรคหัวใจและหลอดเลือด

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ เกี่ยวกับโรคหัวใจและหลอดเลือด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

8.30 น.-9.00 น.    ลงทะเบียนผู้เข้ารับการอบรม 9.00 น. -10.00 น. ให้ความรู้เรื่องโรคหัวใจและหลอดเลือด 10.0    น.-10.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง 11.0    10.30 น.-11.30 น. ให้ความรู้เรื่องอาหารและโภชนาการ 11.30 น.-12.00 น. ซักถามข้อสงสัยเกี่ยวกับความรู้และร่วมกันแสดงความคิดเห็น 12.00 น.-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 น.-14.00 น. ให้ความรู้เรื่องการวัดความดันโลหิตและสาธิตวิธีวัดความดันโลหิตที่ถูกต้อง 14.00 น. -14.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง 14.30 น.-15.30 น.  สาธิตย้อนกลับการวัดความดันโลหิต 15.30 น.-16.00 น. ซักถามข้อสงสัยเกี่ยวกับความรู้และร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก 16.30 น. เสร็จอบรมโครงการโครงการส่งเสริมป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดในกลุ่มเสี่ยง (Home BP) งบประมาณ 1.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มจำนวน 54 คน x 25 บาท X 2 มื้อ เป็นเงิน 2,700 บาท 2.ค่าอาหารกลางวันจำนวน 54 คน x 60 บาท X 1 มื้อ  เป็นเงิน 3,240 บาท 3.ค่าวิทยากรจำนวน 5 ชม. X 600 บาท               เป็นเงิน 3,000 บาท 4.ค่ากระเป่าเอกสารจำนวน 54 ใบ X
85 บาท              เป็นเงิน 4,590 บาท 5.ค่าสมุด จำนวน 54 เล่ม X 15 บาท            เป็นเงิน 810 บาท 6.ค่าปากกา จำนวน 54 แท่ง X 5 บาท                     เป็นเงิน 270 บาท 7.ค่าป้ายไวนิล จำนวน 1 ใบ ขนาด
1 X 2 ตร.ม.      เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ดูแล,กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มสงสัยเป็นโรคมีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตัวถูกต้องเพื่อป้องกันจากการป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดในอนาคต

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15110.00

กิจกรรมที่ 3 จัดทำแผนการตรวจโดย ผู้ดูแลเป็นพี่เลี้ยงในการวัดความดันโลหิตสูงที่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
จัดทำแผนการตรวจโดย ผู้ดูแลเป็นพี่เลี้ยงในการวัดความดันโลหิตสูงที่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

พี่เลี้ยงแต่ละเขตรับผิดชอบออกติดตามและประเมินผลการวัดความดันโลหิตที่บ้านของกลุ่มเสี่ยงสัปดาห์ละ1ครั้ง

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลการวัดความดันโลหิตที่บ้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,110.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ดูแล,กลุ่มเสียงและผู้ที่สงสัยเป็นโรคมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวและมีความตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง
2.จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดลดลง


>