กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะรือโบออก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรักษ์สุขภาพ ห่างไกลอาหารขยะ ชุมชนปิเหล็งปลอดโรค

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะรือโบออก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปิเหล็ง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปิเหล็ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชากร(อายุมากกว่า 15 ปี) ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ลงพุง

 

60.00
2 ร้อยละของคนในชุมชนที่ดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มรสหวานจัด เป็นประจำ

 

70.00

“คนไทย...” หลายคนไม่ได้กินอาหารเช้า ขณะที่บางคนอาจจะทานก็จริงแต่ไม่ได้คุณภาพ นอกจากนี้ยังมีผู้คนมากมายในสังคมกิน-ดื่มรสชาติหวาน มัน เค็มจัด แถมยังปฏิเสธรับประทานผัก ผลไม้ ละทิ้งอาหารไทยไปนิยมอาหารจากต่างชาติ โดยไม่รู้โทษที่สะสมเข้ามาในร่างกาย นำมาซึ่งความอ้วนและบ่อเกิดสารพัดโรคร้าย
สิ่งเหล่านี้คือความจริงที่เกิดขึ้นในสังคมไทยช่วง 10 ปีที่ผ่านมาจนมาถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก จากสถิติพบว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการเพิ่มจำนวนเด็กอ้วนเร็วที่สุดในโลก โดยพบว่าในประเทศไทยมีเด็กอ้วน ร้อยละ 15.5 จังหวัดนราธิวาสมีเด็กอ้วน ร้อยละ 10 และเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านปิเหล็ง มีเด็กอ้วนน้ำหนักเกินเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ 5
อ.สง่า ดามาพงษ์ ที่ปรึกษากรมอนามัยและอุปนายกสมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทย ภาคีของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้กล่าวว่า สาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาโรคอ้วนในเด็กไทย คือ พฤติกรรมบริโภคอาหารที่ไม่มีประโยชน์ เช่น อาหารขยะ (Junk food) และน้ำอัดลม เป็นต้น พฤติกรรมบริโภคของเด็กส่งผลถึงประสิทธิภาพในการเรียน สติปัญญา และคุณภาพพลเมืองในอนาคต ซึ่งถือเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ
โดยสถานการณ์ดังกล่าว ถ้ายังปล่อยให้คนไทยอ้วนโดยไม่มีการควบคุมดูแล จะโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่อ้วนถึงร้อยละ 30 ถ้าปล่อยให้อ้วนไปเรื่อยๆ เด็กเหล่านี้จะเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่อ้วนถึงร้อยละ 80 แล้วพอผู้ใหญ่อ้วนนั้นก็จะมีโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ตามมา โดยเฉพาะโรคเบาหวาน ความดัน หัวใจ หลอดเลือด ทำให้ประเทศสูญเสียงบประมาณ เพื่อดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเหล่านี้ เป็นการทำลายเศรษฐกิจโดยสิ้นเชิง
ในการนี้ รพ.สต.บ้านปิเหล็งเห็นถึงอันตรายของอาหารขยะ และผลกระทบที่เกิดขึ้น จึงได้จัดทำโตรงการนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลด ประชากร(อายุมากกว่า 15 ปี) ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ลงพุง

ร้อยละของประชากร (อายุมากกว่า 15 ปี) ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ลงพุง

60.00 20.00
2 ลดพฤติกรรมดื่มน้ำอัดลม เครื่องดื่มรสหวานจัด

ร้อยละของคนในชุมชนที่ดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มรสหวานจัด เป็นประจำ

70.00 20.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 60
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการรักษ์สุขภาพ ห่างไกลอาหารขยะ ชุมชนปิเหล็งปลอดโรค

ชื่อกิจกรรม
โครงการรักษ์สุขภาพ ห่างไกลอาหารขยะ ชุมชนปิเหล็งปลอดโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมชี้แจ้งโครงการให้ผู้เกี่ยวข้อง
  2. แต่งตั้งคณะทำงาน/กำหนดหน้าที่รับผิดชอบ
  3. ดำเนินการตามโครงการ/กิจกรรมให้ความรู้แก่ประชาชนในชุมชน
  4. ประเมินผล/สรุป/รายงาน
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-ประชาชนในชุมชนทราบถึงอันตรายที่เกิดจากการบริโภคอาหารขยะ -ประชาชนในชุมชนชุมชนบริโภคอาหารขยะลดลง
-ประชาชนในชุมชนมีการบริโภคอาหารสุขภาพเพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>