กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะรือโบออก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ชุมชนบ้านปิเหล็ง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะรือโบออก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปิเหล็ง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปิเหล็ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

35.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

45.00
3 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

 

15.00

สภาพสังคมในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้คนไทยเจ็บป่วยและตายด้วยโรคติดต่อและไม่ติดต่อ ที่มีสาเหตุมาจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งโรคเหล่านี้เกิดจากการมีพฤติกรรมเสี่ยงร่วมที่ไม่ถูกต้อง ได้แก่ การขาดการออกกำลังกายที่ถูกต้อง การรับประทานอาหารที่มันจัด เค็มจัด หวานจัด รวมทั้งผักและผลไม้ที่ไม่เพียงพอ ความเครียด การสูบบุหรี่และดื่มสุรา เป็นต้น และจากผลการสำรวจของ กรมอนามัยในปี 2560 พบว่าคนไทยเพียง 5.5 ล้านคนเท่านั้นที่มีการออกกำลังกายเพียงพอที่จะช่วยป้องกันโรคได้ สำหรับการรับประทานอาหารนั้น จากการสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนไทยอายุมากกว่า 15 ปี พบว่า ประชากรไทยส่วนมากบริโภคผักและผลไม้ไม่เพียงพอ (ภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล )
ในปัจจุบันอัตราการป่วยของโรคไม่ติดต่อเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน จากสถานการณ์ของโรคในเขตรับผิดชอบของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปิเหล็ง ประกอบด้วย 6 หมู่บ้าน โดยข้อมูลกลางปีในปีงบประมาณ 2561 ( ตุลาคม 2560 –กันยายน 2561 ) มีประชากรทั้งหมด 3487 คน ได้มีการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปทั้งหมด 1320 คน พบประชากรกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปีขึ้นไป ทั้งหมด 540 คน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปิเหล็ง และองค์การบริหารส่วนตำบลมะรือโบออก จึงมีความมุ่งมั่น มั่นในการป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เพื่อให้การมีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้สอดคล้องกับสภาพสังคมวิถีชีวิตประจำวัน ทั้งนี้น่าจะช่วยให้ลดจำนวนผู้ป่วยลงและให้ประชาชนได้ตระหนักถึงอันตรายของการเกิดโรค เพื่อการดูแลตนเองและครอบครัวไม่ให้มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

35.00 80.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

45.00 80.00
3 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

15.00 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 20
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ชุมชนบ้านปิเหล็ง

ชื่อกิจกรรม
โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ชุมชนบ้านปิเหล็ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดทำแผนงาน/โครงการ 2.นำเสนอโครงการเพื่อขอรับการพิจารณาอนุมัติ 3.ประชุมคณะทำงาน 4.จัดทำแผนปฏิบัติการโครงการฯ 5 ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการโครงการฯ 6.สรุป/ประเมินผลการเข้าค่ายฯ 7.ติดตามประเมินผล

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ประชากรกลุ่มเสี่ยง มีความรู้ และ ทัศนคติที่เหมาะสม ในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
  • ส่งเสริมการบรรลุตามมาตรฐานงานโรคเรื้อรัง (สุขภาพดีวิถีไทย) 6 องค์ประกอบ ของการป้องกันและควบคุมโรคสำหรับกลุ่มเป้าหมาย
  • กลุ่มเป้าหมายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวาน /ความดันโลหิตสูง ได้รับการติดตามประเมินผลเป็นระยะตามที่กำหนดไว้
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>