กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าบอน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการฝากเร็ว ฝากครบ เพื่อทารกสุขภาพดี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าบอน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าบอน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าบอน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ เข้ารับบริการฝากครรภ์ทันที เมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ โดยให้หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์

1.1เก็บความครอบคลุมหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ทั้งหมดแล้วนำข้อมูลมาประเมินว่าหญิงตั้งครรภ์รายใหม่มารับบริการฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ มากกว่าร้อยละ 70 1.2 หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ครั้งแรก อายุครรภ์น้อยกว่า 12 สัปดาห์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70

0.00
2 2 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่มีภาวะครรภ์เสี่ยงได้รับการดูแลตามมาตรฐาน 5 ครั้งตามเกณฑ์

2 หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

0.00
3 3 ทารกแรกคลอด มีน้ำหนักมากกว่า 2,500 กรัม

3 ทารกแรกคลอดน้ำหนักมากกว่า 2,500 กรัม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 70
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2019

กำหนดเสร็จ 31/10/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 ให้ความรู้อาสาสมัครสาธารณสุขในวันประชุมประจำเดือน เรื่องความสำคัญของการฝากครรภ์ทันทีเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์
2.2  ทำป้ายโครงการ หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ทันทีที่รู้ว่าตั้งครรภ์
2.3 อาสาสมัครสาธารณสุขดำเนินการค้นหาหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ที่ยังไม่ได้รับบริการฝากครรภ์ และกระตุ้นให้รีบดำเนินการฝากครรภ์ 2.4 จัดหาอุปกรณ์สาธิตหมอนเกือกม้าเตรียมประกอบการอบรมโรงเรียนพ่อแม่          2.6ให้บริการฝากครรภ์ตามมาตรฐานการตั้งครรภ์ 2.7 จัดอบรมโรงเรียนพ่อแม่ใน รพ.สต. เพื่อให้ความรู้ในการปฏิบัติตัวระหว่างตั้งครรภ์ และให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยใช้อุปกรณ์หมอนเกือกม้าช่วยอำนวยความสะดวกในการอุ้มบุตรขณะให้ดูดนม 2.8 ประเมินความรู้เรื่องต่างๆสำหรับหญิงตั้งครรภ์ ร่วมกับมีการบันทึกสุขภาพมารดาการดูแลมารดาหลังคลอด 2.9 ติดตามเยี่ยมหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่มาฝากครรภ์ เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับความรู้เรื่องผลดีผลเสียของการฝากครรภ์ 2.10 ติดตามเยี่ยมหลังคลอด เพื่อเก็บข้อมูลน้ำหนักเด็กหลังคลอด และเยี่ยมหลังคลอดตามเกณฑ์มาตรฐาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ทารกแรกคลอดน้ำหนักมากกว่า 2,500 กรัม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. คาดว่าหญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่ ม.1 - ม.10 ตำบลท่าบอนทุกคน ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ และมาฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ทุกคน
2. คาดว่าหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์มีภาวะสุขภาพที่ดีจนถึงคลอด
3. คาดว่าหญิงตั้งครรภ์ที่รับการอมรมโรงเรียนพ่อแม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำเร็จถึง 6 เดือน
4. คาดว่าเด็กในชุมชนมีฟันน้ำนมผุลดลง


>