2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
โรคฟันผุในฟันน้ำนมเป็นปัญหาที่พบมากในเด็กก่อนวัยเรียน จากการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศครั้งที่ 7(สำนักทันตสาธารณสุข,กรมอนามัย,2555) โดยในภาพรวมประเทศ พบว่า เด็กอายุ 3 ปีมีอัตราการเกิดโรคฟันผุร้อยละ 50.6 ค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด (dmft) 2.7 ซี่/คน เด็กอายุ 5 ปี มีอัตราการเกิดโรคฟันผุสูงถึงร้อยละ 75.9 ค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด (dmft) 4.4 ซี่/คน โดยภาคใต้เด็กอายุ 3 ปีมีอัตราการเกิดโรคฟันผุร้อยละ 59.8 ค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด (dmft) 3.1 ซี่/คน เด็กอายุ 5 ปีมีอัตราการเกิดโรคฟันผุร้อยละ 82.6 มีค่าเฉลี่ยฟันผุถอน อุด (dmft) 5.0 ซี่/คน ซึ่งพบฟันผุสูงสุดเมื่อเทียบกับภาคอื่นๆและเมื่อเด็กอายุเพิ่มขึ้นแนวโน้มการเกิดฟันผุยิ่งเพิ่มสูงขึ้น
ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
1. เพื่ออบรมผู้ปกครองให้มีความรู้ มีความตระหนักในการดูแลทันตสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียน
2. เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการดูแลทันตสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียนที่บ้านได้อย่างถูกต้อง
3. เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเครือข่าย อสม. ทันตสุขภาพในการให้คำแนะนำการดูแลสุขภาพช่องปากแก่ผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียน
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/04/2018
กำหนดเสร็จ 31/03/2019
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. เด็กก่อนวัยเรียนได้รับการดูแลทันตสุขภาพจากผู้ปกครองอย่างถูกวิธี
2. ผู้ปกครองตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลทันตสุขภาพ และมีส่วนร่วมในการดูแลทันตสุขภาพเด็กที่บ้าน
3. เด็กก่อนวัยเรียนเกิดความคุ้นชินต่อการดูแลสุขภาพช่องปากโดยผู้ปกครอง
4. เครือข่าย อสม. ทันตสุขภาพมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวันเรียนในชุมชน