กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแปรงฟันอย่างถูกวิธีของเด็กนักเรียนประถมศึกษาในตำบลบ้านควน ปีงบประมาณ 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

รพ.สต.ต.บ้านควน 1

นางนุสรัตน์ นุ่งอาหลี
นางรีนา โต๊ะเจ๊ะ

ร.ร.บ้านควน,ร.ร.บ้านทุ่งวิมาน,ร.ร.บ้านกาลูบี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 นักเรียนประถมศึกษาช่วงอายุ 6-12 ปี มีปัญหาฟันผุ ร้อยละ 80

 

80.00

จากการตรวจสุขภาพช่องปากนักเรียนตามระบบเฝ้าระวังทันตสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษาทั้ง 3 แห่งในตำบลบ้านควน จำนวน 500 คน พบว่ามีฟันผุ จำนวน 400 คน คิดเป็นร้อยละ 80 ส่งผลกระทบต่อการเรียนและพัฒนาการของเด็ก เนื่องจาก นักเรียนประถมศึกษาอยู่ในช่วงอายุ 6-12 ปี ซึ่งเป็นวัยที่มีฟันแท้ขึ้นใหม่ๆลักษณะรูปร่างฟันมีหลุมลึก ทำให้เกิดโรคฟันผุได้ง่ายรวมทั้งอุปนิสัยของเด็กที่ชอบรับประทานของหวาน ขนมกรุบกรอบ น้ำอัดลม ตลอดจนมีข้อจำกัดในเรื่องความสามารถในการดูแลช่องปากด้วยตนเองไม่ถูกวิธีและขาดการเอาใจใส่ต่อสุขภาพช่องปากของตนเองโรคในช่องปากเป็นโรคที่สามารถป้องกันและสามารถป้องกันและสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากเริ่มต้นส่งเสริมตั้งแต่วัยเด็ก การฝึกฝนให้เด็กมีทันตสุขนิสัยที่ดีและการส่งเสริมป้องกันรวมทั้งการบำบัดรักษาในระยะเริ่มแรกของการเป็นโรคจะช่วยป้องกันและควบคุมโรคในช่องปากของเด็กได้ จึงได้ทำโครงการแปรงฟันอย่างถูกวิธีเพื่อสุขภาพช่องปากที่ดีของเด็กนักเรียนประถมศึกษาในตำบลบ้านควน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนรู้จักการแปรงฟันที่ถูกวิธีและรักษาความสะอาดในช่องปากได้ถูกต้อง

นักเรียนรู้จักการแปรงฟันที่ถูกวิธีและรักษาความสะอาดในช่องปากได้ถูกต้อง ร้อยละ 80

80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 208
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 01/01/2019

กำหนดเสร็จ : 31/08/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้และฝึกปฏิบัติการแปรงฟันที่ถูกวิธี

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้และฝึกปฏิบัติการแปรงฟันที่ถูกวิธี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-อบรมให้ความรู้และฝึกปฏิบัติการแปรงฟันที่ถูกวิธีแก่นักเรียน โรงเรียนบ้านทุ่งวิมาน จำนวน 50 คน ,โรงเรียนบ้านควน จำนวน 100 คน ,โรงเรียนบ้านกาลูบี จำนวน 58 คน โดยให้นักเรียนนำชุดแปรงฟันมาเอง ให้ความรู้ช่วงเช้า และสาธิตการแปรงฟันที่ถูกวิธีช่วงบ่าย
1.ให้นักเรียนแปรงฟันก่อนเริ่มการอบรมโดยใช้เม็ดสีย้อมฟันในการตรวจเช็ค
2.อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการแปรงฟันที่ถูกวิธี
3.ฝึกปฏิบัติการแปรงฟันที่ถูกวิธีโดยใช้เม็ดสีย้อมฟันในการตรวจเช็ค
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มนักเรียน จำนวน 208 คน X 25 บาท X 2 มื้อ เป็นเงิน 10,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนทุกคนรู้จักการแปรงฟันที่ถูกวิธีและรักษาความสะอาดในช่องปากได้ถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,400.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

นักเรียนรู้จักการแปรงฟันที่ถูกวิธีและรักษาความสะอาดในช่องปากได้ถูกต้อง ร้อยละ 80


>