กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคมะเร็ง ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านทุ่งยาว

1. นางหนูอั้น ไข่ทอง
2. นางอวยพร คงหมุน
3. นางศรีอมร ฉิ้มสังข์
4. นางปรีดา เทพชนะ
5. นายอุทิศ คงทอง

หมู่ที่ 1,7,9 ต.โคกชะงาย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 อัตราป่วยต่อแสนประชากรในโรคมะเร็งทุกชนิด 174.21 โรคความดันโลหิตสูง 860.53 โรคเบาหวาน 675.74 โรคหัวใจและหลอดเลือด 901.31

 

3.00

ปัจจุบันคนไทยมีแนวโน้มเจ็บป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคที่เกิดจากการปฏิบัติตัวที่ไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยมีสาเหตุจากการกินอาหารที่มันจัดเค็มจัดหวานจัด รวมทั้งกินผักและผลไม้ที่ไม่เพียงพอ มีภาวะเครียด การสูบบุหรี่ และการดื่มสุราการออกกกำลังกายที่ไม่เพียงพอทำให้ประชาชนเจ็บป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร และต้องเสียค่ารักษาพยาบาลเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะโรคมะเร็งต้องเสียค่ารักษาพยาบาลเฉลี่ยคนละ ๑ แสนบาทต่อเดือนและพบว่าอัตราป่วยต่อแสนประชากรในโรคมะเร็งทุกชนิด ๑๓๔.๒๑ โรคความดันโลหิตสูง ๘๖๐.๕๓ โรคเบาหวาน 675.74 โรคหัวใจและหลอดเลือด 901.31 และสำหรับอัตราการตายต่อแสนประชากรมีดังนี้ โรคมะเร็งทุกชนิด 85.04 โรคความดันโลหิตสูง 3.90 โรคเบาหวาน 12.22 โรคหัวใจและหลอดเลือด 56.00 (ข้อมูลจากสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2560)จากผลการเฝ้าระวังการออกกำลังกายและการบริโภคอาหารของประชาชนอายุ 15-60 ปี จำนวน 1,520 คนทั่วประเทศโดยกองสุขศึกษากรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2558 พบว่าประชาชนที่ออกกำลังกายถูกต้องมีเพียงร้อยละ 32.6 การบริโภคผักและผลไม้ไม่น้อยกว่าวันละครึ่งกิโลกรัมมีเพียงร้อยละ 23.7 และกินอาหารไขมันสูงเป็นประจำร้อยละ 14.0

จากข้อมูลการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในพื้นที่หมู่ที่ 1,7,9 พบว่ากลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงถึงร้อยละ 12.41 ประกอบกับประชาชนมีการออกกำลังกายน้อยกว่า 3 วัน /สัปดาห์ทั้งยังบริโภคอาหารมันอาหารเค็มและหวานจัดแต่รับประทานผักน้อยจึงจำเป็นต้องดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทุกระดับ รวมทั้งประชาชนอย่างจริงจัง เพื่อให้ประชาชนมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 3-5 วันๆ ละอย่างน้อย 30 นาที ร่วมกับการรับประทานผักและผลไม้สด อย่างน้อยครึ่งกิโลกรัมขึ้นไปหรือกินผักครึ่งหนึ่งอย่างอื่นครึ่งหนึ่ง และลด ละ เลิกอาหารมันจัด เค็มจัด และหวานจัด ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง ได้ร้อยละ 20-30 และโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานโรคหัวใจและหลอดเลือด ได้อย่างมาก

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว และกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นเทศบาลตำบลโคกชะงาย ได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่พฤติกรรมที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด สามารถพัฒนาให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีจึงได้จัดทำโครงการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดโรคมะเร็งโรคความดันโลหิตสูงโรคหัวใจและหลอดเลือดหมู่ที่ 1,7,9 ตำบลโคกชะงายขึ้นเพื่อพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. ให้ประชาชนในพื้นที่ดำเนินการมีความรู้และมีการออกกำลังกายสม่ำเสมอ สัปดาห์ละอย่างน้อย 3-5 วัน ๆ ละอย่างน้อย 30 นาที ร่วมกับการรับประทานผักและผลไม้สดวันละอย่างน้อยครึ่งกิโลกรัมขึ้นไป หรือกินผักครึ่งหนึ่ง อย่างอื่นครึ่งหนึ่ง ลดอาหารไขมัน ลดการกินเค็ม และลดอาหารหวาน ประชาชนมีความรู้และทักษะในการออกกำลังกายได้อย่างถูกต้อง สามารถบอกปริมาณอาหารที่เหมาะสมกับตนเองได้ และวางแผนการกินเพื่อควบคุมน้ำหนักตนเองให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปกติได้และภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค ฯ

1.ร้อยละ50 ของประชาชนในพื้นที่ดำเนินการมีความรู้และมีการออกกำลังกายสม่ำเสมอ สัปดาห์ละอย่างน้อย 3-5 วัน ๆ ละอย่างน้อย 30 นาที ร่วมกับการรับประทานผักและผลไม้สดวันละอย่างน้อยครึ่งกิโลกรัมขึ้นไป หรือกินผักครึ่งหนึ่ง อย่างอื่นครึ่งหนึ่ง ลดอาหารไขมัน ลดการกินเค็ม และลดอาหารหวาน 2.ร้อยละ 50 ของประชาชนมีความรู้และทักษะในการออกกำลังกายได้อย่างถูกต้อง สามารถบอกปริมาณอาหารที่เหมาะสมกับตนเองได้ และวางแผนการกินเพื่อควบคุมน้ำหนักตนเองให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปกติได้ 3.ทุกภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค ฯ

3.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 07/01/2019

กำหนดเสร็จ 30/07/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. จัดกิจกรรมสร้างการเรียนรู้ การสร้างเสริมสุขภาพ (3 อ 2ส) ของประชาชนที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ รวมทั้ง ร่วมจัดมหกรรมสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
1. จัดกิจกรรมสร้างการเรียนรู้ การสร้างเสริมสุขภาพ (3 อ 2ส) ของประชาชนที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ รวมทั้ง ร่วมจัดมหกรรมสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าจ้างเหมาไถแปลงปลูกผัก4 แปลง ๆละ 500บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
  2. ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมมหกรรมสุขภาพจำนวน60 คนๆ ละ 50 บาทเป็นเงิน3,000บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย มีพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ. 2 ส. เพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 5,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.มีหมู่บ้านต้นแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด จำนวน 3 หมู่บ้าน
2.มีแหล่งเรียนรู้ด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด จำนวน 1 แห่ง
3.ประชาชนในหมู่ที่ 1, 7 ,9 โคกชะงาย อำเภอเมืองจังหวัดพัทลุง ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด


>