กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาทับ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

สุขภาพดี ชีวีสูงอายุยืนยาว

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาทับ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเสมียน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเสมียน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันสังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วอันเนื่องมาจากกระแสการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การแข่งขันทางการตลาด การสื่อสารและการคมนาคมซึ่งทำให้ วิถีการดำเนินชีวิตของคนเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมากในหลาย ๆ ด้าน เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่ไม่สมดุลเกิดปัญหาความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม อาหารมีสารปนเปื้อน ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่แออัดและมีพฤติกรรมที่เอื้อต่อการระบาดของโรคมากขึ้นทำให้สภาพปัญหาเกี่ยวกับโรคมีมากขึ้น ซึ่งเป็นผลเนื่องจากว่าการดำเนินชีวิตและการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ขาดความสนใจและละเลยต่อการดูแลสุขภาพ เช่น รับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย ขาดการดูแลสุขภาพองค์รวม(HolisticHealthSystem)
ดังนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำเอาหลักการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมมาแก้ปัญหา
ปฏิรูปแนวคิดเกี่ยวกับสุขภาพ โดยมองว่า สุขภาพมิใช่เป็นเพียงการตั้งรับเพื่อซ่อมเสริม แต่เป็นการสนับสนุน
ให้เกิดการดูแลสุขภาพโดยถ้วนหน้ากันอันจะก่อให้เกิดสุขภาวะอันสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจและสังคมซึ่งเชื่อมโยงชีวิตที่มีสติปัญญากับปัจจัยทั้งทางด้านชีวภาพ จิตใจ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

๑ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง / ตัวชี้วัดความสำเร็จผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ และเกิดเจตคติที่ดี ในการดูแลสุขภาพและปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม
๒ เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพของตนเองและผู้อื่นได้/ ตัวชี้วัดความสำเร็จ ผู้สูงอายุสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับต่อบุคลในครอบรัว และสังคมได้
๓.เพื่อลดโรคเรื้อรังในกลุ่มประชากรผู้สูงอายุ/ ตัวชี้วัดความสำเร็จ กลุ่มโรคเรื้อรังในผู้สูงอายุลดลงร้อยละ ๕

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 60
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดกิจกรรมให้ความรู้แกนนำผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมให้ความรู้แกนนำผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ เป็นเงิน 600 บาท
  • ค่าวิทยากร 1,200 บาท x 2 คน เป็นเงิน 2,400 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน 70 บาท x 60 คน เป็นเงิน 4,200 บาท
  • ค่าอาหารว่าง 50 บาท x 60 คน เป็นเงิน 3,000 บาท
  • ค่าวัสดุ 75 บาท x 60 คน เป็นเงิน 4,500 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 14,700 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑.  ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ และเกิดเจตคติที่ดี ในการดูแลสุขภาพและ ปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม ๒.  ผู้สูงอายุสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับต่อบุคลในครอบรัว และสังคมได้ ๓.  กลุ่มโรคเรื้อรัง ในผู้สูงอายุลดลงร้อยละ ๕

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ และเกิดเจตคติที่ดี ในการดูแลสุขภาพและ
ปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม
๒. ผู้สูงอายุสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับต่อบุคลในครอบรัว และสังคมได้
๓. กลุ่มโรคเรื้อรัง ในผู้สูงอายุลดลงร้อยละ ๕


>