กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาเระเหนือ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการการมีส่วนร่วมของชุมชนในการคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ปี 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาเระเหนือ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเระเหนือ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเระเหนือ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

4.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

4.00
3 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

 

2.00

จากสภาพสังคมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ทำให้วิถีชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนตามสภาพจากเดิม ทำให้พฤติกรรมของแต่ละคนเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่ถูกต้อง เช่นพฤติกรรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองอันนำไปสู่ ระบบการทำงานต่างๆของร่างกายเริ่มจะเสื่อมโทรมลง และมีโอกาสที่จะเจ็บป่วยได้ง่ายมากขึ้นโดยเฉพาะ อย่างยิ่งโรคเรื้อรัง Metabolic ได้แก่โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง และโรคไขมันในเลือดผิดปกติ โรคหลอดเลือดหัวใจ ทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะทนทุกข์ทรมาน และทำให้เกิดความสูญเสียทั้งทรัพย์สิน และชีวิต ข้อมูลทางระบาดวิทยาพบว่าจำนวนผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างมากมายคือ เพิ่มขึ้นจาก135ล้านคนในปีค.ศ. 1995เป็น 151ล้านคนในปีค.ศ. 2000 และคาดว่าจะเป็น221ล้านคนในปีค.ศ. 2010 และ300 ล้านคนในปีค.ศ. 2025 ตามลำดับ (King และคณะ) ความชุกของโรคเบาหวานในประชากรทุกอายุทั่วโลก พบว่าความชุก ในปี ค.ศ. 2000 เท่ากับ 2.8% และจะเป็น 4.4% ในปี ค.ศ. 2030 (Wild และคณะ) ขณะที่สถานการณ์ในประเทศไทยค.ศ. 1996-1997 พบว่าอัตราความชุก เท่ากับ 4.4% การวิจัยซึ่งเก็บข้อมูลจากทุกภาคของประเทศ เมื่อปี ค.ศ. 2000 พบว่าอัตราความชุก ของโรคเบาหวานในประชากรทีมีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป เท่ากับ 9.6% หรือคิดเป็นจำนวน 2.4 ล้านคน ในจำนวนนี้มีผู้ที่รู้ตัวว่าเป็นเบาหวานเพียงครึ่งเดียว (4.8%) อีกครึ่งหนึ่งที่ไม่รู้ตัวว่าเป็นเบาหวาน มาก่อน อัตราความชุกของโรคเบาหวานในเมืองสูงกว่าชนบท(National Health Interview and Examination Survey)สถานการณ์ความชุกของโรคเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเระเหนือ ปี 2016 เท่ากับ 7.7% ในปี 2017 เท่ากับ 4.71 %ในปี 2018เท่ากับ 4.19% ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น มีผู้ป่วยเบาหวานในความรับผิดชอบ จำนวน 149 คน ซึ่งเพิ่มจากปี 2018 คิดเป็น 5.2 % และสถานการณ์ความชุกของโรคความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเระเหนือปี 2016 เท่ากับ 6.5% ในปี 2017 เท่ากับ 7.42 %ในปี 2017 เท่ากับ 7.42% ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น มีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในความรับผิดชอบ จำนวน 554 คน ซึ่งเพิ่มจากปี 2017 คิดเป็น 9.02% การดูแลโรคไม่ติดต่อเรื้อรังนั้นไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะโดยแพทย์เท่านั้น แต่ขึ้นอยู่กับการดูแลตนเองของผู้ป่วย และการตรวจป้องกันภาวะแทรกซ้อน นอกจากยังควรมีการติดตามเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้านเพื่อจะได้ทราบถึงปัญหาของการดูแลตนเอง และร่วมหารือ และแนะนำการแก้ไขปัญหาสุขภาพกับผู้ป่วยแต่ละราย ปัจจุบันผู้ป่วยที่มารับบริการดูแลรักษาโรคเรื้อรังดังกล่าวมีเป็นจำนวนมาก และมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ก็ยังไม่ได้รับบริการดูแลภาวะแทรกซ้อนได้อย่างครบถ้วน และการรักษาส่วนใหญ่ยังเน้นโรงพยาบาลเป็นศูนย์กลาง(Hospital-based) ถึงแม้หลาย ๆ โรงพยาบาลจะได้รับการรับรองเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ(HPH) ก็ตาม ทำให้ไม่เกิดความยั่งยืนในระบบการดูแลสุขภาพ ผู้ป่วยและครอบครัวมีศักยภาพในการดูแลตนเองน้อย ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังต้องพึ่งแพทย์ และทีมงานเป็นหลัก แต่ในความเป็นจริงการที่สามารถให้ประชาชน กลุ่มเสี่ยง ผู้ป่วย ได้ตระหนักในการดูแลตนเอง มีความรู้ สร้างทัศนคติ จะสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และปฏิบัติตัวให้ห่างจากการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วย เพื่อลดงบประมาณในการรักษาผู้ป่วยได้เป็นจำนวนมาก
การป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในประชาชนที่มีความเสี่ยงสูงจึงเป็นแนวทางหนึ่งที่มีความสำคัญเพื่อลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของโรค ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเระเหนือได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการการมีส่วนร่วมของชุมชนในการค้นหาและคัดกรองโรคเบาหวานและภาวะความดันโลหิตสูงของประชาชนในพื้นที่ รับผิดชอบ ทั้งนี้เพื่อประเมินสถานการณ์และแนวโน้มของการเจ็บป่วย อันจะเป็นแนวทางในการวางแผน กำหนดนโยบายในการควบคุม ป้องกัน และลดอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง รวมทั้งประชาชนในกลุ่มเป้าหมายได้เกิดทักษะในการค้นหากลุ่มเสี่ยงของโรคดังกล่าวในชุมชนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

2.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

4.00 3.00
3 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

2.00 1.00

ข้อที่ 1.เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นเพื่อค้นหาโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
ข้อที่ 2. เพื่อวางแผนดำเนินการป้องกันและแก้ไขโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ
ข้อที่3.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงสูงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วย 3 อ. 2 ส ตามวิถีชุมชน
ข้อที่4.เพื่อให้กลุ่มป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วย3 อ. 2 ส

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 1,563
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1 .จัดอบรมแก่แกนนำ/ภาคีเครือข่าย

ชื่อกิจกรรม
1 .จัดอบรมแก่แกนนำ/ภาคีเครือข่าย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 อบรมให้ความรู้การดูแลติดตามกลุ่มเสี่ยงและ ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง” 1.2 ฝึกทักษะการตรวจความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดแก่แกนนำ/ภาคีเครือข่าย -ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้จัดอบรม/ทีมงาน 50 บาท.x 5 คน = 250 บาท -ค่าอาหารว่างสำหรับผู้จัดอบรม/ทีมงาน 25 บาท. X 5 คน = 250 บาท -ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าอบรม 50 บาท. x 28 คน = 1,400 บาท -ค่าอาหารว่างสำหรับผู้เข้าอบรม 25 บาท. X 28 คน X 2 มื้อ =1,400บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3300.00

กิจกรรมที่ 2 2. ตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวานและจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแก่ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป โดยเจ้าหน้าที่และแกนนำ/ภาคีเครือข่ายในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
2. ตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวานและจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแก่ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป โดยเจ้าหน้าที่และแกนนำ/ภาคีเครือข่ายในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 เจ้าหน้าที่/ทีมงานและภาคีเครือข่าย ตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานแก่ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป 2.2 เจ้าหน้าที่/ทีมงานและภาคีเครือข่ายออกติดตาม/เยี่ยมบ้านและตรวจคักรองโรคในกลุ่มเป้าหมายประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ไม่ได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานตามที่นัดหมาย 2.3 อบรมให้ความรู้และจัดกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยหลัก 3 อ 2 ส ตามวิธีมุสลิมแก่กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง -ค่าวิทยากร 14 ชม. X 600 บาท = 8,400 บาท -ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้จัดอบรม/ทีมงานและภาคีเครือข่ายในการ 50 บาท. x 20 คน x 7 วัน = 7,000 บาท -ค่าอาหารว่างสำหรับผู้จัดอบรม/ทีมงาน 25 บาท.x 20 คน X 2 มื้อ x 7 วัน=7,000 บาท -ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 50 บาท. X50 คน X 7 วัน = 17,500 บาท -ค่าอาหารว่างสำหรับผู้เข้าอบรม 25 บาท. X 50 คน X 2 มื้อ x 7 วัน=17,500บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
57400.00

กิจกรรมที่ 3 3.การจัดซื้อวัสดุและอุปกรณ์

ชื่อกิจกรรม
3.การจัดซื้อวัสดุและอุปกรณ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

3.1 จ้างเหมาจัดทำป้ายโครงการ 3.2 จัดซื้อวัสดุในการตรวจคัดกรองระดับน้ำตาลในเลือด -ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายโครงการ “การมีส่วนร่วมของชุมชนในการคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ปี 2562” = 600 บาท -ค่าจัดซื้อวัสดุในการตรวจคัดกรองระดับน้ำตาลในเลือด จำนวน 6 กล่องๆละ  ปี749 บาท = 4,494 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5094.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 65,794.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อภาระโรค METABOLIC


>