กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งค่าย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและการเสี่ยงต่อการเกิดโรค ชมรมผู้สูงอายุบ้านทุ่งค่าย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งค่าย

ชมรมผู้สูงอายุบ้านทุ่งค่าย

1.นางสาววิไลวรรณภู่ใหม่
2.นายปรีชานุ้ยภิรมย์
3.นางวรรณี ชูปลอด
4.นางสมบูรณ์ชัยรัตน์
5.นางกัญญาทองนิล

ชมรมผู้สูงอายุบ้านทุ่งค่าย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

คนเราทุกคนไม่อาจหลีกเลี่ยงการไม่แก่ไม่มีโรค แต่เป็นกระบวนการธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับอวัยวะต่างๆของร่างกาย ซึ่งเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้วก็จะมีการเสื่อมลง และสิ้นอายุขัยในที่สุด การเสื่อมเพราะวัยและสภาพวิถีการดำเนินชีวิต สิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน จึงจำเป็นที่ผู้สูงอายุต้องมีความรู้ในการดูแลตนเอง เพื่อเตรียมความพร้อมและหลีกเลี่ยงของการเกิดปัญหาในเรื่องที่สามารถทำได้ด้วยตนเอง เช่น การรับประทานลด หวาน มัน เค็ม เพื่อป้องกันโรคเบาหวาน ความดัน การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันและลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น ความเครียด กังวล ทัศนคติต่อสังคมในเรื่องสุขภาพจิต เช่น เครียด เหงา วิตกกังวล หวาดระแวง การยอมรับความจริงของการเกิดมา และสามารถพึงพาตนเองให้มากที่สุด มองโลกในแง่ดี ดังนั้นชมรมผู้สูงอายุบ้านทุ่งค่ายจึงเล็งเห็นความสำคัญที่จะแก้ปัญหาในเบื้องต้น จึงเสนอโครงการนี้เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ลดการเกิดโรค ตามกลุ่มเป้าหมายจำนวน 70 คน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดี สามารถเตรียมความพร้อมของตนเองในช่วงวัยของผู้สูงอายุ

สามารถใช้ความรู้ที่ได้รับนำไปปฏิบัติในการใช้ชีวิตประจำวันได้ ในเรื่องการรกินอาหารที่ถูกต้อง ลดหวาน มัน เค็ม

0.00
2 สามารถใช้ชีวิตประจำวันในครอบครัวอย่างเหมาะสม พึ่งพาตนเองได้

การออกกำลังกายที่เหมาะสมและสม่ำเสมอ โดยการดำเนินการต่อเนื่องจากโครงการ

0.00
3 ผู้สูงอายุสามารถเข้าร่วมกิจกรรมอื่น ๆ และการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขในชุมชน

การประเมินสุขภาพ ตามเกณฑ์ชี้วัด ทุก 3 เดือน หลังเสร็จโครงการ

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 70
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้สำหรับผู้สูงอายุ (อายุ 50 ปีขึ้นไป)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10600.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมออกกำลังกาย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมออกกำลังกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ออกกำลังกายของผู้สูงวัย การใช้ไม้พลอง และการเต้นบาสโลป

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1975.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,575.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้และสามารถดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม โดยไม่เป็นภาระกับคนใดคนหนึ่งในครอบครัว
2.ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ อันนำมาสู่การเกิดโรคเบาหวาน ความดัน
3.ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่แข็งแรง ห่างไกลโรค สร้างความเข้มแข็งในสถาบันครอบครัว และการเตรียมความพร้อมการรองรับสังคมผู้สูงวัยในอนาคต


>