กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน ในปีงบประมาณ 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

รพ.สต.บ้านนาโหนด

ศาลาเอนกประสงค์ หมู่ที่ 1 3 6 และ 10 ตำบลนาโหนด อำเภอเมืองพัทลุงจังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

2.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

2.00

ในปัจจุบันสภาพแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคมมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก ทำให้วิถีชีวิตและพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสม การออกกำลังกายน้อยลง ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมามากมายโดยเฉพาะโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งพบได้ทั่วโลกทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนา ในประเทศไทยพบโรคเบาหวาน 2.5% ของประชากร คิดจากประชากร 60 ล้านคน มีคนเป็นโรคเบาหวานประมาณ 3 ล้านคน ส่วนโรคความดันโลหิตสูงมีคนเป็นโรคความดันโลหิตสูงประมาณ 5 ล้านคน ในปีงบประมาณ 2562 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาโหนด มีประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ จำนวน 1,950 คน และในปี 2561 ผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนโรคเบาหวาน จำนวน 167 คน และโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 477 คน ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขในชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลงร้อยละ 2

2.00 2.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลงร้อยละ 2

2.00 2.00
3 เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้น ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 1,950 คน ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 80

1560.00
4 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโหลิตสูง

ประชาชนตรวจพบมีความเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ 100

100.00
5 ประชาชนกลุ่มตรวจพบเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันภาวะแทรกซ้อน

ประชาชนกลุ่มตรวจพบเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันภาวะแทรกซ้อน ร้อยละ 100

100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 1,309
กลุ่มผู้สูงอายุ 641
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2018

กำหนดเสร็จ 31/03/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดซื้อวัสดุการแพทย์

ชื่อกิจกรรม
จัดซื้อวัสดุการแพทย์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าวัสดุการแพทย์
-กระดาษตรวจน้ำตาลในเลือด 35 กล่องๆ ละ 860บาท เป็นเงิน 30,100บาท -เข็มเจาะเลือด20 กล่องๆ ละ 745 บาท เป็นเงิน 14,900บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีวัสดุการแพทย์ที่เพียงพอ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
45000.00

กิจกรรมที่ 2 คัดกรองสุขภาพค้นหาโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปตามโครงการฯ

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองสุขภาพค้นหาโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปตามโครงการฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ทำแผนการออกปฏิบัติงานและประชาสัมพันธ์แผนการดำเนินงานในเขตรับผิดชอบผ่านทางอสม. ผู้นำชุมชน และแกนนำกลุ่มต่าง ๆ
2.เจาะโลหิตโดยเครื่อง DTX เพื่อวัดค่าน้ำตาลในเลือด และวัดความดันโลหิตในกลุ่มเป้าหมายพร้อมลงบันทึกและประเมินผล 3.ผู้ป่วยที่ระดับน้ำตาลมากกว่าหรือเท่ากับ 100 mg% นัดเจาะซ้ำห่างจากครั้งแรก 4 สัปดาห์ ถ้าระดับน้ำตาลมากกว่าหรือเท่ากับ 126mg% นัดเจาะซ้ำห่างจากครั้งที่2  4 สัปดาห์ ถ้าระดับน้ำตาลมากกว่า    หรือเท่ากับ 126mg % ส่งต่อโรงพยาบาลพัทลุง เพื่อรับการรักษาจากแพทย์ 4.ผู้ป่วยที่ระดับความดันโลหิตมากกว่าหรือเท่ากับ 120/80 mmHg นัดวัดความดันโลหิตซ้ำห่างจากครั้งแรก 4 สัปดาห์ ถ้าระดับความดันโลหิตมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 mmHg ส่งต่อโรงพยาบาลพัทลุง    เพื่อรับการรักษาจากแพทย์ 5.แนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โดยให้สุขศึกษารายกลุ่ม 6.ขึ้นทะเบียนผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่เพื่อการดูแลและรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง 7.ติดตามประเมินผลโดยการเยี่ยมบ้านเพื่อให้คำแนะนำผู้ป่วยและครอบครัว 8.ประเมินผลโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพค้นหาโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงและได้มีการแนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคฯและนัดติดตามกลุ่มเสี่ยง ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกัน ควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยรายใหม่ได้รับการค้นพบโดยเร็วและได้รับการรักษาที่ถูกต้องและต่อเนื่อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง คร้ังที่ 1 ภายใน 3 เดือน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง คร้ังที่ 1 ภายใน 3 เดือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามกลุ่มเสี่ยงค้นหาโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปตามโครงการฯ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้รับการติดตามตรวจสุขภาพซ้ำหลังคัดกรอง 3 เดือน ปกตินัดตรวจซ้ำอีก 1 ปี มีภาวะน้ำตาลและความดันโลหิตอยู่ในกลุ่มเสี่ยงแนะนำปรับเปลี่ยนต่อนัดอีก 3 เดือน มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงและความดันโลหิตสูงได้รับการส่งต่อ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง คร้ังที่ 2 ภายใน 6 เดือน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง คร้ังที่ 2 ภายใน 6 เดือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามกลุ่มเสี่ยงค้นหาโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปตามโครงการฯ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้รับการติดตามตรวจสุขภาพซ้ำหลังคัดกรอง 6 เดือน และประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการติดตามครั้งที่ 1 แล้วแต่ยังพบมีภาวะเสี่ยงนัดมาคัดกรองซ้ำ ถ้าพบปกตินัดตรวจซ้ำอีก 1 ปี มีภาวะน้ำตาลและความดันโลหิตอยู่ในกลุ่มเสี่ยงแนะนำปรับเปลี่ยนต่อนัดอีก 3 เดือน มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงและความดันโลหิตสูงได้รับการส่งต่อ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 45,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ลดลง ร้อยละ 2 ของประชาชนกลุ่มเสี่ยง
ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 1,950 คน ได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพค้นหาโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 1,560 คน คิดเป็นร้อยละ 80 ของกลุ่มประชากร
ประชาชนตรวจพบมีความเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโหลิตสูง ได้รับคำแนะนำ และได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ 100
ประชาชนที่ตรวจพบเป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโหลิตสูง (ผู้ป่วยรายใหม่) ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ไม่เกิดโรคแทรกซ้อน ร้อยละ 100
กลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามตรวจสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคฯ
กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้รับการส่งต่อตามระบบ
กลุ่มป่วยได้รับการปรับเปลี่ยนเพื่อควบคุมโรคหรือป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน


>