กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูก รพ.สต.บ้านโคกชะงาย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย

1. นางพัชรี เรืองศรี
2. นางพรภิรมย์ ด้วงเล็ก
3. นส.นิสรีน เหล็มปาน
4. นางอุไรพงศ์ จันทร์เสถียร
5. นางชนม์นิภา ธรรมเพชร

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละความครอบคลุมของสตรีอายุ 30-60 ปีได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

 

3.00

จากรายงานสถานการณ์โรคมะเร็งขององค์กรระหว่างประเทศเพื่อการวิจัยโรคมะเร็ง ขององค์การอนามัยโลก ในปี พ.ศ.2561 มีผู้ป่วยโรคมะเร็งรายใหม่เพิ่มขึ้นมากกว่า 18 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งเพิ่มสูงขึ้นเป็น 9.6 ล้านคนภายในปีนี้ ในจำนวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งเกินว่าครึ่งหนึ่งเป็นประชากรในทวีปเอเชียสำหรับในประเทศไทยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รายงานสถานการณ์โรคมะเร็งปากมดลูกยังคงเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของสตรีในประเทศไทย ซึ่งพบมากเป็นอันดับ 2ของโรคมะเร็งทั้งหมดของสตรีรองจากมะเร็งเต้านมในช่วง 15 ปีที่ผ่านมาอุบัติเหตุการณ์โรคมะเร็งปากมดลูกลดลงเล็กน้อย แต่กลับพบผู้ป่วยรายใหม่สูงขึ้นเรื่อยๆ แต่ละปีจะพบผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ประมาณ 10,000 ราย และเสียชีวิตจากการเป็นมะเร็งปากมดลูก 5,000 รายอัตราการเสียชีวิตของสตรีไทยเพิ่มขึ้นจาก7คน/วันเป็น14คน/วัน (สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย, 2561)ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมาพบแพทย์เมื่อระยะของโรคมะเร็งนั้นได้เข้าสู่ในระยะลุกลามแล้ว การรักษาจึงเป็นไปได้ยาก ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูง ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทางร่างกาย และจิตใจของผู้ป่วยและญาติ อีกทั้งทำให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจตามมาเนื่องมาจากไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ส่งผลทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัวลดลงโรคมะเร็งปากมดลูกสามารถรักษาให้หายขาดได้ถ้าพบผู้ป่วยในระยะเริ่มแรกและรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 30-40 สามารถป้องกันได้ด้วยการลดพฤติกรรมเสี่ยง และหากได้รับการตรวจคัดกรองที่เหมาะสมจะสามารถป้องกันและหากตรวจพบได้รับการรักษาได้ทันท่วงที หากตรวจคัดกรอง 3 ปีติดต่อกันและผลการตรวจปกติสามารถลดการตรวจลงเหลือตรวจทุก 2-3 ปีดังนั้นการให้สตรีมีความรู้เรื่องอันตรายของโรคมะเร็งปากมดลูกและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น สร้างความตระหนักและทำให้เห็นความสำคัญของการตรวจค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรกก็จะทำให้อัตราการป่วยและอัตราการตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกลดลง
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย ได้ดำเนินงานการป้องกันและคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมายมาอย่างต่อเนื่องทุกปีสตรีอายุ 30-60 ปีในเขตรับผิดชอบ มีจำนวน 515คน มีผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูก จำนวน 1 ราย อัตราความครอบคลุมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2558 – 2561 เท่ากับ ร้อยละ 70.87 ซึ่งยังต้องดำเนินการคัดกรองในกลุ่มที่ยังไม่เคยได้รับการคัดกรองในช่วงระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา ให้ได้ร้อยละ 80 ภายในปีงบประมาณ 2562 ตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ ลดอัตราการป่วยและอัตราการตายด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกให้น้อยลง รู้เร็ว รักษาเร็ว ลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย จึงจัดโครงการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูก ปี 2562 ขึ้น เป็นการทำงานเชิงรุกเพื่อสร้างองค์ความรู้ และกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายเห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและตรวจคัดกรองอย่างต่อเนื่อง เป็นการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง ป้องกันและควบคุมการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สตรีอายุ 30-60 ปี มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกและมารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

1.สตรีอายุ 30-60 ปี ได้รับความรู้โรคมะเร็งปากมดลูก และมีความครอบคลุมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 80 ในช่วงระยะเวลา 5 ปี

412.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 515
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2019

กำหนดเสร็จ 31/07/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.สำรวจกลุ่มเป้าหมายและจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้โรคมะเร็งปากมดลูก

ชื่อกิจกรรม
1.สำรวจกลุ่มเป้าหมายและจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้โรคมะเร็งปากมดลูก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าอบรม จำนวน 515คน X 1 มื้อ X 25 บาท รวมเป็นเงิน 12,875บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.สตรีอายุ 30 - 60 ปี มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องมะเร็งปากมดลูกตามเป้าหมาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12875.00

กิจกรรมที่ 2 ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสตรีอายุ 30-60 ปี

ชื่อกิจกรรม
ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสตรีอายุ 30-60 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสตรีอายุ 30-60 ปี หมู่ที่ 2, 3, 4, 5, 6 และ 8
ไม่มีงบประมาณการดำเนินงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.สตรีอายุ 30 - 60 ปี มาการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยวิธี Pap Smear ตามเป้าหมาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ส่งต่อและติดตามเยี่ยมในรายผลผิดปกติ

ชื่อกิจกรรม
ส่งต่อและติดตามเยี่ยมในรายผลผิดปกติ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ส่งต่อและติดตามเยี่ยมสตรีอายุ 30 - 60 ปี ที่รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมีผลผิดปกติ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สตรีอายุ 30 - 60 ปี ที่ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมีผลผิดปกติได้รับการส่งต่อและติดตามเยี่ยมทุกราย ไม่มีงบประมาณการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,875.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.สตรีอายุ 30-60 ปี มีความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและตระหนักการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเพิ่มมากขึ้น
2.ลดอัตราการป่วยและอัตราการตายด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก ในสตรีอายุ 30-60 ปี


>