กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

ชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย

1. ร้อยตรี สุริยา นวลเต็ม
2. นางละเอียด สุวรรณชาตรี
3. นางอุไร จันทร์แก้ว
4. นางวรรณา ท้องด้วง
5. นายชม หนูชาย

ม.2,3,4,5,6 และ8 ต.โคกชะงาย อ เมือง จ พัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย มีประชากรผู้สูงอายุทั้งหมด 1,022 คน ในปี 2561ที่ผ่านมา ได้ดำเนินการ ประเมินผู้สูงอายุในพื้นที่รับผิดชอบ พบว่า เป็นผู้สูงอายุที่ติดสังคมมากที่สุด ร้อยละ 47.46 รองลงมา ติดบ้าน ร้อยละ 6.36 และติดเตียง ร้อยละ 0.79

 

4.00

กระทรวงสาธารณสุขมีบทบาทในการดำเนินงานดูแลสุขภาพของประชาชนให้ครอบคลุมใน 4 มิติ คือ ส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟู โดยที่ประชาชนแต่กลุ่มจะได้รับการดูแลที่แตกต่างกัน ตามสภาวะสุขภาพที่เกิดปัญหาประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ภายในปี 2564 ปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุมีทั้งปัญหาสุขภาพทางด้านร่างกายเกิดการเจ็บป่วย พิการ อัมพฤกษ์ อัมพาตและผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ หรือที่เรียกว่า ภาวะพึงพิงปัญหาสุขภาพจิต เกิดภาวะซึมเศร้า ไม่อยากเข้าร่วมสังคม ที่เรียกว่า ติดบ้าน ปัญหาผู้สูงอายุเป็นปัญหาที่มีปัจจัยมาจากสุขภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมที่บ้านและในชุมชน และระบบการให้บริการ การไม่ได้รับบริการตามความจำเป็น การแก้ไขปัญหาต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อช่วยพัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545-2564) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่พ.ศ. 2552 ขึ้น
ยุทธศาสตร์ที่ 3 มาตรการที่ 4.2 กล่าวถึงการจัดตั้งและพัฒนาบริการทางสุขภาพและทางสังคมรวมทั้งระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชนที่สามารถเข้าถึงผู้สูงอายุได้มากที่สุด เน้นการบริการถึงบ้านและประสานกันระหว่างบริการทางสุขภาพและทางสังคม เน้นให้มีการสนับสนุนการดูแลระยะยาว ระบบประคับประคอง สนับสนุนให้ภาคีเครือข่าย ญาติ ที่ดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ มีความรู้ ความสามารถในการดูแลสุขภาพทางกายและสังคมที่ถูกต้อง
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย มีประชากรผู้สูงอายุทั้งหมด 531 คน ในปี 2561มีผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง 253 คน คิดเป็นอัตราป่วย 47.64 โรคเบาหวาน จำนวน 77 คน คิดเป็นอัตราป่วย 14.50โรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 32 คน คิดเป็นอัตราป่วย 6.03 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงายได้ดำเนินการ ประเมินผู้สูงอายุในพื้นที่รับผิดชอบ พบว่า เป็นผู้สูงอายุที่ติดสังคมมากที่สุด ร้อยละ 47.46 รองลงมา ติดบ้าน ร้อยละ6.36และติดเตียง ร้อยละ 0.79 ที่น่ากังวล คือ แนวโน้มมีผู้สูงอายุติดเตียงเพิ่มขึ้นทุกปี จากการดำเนินงานที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่สาธารณสุของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย มีภาระงานเพิ่มมากขึ้น ทำให้ขาดความครอบคลุมและความต่อเนื่องในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง ในชุมชน จึงได้จัดโครงการพัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนขึ้น โดยการพัฒนาศักยภาพของผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver)ผู้ดูแลและญาติ รวมทั้งภาคีเครือข่าย ให้สามารถช่วยกันดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนได้ครอบคลุมทั้ง 4 มิติ คือ ด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ อีกทั้งยังเป็นการพัฒนารูปแบบกระบวนการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้านที่เกิดจากคนในชุมชนดูแลช่วยเหลือกันและไม่ทอดทั้งกันอีกด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้ดูแลสูงอายุ ญาติ เครือข่าย ให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุที่ถูกต้อง

จำนวนผู้สูงอายุในชุมชนได้รับการดูแลสุขภาพจากบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความสามารถการดูแลผู้สูงอายุ

531.00
2 เพื่อติดตามเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุที่มีภาวะติดบ้าน และติดเตียง

ร้อยละผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียงได้รับการเยี่ยมบ้านตามเกณฑ์

100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ญาติ ภาคีเครือข่าย 100
ผู้ดูแลผู้สูงอายุ(Care Giver) 30

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2019

กำหนดเสร็จ 31/07/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. อบรมฟื้นฟูความรู้ผู้ดูแล(Care Giver)

ชื่อกิจกรรม
1. อบรมฟื้นฟูความรู้ผู้ดูแล(Care Giver)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คน ๆ ละ 50 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คน ๆ ละ 25 บาท จำนวน4 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท 3.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 วัน ๆ ละ 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 7,200 บาท 4.ค่าวัสดุในการอบรม5,000 บาท ประกอบด้วย
4.1 เครื่องชั่งน้ำหนัก จำนวน 3 เครื่อง (ภาวะโภชนาการ)
4.2 ไฟฉาย(ตรวจสุขภาพช่องปาก) จำนวน 15 อัน 4.3 สายวัดรอบเอว (ตรวจภาวะอ้วนลงพุง) จำนวน 15 ชิ้น
4.4 ไวนิล 1 แผ่น รวมเป็นเงินทั้งหมด 18,200 บาท ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ดูแลผู้สูงอายุได้รับความรู้การฟื้นฟูดูแลผุ้สูงอายุ จำนวน 30 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18200.00

กิจกรรมที่ 2 2. อบรมให้ความรู้ผู้ดูแล ญาติ และภาคีเครือข่าย

ชื่อกิจกรรม
2. อบรมให้ความรู้ผู้ดูแล ญาติ และภาคีเครือข่าย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คน ๆ ละ 50 บาทจำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 5,000 บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คน ๆ ละ 25บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 5,000 บาท 3.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 คน ๆ ละ 2 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท 3.ค่าวัสดุในการอบรม 2,000 บาท ประกอบด้วย 3.1ไวนิล 1 แผ่น จำนวน 1,000 บาท
3.2สมุดบันทึก จำนวน 100 เล่ม เล่มละ 10 บาท เป็นเงิน1,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งหมด 15,600 บาท ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผุ้ดูแล ญาติ เครือข่ายที่ดูแลผู้สูงอายุได้รับความรู้การดูแลสุขภาพผุ้สูงอายุที่ถูกต้อง จำนวน 100 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15600.00

กิจกรรมที่ 3 3.เยี่ยมบ้านผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง

ชื่อกิจกรรม
3.เยี่ยมบ้านผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 20 คน ๆ ละ 50 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 1,000 บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คน ๆ ละ 25บาทจำนวน2 มื้อ เป็นเงิน 1,000 บาท 3.ค่าวัสดุเยี่ยมบ้าน 8,000 บาท จำนวน 16 ชุดๆละ 500 บาท ประกอบด้วย นม โลชั่น ผ้าขนหนู ยาสระผม ยาสีฟัน และแปรงสีฟัน รวมเป็นเงินทั้งหมด 10,000 บาท ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผุ้สูงอายุที่มีภาวะติดเตียงได้รับการเยี่ยมบ้าน และให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพที่ถูกต้องจากทีมเยี่ยมบ้าน ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 43,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจและทักษะในการดูแลผู้สูงอายุสามารถดูแลผู้สูงอายุได้อย่างปลอดภัยมีประสิทธิภาพ ตามหลักวิชาการ และ ผู้สูงอายุได้รับการดูแล /มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น


>