กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในหญิงตั้งครรภ์เกี่ยวกับการฝากครรภ์ การดูแลขณะตั้งครรภ์ และหลังคลอด หมู่ที่ 1 - 4 และหมู่ที่ 8 ตำบลดุซงญอ

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดุซงญอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในหญิงตั้งครรภ์เกี่ยวกับการฝากครรภ์ การดูแลขณะตั้งครรภ์ และหลังคลอด หมู่ที่ 1 - 4 และหมู่ที่ 8 ตำบลดุซงญอ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดุซงญอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดุซงญอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดุซงญอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การตั้งครรภ์เป็นระยะพัฒนาการที่สำคัญของครอบครัว การตั้งครรภ์ทำให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากทั้งในด้านกายวิภาค ชีวเคมี และสรีรวิทยาการเปลี่ยนแปลงนี้ดำเนินไปตลอดการตั้งครรภ์และร่างกายจะมีการปรับตัวอย่างมากมายกับ การเปลี่ยนแปลงของระบบต่างๆของร่างกายที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว สัมพันธ์กับปัจจัยต่างๆ เช่น สภาพแวดล้อม เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการคลอด นอกจากนี้หญิงตั้งครรภ์ยังต้องปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงทางจิตสังคม เช่น บทบาทหน้าที่ ภาพลักษณ์ สัมพันธภาพกับครอบครัว และที่สำคัญครอบครัวต้องมีส่วนร่วมในการปรับตัวและการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในขณะตั้งครรภ์
เป้าหมายสูงสุดของงานอนามัยแม่และเด็กที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย โดยมีกลวิธีที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ได้แก่ การให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์และครอบครัวเกี่ยวกับการดูแลขณะตั้งครรภ์ ขณะเจ็บครรภ์คลอด และหลังคลอด การฝากครรภ์ การบริโภค การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค การออกกำลังกาย และ การพักผ่อนเพื่อผ่อนคลาย จากการดำเนินงานที่ผ่านมา ได้ปรับกลยุทธ์การดำเนินงานให้เหมาะสมกับพื้นที่และเร่งรัดการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็ก โดยเฉพาะอัตราการฝากครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ก่อนอายุครรภ์ ๑๒ สัปดาห์ปี ๒๕๕๗ - ๒๕๖๒คลอบคลุมร้อยละ ๘๐,๘๙.๘๐,๘๒.๓๔ และ ๗๖.๙ ตามลำดับซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด (ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๖๐)ปีงบประมาณ๒๕๖๑การฝากครรภ์ครบ ๕ ครั้งตามเกณฑ์คุณภาพร้อยละ ๘๐.๐๐ (ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๖๐ การคลอดในสถานบริการคลอบคลุมร้อยละ ๑๐๐เป้าหมายร้อยละ ๙๕ภาวะซีดหน้าห้องคลอด ร้อยละ ๗.๐ เป้าหมายไม่เกินร้อยละ ๑๐จากผลการดำเนินงานจะเห็นได้ว่าตัวชี้วัดเพิ่มขึ้นตามลำดับดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์สามารถดูแลตนเองในขณะตั้งครรภ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ ได้ตระหนักถึงความสำคัญ ในการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ และหลังคลอด ๒.เพื่อส่งเสริมให้สามีและญาติมีส่วนร่วมในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ ในขณะตั้งครรภ์ และหลังคลอดให้เกิดความรักความผูกพันในครอบครัวมากขึ้น ๓.เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการค้นหาหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ และส่งต่อเพื่อฝากครรภ์ก่อน ๑๒ สัปดาห์

๓.๑.  หญิงตั้งครรภ์และสมีหรือญาติมีความรู้ และ เห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์มากขึ้น
            ๓.๒. หญิงตั้งครรภ์รายใหม่มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์  ๑๒  สัปดาห์  ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐             ๓.๓. หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ ๕ ครั้งตามเกณฑ์คุณภาพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐             ๓.๔. หญิงตั้งครรภ์คลอดในสถานบริการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๐             ๓.๕. หญิงตั้งครรภ์เกิดภาวะซีดหน้าห้องคลอด ไม่เกินร้อยละ ๑๐             ๓.๖. หญิงหลังคลอดได้รับบริการเยี่ยมหลังคลอดตามเกณฑ์มาตรฐาน ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๐

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 222
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์ และสามีหรือญาติ ตามหลักสูตรโรงเรียนพ่อแม่

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์ และสามีหรือญาติ ตามหลักสูตรโรงเรียนพ่อแม่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าวัสดุในการอบรมให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์ในเขตตำบลดุซงญอ เช่น กระดาษ สมุด ดินสอ ปากกา คู่มือสื่อเรียนรู้ต่าง ๆ จำนวน 222 ชุด 130 บาท เป็นเงิน 28,860 บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการอบรมให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์และสามีหรือญาติตามหลักสูตรโณงเรียนพ่อแม่ จำนวน 222 คน จำนวน 1 มื้อ ๆ ละ 11 บาท เป็นเงิน 2,442 บาท
  3. ค่าวิทยากรในการอบรมให้วามรู้หญิงตั้งครรภ์ สามี และญาติ จำนวน 2 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
31902.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้คู่สมรสใหม่

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้คู่สมรสใหม่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการอบรมให้ความรู้คู่สมรสใหม่ จำนวน 20 คน จำนวน 1 มื้อ ๆ ละ 11 บาท เป็นเงิน 220 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
220.00

กิจกรรมที่ 3 ประชาสัมพันธ์โครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์โครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าจัดทำป้ายไวนิลโครงการขนาด 1*2 เมตร จำนวน 1 ป้าย ๆ ละ 700 บาท เป็นเงิน 700 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 32,822.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. หญิงตั้งครรภ์และสามี มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลตนเองในขณะตั้งครรภ์ได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และเกิดความรักผูกพันในครอบครัวมากขึ้น
๒. หญิงหลังคลอดได้รับบริการเยี่ยมหลังคลอดและได้รับความรู้ในการดูแลตนเองหลังคลอด
ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
๓. หญิงตั้งครรภ์และทารกมีความปลอดภัย


>