กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะนังดาลำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสุขใจผู้สูงอายุ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะนังดาลำ

นายอับดุลการิม กะมะ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.มะนังดาลำ

องค์การบริหารส่วนตำบลมะนังดาลำ

อาคารอเนกประสงค์ อบต.มะนังดาลำ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

คุณภาพชีวิตเป็นเป้าหมายหลักของสังคมคือประชาชนมีสุขภาพอนามัยดีทั้งร่างกายและจิตใจทุกเพศ ทุกวัยจากการศึกษาข้อมูลพบว่าประชากรผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งด้านปริมาณและสัดส่วนต่อประชากร กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดนโยบายให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพแข็งแรงตามวัย ขยายโอกาสดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า ดังนั้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมืออย่างจริงจังและต่อเนื่องในการเตรียมความพร้อมให้ผู้สูงอายุทุกคนตลอดจนบุคคลในครอบครัวและชุมชน
เนื่องจากจำนวนและสัดส่วนประชากรสูงอายุมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นเช่นนี้เนื่องมาจากการพัฒนาด้านสาธารณสุขและทางการแพทย์ทำให้อัตราการตายลดลงผู้สูงอายุจึงมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น แต่ผู้สูงอายุก็ยังได้รับผลกระทบจากการเสื่อมถอยของร่างกายตามวัยรวมทั้งผลของโรคเรื้อรังหรืออุบัติเหตุจึงนำไปสู่ความถดถอยของร่างกาย เกิดภาวะพึ่งพาไม่สามารถช่วยเหลือตังเองได้หรือช่วยเหลอตนเองได้น้อยหรืออาจมีอาการสมองเสื่อม ทำให้ต้องอาศัยพึ่งพาเป็นภาระแก่ผู้ดูแลเกิดภาวะทุพพลภาพในที่สุด สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตอยู่อย่างไม่มีความสุขผู้สูงอายุจึงควรให้ความสนใจดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงมีคุณภาพชีวิตที่ดี ป้องกันการเกิดโรคต่างๆ รวมทั้งฟื้นฟูสุขภาพเมื่อมีภาวะของโรคและควบคุมให้ภาวะของโรคเหล่านั้นมีอาการคงที่ ไม่กำเริบรุนแรงหรือเสื่อมถอยมากกว่าเดิม จะทำให้ผู้สูงอายุมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่าสามารถทำประโยชน์ให้แก่สังคม และมีความสุขในปั้นปลายของชีวิต
กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.มะนังดาลำ จึงได้จัดทำโครงการ ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุประจำปี 2562 ขึ้น เพื่อให้ ผู้สูงอายุ ได้มีองค์ความรู้และทักษะการดูแลตนเอง และอยู่อย่างมีคุณภาพ และได้รับกำลังใจจากชุมชนโดยการเยี่ยมบ้านส่งผลให้ มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่ผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเองได้ ข้อที่ 2. เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพและแก้ปัญหาด้านสุขภาพด้วยตนเอง ข้อที่ 3. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีการพบปะ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ข้อที่ 4. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการเยี่ยมบ้าน

1.ผู้สูงอายุชุมชนมะนังดาลำสามารถดูแลตนเองได้ 2. ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพและแก้ปัญหาด้านสุขภาพด้วยตนเอง 3.ผู้สูงอายุสามารถปรับตนเองเข้ากับสังคมได้ 4.ผู้สูงอายุได้รับการเยี่ยมบ้านครบทุกบ้าน

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 200
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 06/11/2018

กำหนดเสร็จ 06/02/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 บรรยายโดยวิทยากรวันที่ 6 พฤศจิกายน 2562 เวลา 09.00 น. – 10.45 น. ตรวจสุขภาพทั่วไปเวลา 11.00 น. – 12.00 น. ให้ความรู้เกี่ยวกับคำว่าผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
บรรยายโดยวิทยากรวันที่ 6 พฤศจิกายน 2562 เวลา 09.00 น. – 10.45 น. ตรวจสุขภาพทั่วไปเวลา 11.00 น. – 12.00 น. ให้ความรู้เกี่ยวกับคำว่าผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ค่าอาหารกลางวัน ๒๐๐ คน x ๔ มื้อ x ๕๐ บาท    เป็นเงิน  ๔๐,๐๐๐ บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๒๐๐ คน x ๘ มื้อ x ๒๕ บาท เป็นเงิน ๔๐,๐๐๐ บาท
  • ค่าสมนาคุณวิทยากร  ๑ คน x ๒๐ ชั่วโมง x ๖๐๐ บาท    เป็นเงิน  ๑๒,๐๐๐ บาท
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ  ขนาด ๑ x ๓ เมตร  จำนวน ๑ ผืน  เป็นเงิน  ๙๐๐ บาท
  • ค่าวัสดุ เครื่องเขียน และอุปกรณ์ จำนวน ๒๐๐ ชุด x ๒๕ บาท เป็นเงิน ๕,๐๐๐บาท
  • ค่าเช่าโต๊ะ ๒ ตัว x ๑๐ บาท
    เป็นเงิน ๔๐ บาท x ๔ วัน
  • ค่าเช่าเก้าอี้ ๒๐๐ ตัว x ๕ บาท x ๔ วัน เป็นเงิน ๔,๐๐๐ บาท
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 0.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้สูงอายุมีความรู้ เจตคติ ทักษะและการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการดูแลตนเองได้ถูกต้อง
2.ผู้สูงอายุมีการปรับตัวได้ดีขึ้น สนใจเข้ากลุ่มร่วมกิจกรรมในชมรมอย่างต่อเนื่อง
3.ผู้สูงอายุมีสุขร่างกายแข็งแรงไม่ป่วยด้วยโรคหรือได้รับอุบัติเหตุที่เกิดจากการปฏิบัติตนที่ไม่ถูกต้อง
4.เกิดความเข้าใจและสามัคคีระหว่างผู้สูงอายุด้วยกัน
5.ผู้สูงอายุ และผู้พิการ ติดเตียง ได้รับการเยี่ยมบ้านเพื่อประเมินสภาวะสุขภาพ


>