แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา รหัส กปท. L7452
อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2562 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ในยุคสมัยที่คนเราเร่งรีบ รักความสะดวกสบาย หลายคนคงเคยชินกับการรับประทานอาหารกล่อง อาหารสำเร็จรูป เพราะสะดวก รวดเร็ว ประหยัด หาซื้อได้ง่าย โดยลืมคำนึงถึงสุขภาพ และด้วยสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ สินค้าอุปโภคบริโภคมีราคาแพงขึ้น ทำให้พ่อค้าแม่ขายต้องปรับตัวหาวิถีทางที่จะลดต้นทุน เพื่อให้ได้กำไรที่มากขึ้น อีกทั้งคนส่วนใหญ่ เน้น “อิ่ม-ถูก-เร็ว” ส่งผลให้อาหารประเภทข้าวกล่องแกงถุง กลายเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆที่ผู้คนให้ ความสนใจในชีวิตประจำวัน โดยละเลยอันตรายของสุขภาพที่แฝงมากับวัสดุที่ใช้บรรจุอาหารและความสะอาดของ อาหาร
โฟมเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาใช้บรรจุอาหารผลิตมาจากวัสดุพอลิเมอร์ชนิดพอลิสไตรีน(polystyrene) เมื่อนำมาใช้บรรจุอาหารร้อนและอาหารทอด น้ำมันจากอาหารจะเกิดปฏิกิริยากับโฟม ทำให้เกิดสารอันตรายปะปนออกมากับอาหาร สารเหล่านี้ ได้แก่ สารสไตรีน (styrene) และสารเบนซิน (benzene) และจากประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 275 (พ.ศ. 2548) เรื่อง กำหนดคุณภาพมาตรฐานของภาชนะบรรจุที่ทำจากพลาสติก ซึ่งได้กำหนดปริมาณ สารสไตรีนในภาชนะบรรจุอาหาร โดยให้มีได้ไม่เกิน 5,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (กรณีใช้งานที่อุณหภูมิสูงกว่า 100 องศาเซลเซียส ปริมาณสารสไตรีนต้องไม่เกินเกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) มีการจัดทำโครงการรณรงค์ ลด ละ เลิกการใช้กล่องโฟมบรรจุอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย แต่ก็ยังไม่ได้ผลมากนัก ร้านอาหารตามสั่งทั่วไปก็ยังคงใช้กล่องโฟมในการบรรจุอาหาร เนื่องจากมีน้ำหนักเบา เป็นฉนวนทนความร้อน ใช้ง่ายและราคาถูก ดังนั้นผู้บริโภคต้องตระหนักและดูแลสุขภาพของตนเอง โดยหยุดบริโภคอาหารจากร้านค้าที่ผู้ประกอบการใช้กล่องโฟมบรรจุอาหาร แล้วหันมาบริโภคอาหารที่บรรจุในภาชนะทดแทนโฟมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ซึ่งปัจจุบันได้มีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ เช่น ชานอ้อย เยื่อไผ่ มันสำปะหลัง ซึ่งทนต่อความร้อน ใช้กับอาหารที่มีไขมัน และอุ่นอาหารในไมโครเวฟได้ ย่อยสลายเร็วภายใน 45 วันก็ย่อยสลายหมดแล้ว แตกต่างจากโฟมที่ต้องใช้เวลามากกว่า 450 ปี จึงจะย่อยสลายได้หมด หรือใช้ปิ่นโตใส่อาหาร ซึ่งอาจไม่สะดวกในการพกพาแต่สามารถล้างทำความสะอาดแล้วนำกลับมาใช้ซ้ำได้
จากการสำรวจปริมาณขยะตั้งแต่ปี 2552-2556 ของกรมควบคุมมลพิษ พบว่า ขยะประเภทโฟมมีปริมาณเพิ่ม
ขี้นอย่างต่อเนื่อง จาก 34 ล้านใบ/วัน เป็น 61 ล้านใบ/วัน หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1 ใบ/คน/วัน โดยเฉพาะในเขตเมืองที่มีประชากรหนาแน่น จะพบว่ามีขยะประเภทโฟมมากกว่าปกติ ซึ่งโฟมเป็นขยะที่มีความคงทน และใช้เวลาในการย่อยสลายประมาณ 450 ปี ซึ่งสร้างปัญหาในการกำจัด เนื่องจากต้องใช้พลังงานต้นทุนการกำจัดสูง เปลืองพื้นที่ฝังกลบ และขบวนการกำจัดโฟม อาจทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน และภาวะโลกร้อนได้อีกทางหนึ่ง จากข้อมูล ร้าน/แผงจำหน่ายอาหารภายในโรงเรียนและรอบๆบริเวณโรงเรียนในโรงเรียนคณะราษฎรบำรุง จังหวัดยะลา จากการสำรวจพบว่า ร้านค้าจำหน่ายอาหารไม่ใช้โฟม 100% แต่ยังพบว่านักเรียนบางส่วนยังใช้โฟม ซึ่งซื้อจากร้านอาหารนอกโรงเรียนมารับประทาน
โรงเรียนคณะราษฎรบำรุง จังหวัดยะลาเล็งเห็นความสำคัญที่จะจัดการอันตรายจากโฟมที่ใช้บรรจุอาหารในโรงเรียนและบริเวณรอบๆโรงเรียน ในการเลิกใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร และรณรงค์ ลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร ในโรงเรียนเขตพื้นที่บริการของเทศบาลนครยะลา ให้ได้ในระดับที่น่าพอใจ และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายด้านอาหารปลอดภัยของเทศบาล รัฐ และเป็นประโยชน์แก่ประชาชน ในการลดความเสี่ยงจากการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย จึงได้จัดทำโครงการฯ นี้ขึ้น
-
1. 1.เพื่อรณรงค์ให้ผู้ประกอบอาหารและผู้บริโภคในโรงเรียน ตระหนักถึงอันตรายจากการใช้โฟมบรรจุอาหารตัวชี้วัด : 1.ผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 1,150 คน 2.ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เรื่องอันตรายจากการใช้โฟมบรรจุอาหารขนาดปัญหา เป้าหมาย 80.00
-
2. 2.เพื่อให้ผู้ประกอบการค้าอาหารในโรงเรียน และผู้บริโภค ลด ละ เลิก การใช้โฟมบรรจุอาหารตัวชี้วัด : 1.ร้อยละ 80 ของผู้จำหน่ายอาหารและผู้บริโภคในโรงเรียนลดการใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหารขนาดปัญหา เป้าหมาย 80.00
-
3. 3.เพื่อให้ผู้ประกอบการค้าอาหารในโรงเรียน เลือกใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพทดแทนโฟมตัวชี้วัด : 1.ร้อยละ 100 ของผู้จำหน่ายอาหารในโรงเรียนปลอดโฟมขนาดปัญหา เป้าหมาย 100.00
-
4. 4.เพื่อลดปริมาณขยะจากกล่องโฟมในโรงเรียนตัวชี้วัด : 1.ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจไม่น้อยกว่าร้อยละ 80ขนาดปัญหา เป้าหมาย 80.00
- 1. กิจกรรมที่ 1 จัดประชุม ชี้แจงเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบและผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 50 คนรายละเอียด
1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 50 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,250 บาท รวมเป็นเงิน 1,250 บาท (เงินหนึ่งพันสองร้อยห้าสิบบาทถ้วน)
งบประมาณ 1,250.00 บาท - 2. กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมให้ความรู้ ในกลุ่มเป้าหมาย ผู้ประกอบการค้าอาหาร ร้าน และแผงลอยจำหน่ายอาหาร จำนวน 50 คน และครู อาจารย์จำนวน 100 คน รวมเป็น 150 คน ระยะเวลาครึ่งวันรายละเอียด
1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 150 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 3,750 บาท 2.ค่าสมนาคุณวิทยากรจำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท 3.ค่าวัสดุเครื่องเขียนและอุปกรณ์ เป็นเงิน 3,750 บาท 4.ค่าจ้างถ่ายเอกสาร ค่าจัดทำเอกสารสิ่งพิมพ์ เป็นเงิน 1,000 บาท รวมเป็นเงิน 10,300 บาท (เงินหนึ่งหมื่นสามร้อยบาทถ้วน)
งบประมาณ 10,300.00 บาท - 3. กิจกรรมที่ 3 จัดอบรมให้ความรู้ ในกลุ่มเป้าหมายนักเรียนจำนวน 1,000 คน แบ่งเป็นสองรุ่น ๆ ละครึ่งวันรายละเอียด
1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 1,000 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 25,000 บาท 2.ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 2 รุ่น ๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท
เป็นเงิน 3,600 บาท 3.ค่าวัสดุ เครื่องเขียนและอุปกรณ์ เป็นเงิน 20,000 บาท รวมเป็นเงิน 48,600 บาท (เงินสี่หมื่นแปดพันหกร้อยบาทถ้วน)งบประมาณ 48,600.00 บาท - 4. กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์รายละเอียด
1.ค่าสื่อประชาสัมพันธ์ (ไวนิล) จำนวน 5 ผืน ๆ ละ 1,000 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท รวมเป็นเงิน 5,000 บาท (เงินห้าพันบาทถ้วน)
งบประมาณ 5,000.00 บาท - 5. กิจกรรมที่ 5 การประกวดเพลงรณรงค์ ลด ละ เลิก ใช้ ภาชนะโฟมรายละเอียด
1.ค่าตอบแทนกรรมการตัดสินการประกวดเพลงรณรงค์ ลด ละ เลิก ใช้ภาชนะโฟม จำนวน 3 คน ๆ ละ 400 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท 2.เงินรางวัลการประกวดเพลงรณรงค์ ลด ละ เลิก ใช้ภาชนะโฟม 6 รางวัล ดังนี้ - รางวัลที่ 1 จำนวนเงิน 1,000 บาท - รางวัลที่ 2 จำนวนเงิน 800 บาท - รางวัลที่ 3 จำนวนเงิน 500 บาท - รางวัลชมเชย 2 รางวัล ๆ ละ 300 บาท รวมเป็นเงิน 600 บาท เป็นเงิน 2,900 บาท รวมเป็นเงิน 4,100 บาท (เงินสี่พันหนึ่งร้อยบาทถ้วน)
งบประมาณ 4,100.00 บาท - 6. กิจกรรมที่ 6 การประกวดละครสั้นรณรงค์ ลด ละ เลิก ใช้ภาชนะโฟมรายละเอียด
1.ค่าตอบแทนกรรมการตัดสินการประกวดละครสั้น รณรงค์ ลด ละ เลิก ใช้ภาชนะโฟม จำนวน 3 คน ๆ ละ 400 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท 2.เงินรางวัลการประกวดละครสั้นรณรงค์ ลด ละ เลิก ใช้ภาชนะโฟม 6 รางวัล ดังนี้ - รางวัลที่ 1 จำนวนเงิน 1,000 บาท - รางวัลที่ 2 จำนวนเงิน 800 บาท - รางวัลที่ 3 จำนวนเงิน 500 บาท - รางวัลชมเชย 2 รางวัล ๆ ละ 300 บาท รวมเป็นเงิน 600 บาท เป็นเงิน 2,900 บาท รวมเป็นเงิน 4,100 บาท (เงินสี่พันหนึ่งร้อยบาทถ้วน)
งบประมาณ 4,100.00 บาท - 7. กิจกรรมที่ 7 กิจกรรมประกวดการจัดป้ายนิเทศให้ความรู้เกี่ยวกับการรณรงค์ ลด ละ เลิก ใช้ภาชนะโฟมรายละเอียด
1.ค่าตอบแทนกรรมการตัดสินการจัดป้ายนิเทศให้ความรู้เกี่ยวกับการรณรงค์ ลด ละ เลิก ใช้ภาชนะโฟม จำนวน 3 คน ๆ ละ 400 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท 2.เงินรางวัลการประกวดละครสั้นรณรงค์ ลด ละ เลิก ใช้ภาชนะโฟม 6 รางวัล ดังนี้ - รางวัลที่ 1 จำนวนเงิน 1,000 บาท - รางวัลที่ 2 จำนวนเงิน 800 บาท - รางวัลที่ 3 จำนวนเงิน 500 บาท - รางวัลชมเชย 2 รางวัล ๆ ละ 300 บาท รวมเป็นเงิน 600 บาท เป็นเงิน 2,900 บาท 3.ค่าวัสดุอุปกรณ์ เป็นเงิน 10,000 บาท รวมเป็นเงิน 14,100 บาท (เงินหนึ่งหมื่นสี่พันหนึ่งร้อยบาทถ้วน)
งบประมาณ 14,100.00 บาท
ตั้งแต่ วันที่ 1 กรกฎาคม 2561 ถึง 31 มีนาคม 2562
รวมงบประมาณโครงการ 87,450.00 บาท
- ผู้ประกอบอาหารและผู้บริโภคในโรงเรียน ตระหนักถึงอันตรายจากการใช้โฟมบรรจุอาหาร
- ผู้ประกอบการค้าอาหารในโรงเรียน และผู้บริโภค ลด ละ เลิก การใช้โฟมบรรจุอาหาร
- ผู้ประกอบการค้าอาหารในโรงเรียน เลือกใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพทดแทนโฟม
- ลดปริมาณขยะจากกล่องโฟมในโรงเรียน
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา รหัส กปท. L7452
อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา รหัส กปท. L7452
อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................