กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.หัวดอน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการปลูกและบริโภคผักปลอดสารเคมี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.หัวดอน

อบต.หัวดอนและผู้นำชุมชนทุกหมู่บ้าน

ม. 1 - ม. 11 ต.หัวดอน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ (ผัก ผลไม้ ไขมัน ข้าว แป้ง เนื้อสัตว์) บริโภคอย่างเพียงพอ

 

60.00
2 ร้อยละของเกษตรกรที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือด เกินมาตรฐานความปลอดภัย

 

5.00
3 ร้อยละของประชากร(อายุมากกว่า 15 ปี) ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ลงพุง

 

30.00
4 ร้อยละของเด็ก 6-14 ปีที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ลงพุง

 

10.00

ปัจจุบันผักที่นำมาใช้ปรุงอาหารให้กับเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนจงเป็นผักที่จัดซื้อจากท้องตลาด ซึ่งผักส่วนใหญ่มีการปนเปื้อนสารเคมี โดยปกติก่อนการปรุง แม่ครัวก็จะล้างทำความสะอาดอย่างดี แต่อย่างไรก็ตามยังไม่สามารถชะล้างสารตกค้างออกได้ทั้งหมด ส่งผลให้เด็กในวัยก่อนเรียนอยู่ในภาวะความเสี่ยงทางด้านสุขภาพอย่างน่าเป็นห่วงทั้งนี้เนื่องจากเด็กบริโภคพืชผักและผลไม้ที่ไม่ปลอดภัยทำให้มีการสะสมสารพิษภายในร่างกายอาจก่อให้เกิดภาวะความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและการเกิดโรคชนิดต่างๆ ได้ซึ่งเป็นการบั่นทอนทรัพยากรมนุษย์ระยะยาวหากเด็กรับประทานผักมีสารเคมีปนเปื้อน

แม้ว่าในปัจจุบันจะมีการรณรงค์ส่งเสริมในเรื่องการลดละเลี่ยงเลิกการใช้สารพิษในการเกษตรแต่เกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงชินกับรูปแบบเดิมโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยทางด้านสุขภาพของผู้บริโภคการปลูกพืช ผักสวนครัวที่ไร้สารพิษตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทำให้ผู้บริโภคมีสุขภาพร่างกายที่ดีสมาชิกในครอบครัวมีกิจกรรมร่วมกันใช้เป็นอาหารในครัวเรือนลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนพึ่งพาตนเองและสามารถดำเนินชีวิตให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน ลดความเสี่ยงจากสารเคมีสะสมในร่างกาย เพื่อให้สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง จากการได้รับประทานผักปลอดสารพิษ ในปริมาณที่เพียงพอ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนจง สังกัดกองการศึกษาฯ องค์การบริหารส่วนตำบลนาหม่อม มีเด็กใน ศพด.จำนวน46 คน มาจาก 43 ครัวเรือนครัวเรือนเป็นจุดเริ่มต้นของภาวะโภชนาการที่ดี นำมาสู่สุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง มีพัฒนาการสมวัยจึงจัดทำโครงการส่งเสริมการปลูกผักสวนครัว รั้วกินได้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้เด็กได้รับประทานผักปลอดสารพิษ และศูนย์พัฒนาเด็กจะเป็นผู้กระตุ้นเตือน สร้างความตระหนักให้ครัวเรือนเห็นถึงความสำคัญของการบริโภคอาหารปลอดภัย เพื่อส่งเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับกับเด็กและผู้ปกครองได้ตระหนักถึงโทษของการบริโภคผักปนเปื้อนสารเคมีทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายเป็นการปลูกฝังค่านิยมที่ดีฝึกอาชีพและความรับผิดชอบของเด็ก และดำเนินรอยตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มจำนวนครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ (ผัก ผลไม้ ไขมัน ข้าว แป้ง เนื้อสัตว์) บริโภคอย่างเพียงพอ

ร้อยละของครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ บริโภคอย่างเพียงพอ เพิ่มขึ้น

60.00 80.00
2 เพื่อลด เด็ก 6-14 ปีที่มีภาวะน้ำหนักเกินภาวะอ้วนลงพุง

ร้อยละของเด็ก 6-14 ปีที่มีน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ลงพุง

10.00 5.00
3 เพื่อลด ประชากร(อายุมากกว่า 15 ปี) ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ลงพุง

ร้อยละของประชากร (อายุมากกว่า 15 ปี) ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ลงพุง

30.00 20.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 216
กลุ่มวัยทำงาน 1,500
กลุ่มผู้สูงอายุ 820
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 04/11/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชาคมชี้แจงความสำคัญของการปลูกและบริโภคผัก โรคที่สัมพันธ์กับการไม่บริโภคผัก สนับสนุนการปลูกและบริโภคผัก ติดตามการกินผักและภาวะดัชนีมวลกายกลุ่มประชาชนทั่วไป และนักเรียน

ชื่อกิจกรรม
ประชาคมชี้แจงความสำคัญของการปลูกและบริโภคผัก โรคที่สัมพันธ์กับการไม่บริโภคผัก สนับสนุนการปลูกและบริโภคผัก ติดตามการกินผักและภาวะดัชนีมวลกายกลุ่มประชาชนทั่วไป และนักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดการประชุมประชาคมแกนนำหมู่บ้านเป็นระดับตำบล เป็นค่าอาหาร อาหารว่าง 11 หมู่ๆ ละ 10 คน *100 บาท 11000 บาท (จ่าย 10,000 บาท)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ำเข้าร่วมประชุมจำนวน 110 คน  / มีการปลูกผักสวนครัวทุกครัวเรือน / มีผู้บริโภคผักที่ปลูกเอง ร้อยละไม่ต่ำกว่า 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนทั่วไปและกลุ่มนักเรียนมีการเปลี่ยนพฤติกรรมการกินผัก ลดปัญหาการมีน้ำหนักเกินเกณฑ์โรคอ้วน อันเป็นสาเหตุของโรคเบาหวาน ไขมันฯ


>