กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบุดี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเด็ก 0-5 ปี สุขภาพดี รับวัคซีนครบตามเกณฑ์

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบุดี

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบุดี

ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบุดี, พื้นที่ชุมชนตำบลบุดี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กเล็ก(0-3 ปี) ได้รับฉีดวัคซีนครบตามหลักเกณฑ์(คน)

 

340.00

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เล็งเห็นถึงความสำคัญว่าวัคซีนเป็นเครื่องมือป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพสูง จึงได้นำวัคซีนที่มีคุณภาพและเหมาะสมสำหรับประเทศ มาบรรจุในโครงการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค เพื่อให้บริการแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมายาวนานมากว่า 30 ปีแล้ว โดยมีนโยบายด้านการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคที่สำคัญคือ การให้บริการวัคซีนป้องกันโรคที่มีความจำเป็นครอบคลุมจำนวนโรคให้มากที่สุด ให้ครอบคลุม ประชาชนกลุ่มเป้าหมายสูงที่สุด ประชากรกลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน จัดให้มีการให้บริการวัคซีนในทุกระดับของสถานบริการ วัคซีนที่ใช้ต้องมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคสูงและต้องมีความปลอดภัย และให้บริการโดยไม่คิดมูลค่าแม้ว่าวัคซีนจะไม่ใช่ยารักษาโรค แต่วัคซีนก็เป็นเครื่องป้องกันที่ช่วยให้เด็กๆปลอดภัยจากโรคร้ายที่มากล้ำกรายโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กวัยขวบปีแรกที่มีอัตราเสี่ยงสูงในการต่อต้านเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายการรับวัคซีนเพื่อสร้างภูมิต้านทานเป็นวิธีที่ง่ายดายปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการป้องกันเด็กจากโรคบางอย่างความเสี่ยงจากโรคเหล่านั้นมากมายหลายเท่าเพื่อให้ได้รับภูมิต้านทานที่ครบถ้วนเด็กจะต้องได้รับวัคซีนตามเกณฑ์อายุทั้งหมดและควรได้รับตรงเวลาอีกด้วย
งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ต้องดำเนินการให้ครอบคลุมประชากรเป้าหมายในระดับสูงที่สุดและมีความต่อเนื่องตลอดไป งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคจะพยายามป้องกันประชาชนจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนให้ได้มากโรคที่สุด โดยการเพิ่มชนิดของวัคซีนที่ใช้ ทั้งนี้โดยความเหมาะสมกับสถานการณ์ทางระบาดวิทยาของโรค และกำลังทรัพยากรด้านสาธารณสุขของประเทศและต้องดำเนินการในทุกพื้นที่ โดยประสานสอดคล้องกับแผนงานหรือโครงการด้านสาธารณสุขอื่นๆ เช่น งานอนามัยโรงเรียน งานโภชนาการ งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่ออื่นๆ ทั้งนี้ เพื่อให้ทุกงานที่เกี่ยวข้องมีประสิทธิภาพสูงที่สุด และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน
จากการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบุดีตำบลบุดี อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ในรอบปีที่ผ่านมาปรากฏว่า กลุ่มเด็ก 0-5 ปี ที่มารับบริการคิดเป็นร้อยละ 80.00 ซึ่งต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด
ฉะนั้นเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายตามแผนฯจากรายงานอัตราความครอบคลุมวัคซีนขั้นพื้นฐานพบว่า เด็ก 0-5 ปี ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบุดี ตำบลบุดี อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ได้รับวัคซีนไม่ครอบคลุม จึงจำเป็นต้องดำเนินการเร่งรัด ติดตาม ค้นหาเด็กตามกลุ่มเป้าหมายให้มารับการฉีดวัคซีนทุกคนเพื่อการป้องกันโรคที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชากรกลุ่มอายุดังกล่าวไปอนาคตต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาเด็กเล็ก(0-3 ปี) ได้รับฉีดวัคซีนครบตามหลักเกณฑ์

จำนวนเด็กเล็ก(0-3 ปี) ได้รับฉีดวัคซีนครบตามหลักเกณฑ์(คน)

340.00 340.00
2 เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจ และเห็นความสำคัญในการฉีดวัคซีน

ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจ และเห็นความสำคัญในการฉีดวัคซีน ร้อยละ 100

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 90
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 01/11/2018

กำหนดเสร็จ : 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเสวนาให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี เกี่ยวกับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค

ชื่อกิจกรรม
อบรมเสวนาให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี เกี่ยวกับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายที่ไม่ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์/บ่ายเบี่ยง
  • จัดอบรมเสวนาให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี เกี่ยวกับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีน ความสำคัญของการได้รับวัคซีนตามวัย การดูแลบุตรหลังได้รับวัคซีน

งบประมาณ : 1. ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าอบรมจำนวน 1 มื้อๆ ละ 75 บาท จำนวน 90 คน
เป็นเงิน6,750บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าอบรม จำนวน 2 มื้อๆละ 35 บาท จำนวน 90 คน
เป็นเงิน6,300บาท 3. ค่าสมนาคุณวิทยากร 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท 1 คน เป็นเวลา 2 วัน เป็นเงิน7,200บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจ และเห็นความสำคัญในการฉีดวัคซีน ร้อยละ 100
  • เด็ก 0-5 ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 95
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20250.00

กิจกรรมที่ 2 จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ เชิญชวนเข้ารับการฉีดวัคซีนตามวัย

ชื่อกิจกรรม
จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ เชิญชวนเข้ารับการฉีดวัคซีนตามวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตั้งป้ายประชาสัมพันธ์ และลงพื้นที่ชุมชนให้บริการเชิงรุกในชุมชน - ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ ขนาด 1 เมตร x 2 เมตร จำนวน 8 แผ่นๆ ละ 500 บาทเป็นเงิน 4,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนรับรู้ข่าวมูลข่าวสาร ส่งผลให้ประชาชนหรือผู้ปกครองนำบุตรหลานมารับการฉีดวัคซีนมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,250.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็ก อายุ 0 - 5 ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์อายุ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 95
2. ผู้ปกครอง มีความรู้ ความเข้าใจ และมีความตระหนักในการพาบุตร/หลานมาฉีดวัคซีนตามนัด
3. ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา มีความตระหนัก และเห็นความสำคัญในการฉีดวัคซีน
4. ผู้ปกครองที่ปฏิเสธวัคซีน/บ่ายเบี่ยง มีทัศนคติที่ดีต่อวัคซีนและพาบุตร/หลานมาฉีดวัคซีน


>