กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดุซงญอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพในหญิงตั้งครรภ์ เด็กก่อนวัยเรียน เด็กวัยเรียน และผู้สูงอายุ ตำบลดุซงญอ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดุซงญอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดุซงญอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดุซงญอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล
ฟันและอวัยวะในช่องปากเป็นด่านแรกของระบบย่อยอาหาร และมีความสำคัญสำหรับการติดต่อสื่อสารของผู้คนในสังคม ปัจจุบันพฤติกรรมการบริโภคของคนเปลี่ยนไป ในขณะที่ระบบบริการสุขภาพและระบบการพัฒนาคนยังไม่สามารปรับตัวรองรับให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงทำให้การเกิดโรคฟันผุ ในทุกกลุ่มวัย กรมอนามัย เปิดเผยผลสำรวจสุขภาพช่องปาก ในปี ๒๕๕๕ พบว่า เด็กไทยโดยเฉลี่ยร้อยละ ๕๐เป็นโรคฟันผุสูงสุดในเขตภาคใต้ร้อยละ ๖๕ โดยเฉพาะใน ๔ จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้แก่ สงขลา ยะลา ปัตตานีและนราธิวาส ในปี ๒๕๕๖ กระทรวงสาธารณสุขได้รายงาน พื้นที่ ๔ จังหวัดชายแดนใต้ เด็กและผู้สูงอายุเผชิญปัญหาโรคฟันสูงเป็นอันดับ ๑ ของประเทศ โดยเฉพาะจังหวัดนราธิวาส พบเด็กฟันผุถึงร้อยละ ๘๐ ส่วนกลุ่มผู้สูงอายุโดยเฉลี่ยพบ ๑ ใน ๑๐ไม่มีฟันเคี้ยวอาหาร และพบว่ากว่าครึ่งยังไม่ได้รับการรักษาเนื่องจากอุปสรรคในการเดินทางและผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบทำให้เกิดปัญหาเป็นโรคเหงือกอักเสบรุนแรงสูงถึงร้อยละ๙๑และมีโอกาสสูญเสียฟันทั้งปากเพิ่มขึ้น การสำรวจสภาวะทันตสุขภาพในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดุซงญอจังหวัดนราธิวาส ในปี ๒๕๖๑ พบว่าเด็กอายุ๐-๕ ปี ฟันผุสูงถึงร้อยละ ๖๒ .๓๕ เด็กอายุ๖-๑๒ ปี พบว่ามีปัญหาฟันถาวรผุร้อยละ ๘๒ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กองทันสาธารณสุขก าหนด คือมีฟันถาวรผุไม่เกินร้อยละ ๒๐ กลุ่มวัยทำงานและกลุ่มผู้สูงอายุเป็นกลุ่มที่พบปัญหาการสูญเสียฟันชัดเจน ในกลุ่มอายุ ๑๓-๕๙ ปีมีฟันถาวรผุร้อยละ ๗๕ การสูญเสียฟันในผู้สูงอายุค่าเฉลี่ยมากกว่า ๑๐ ซี่/คน อาจกล่าวได้ว่าผู้สูงอายุเกือบทุกคนมีปัญหาการ บดเคี้ยวอาหาร การไม่มีฟันทั้งปาก เป็นดัชนีที่บ่งบอกถึงผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอีกด้วย ซึ่งพบถึงร้อยละ ๑๐.๕ และจากข้อมูล ปี ๒๕๕๖ อัตราผู้ป่วย ๑๐ อันดับแรก ของประชาชนในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดุซงญอ พบว่าอัตราการป่วยจากโรคฟันผุเป็นโรคที่พบมากเป็นอันดับ ๓ ร้อยละ ๘๒.๗๘ อัตราต่อแสนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดุซงญอ ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว ภายใต้ข้อจำกัดด้านบุคลากรทันตสุขภาพ ๑ คนต้องดูแลประชากรทั้งตำบล จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมทันตกรรม “ฟันดี ชีวีมีสุข ทุกกลุ่มวัย” เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม ในการดูแลสุขภาพช่องปากของคนในชุมชน โดยภาคีเครือข่าย ส่วนต่างๆ ร่วมในการพัฒนาศักยภาพประชาชน ชุมชนและ ระบบบริการ ให้ประชาชมีพฤติกรรมทันตสุขภาพที่ดี และสามารถเข้าถึงบริการทันตกรรมเพิ่มขึ้น ร่วมช่วยกันจัดการปัญหาสุขภาพช่องปากของชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ ได้รับความรู้ทางทันตสุขภาพ สามารถดูแลตนเองและลูกได้ ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก และได้รับบริการทันตกรรมตามความจำเป็น ๒. เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กอายุ ๐-๓ ปี ได้รับความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกต้อง สามารถดูแลสุขภาพช่องปากบุตรหลานได้อย่างเหมาะสมและเด็กอายุ ๐-๓ ปี ได้รับการเฝ้าระวังและมีการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากอย่างเป็นระบบ และมีความต่อเนื่อง ๓. เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กอายุ 3-5 ปีและครูผู้ดูแลเด็กสามารถดูแลสุขภาพช่องปากเด็กได้ถูกต้องเหมาะสม และเด็ก ได้รับบริการทางทันตกรรมป้องกันและรักษาตามความจำเป็น ๔. เพื่อสร้างสุขนิสัยในการดูแลความสะอาดช่องปากทั้งฟันแท้และฟันเทียมแก่ผู้สูงอายุและ เพื่อฟื้นฟูสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุที่สูญเสียฟัน ให้สามารถบดเคี้ยวอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๕.เพื่อให้แกนนำอสม.และแม่อาสามีความรู้และสามารถดูแลช่องปากตนเอง บุตร และคนในชุมชนได้อย่างถูกต้อง

๑.หญิงตั้งครรภ์ได้รับบริการตรวจฟัน  ร้อยละ ๑๐๐ ๒.หญิงตั้งครรภ์ที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากได้รับริการตามความจำเป็น ร้อยละ๖๐ ๓.ผู้ปกครองเด็กอายุ ๐-๓ ปี  ได้รับความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากและฝึกแแปรงฟันแบบมือต่อมืออย่างถูกต้อง ร้อยละ ๘๐ ๔.ผู้ปกครองเด็กอายุ 3-5 ปีและครูผู้ดูแลเด็กสามารถดูแลสุขภาพช่องปากเด็กได้ถูกต้องเหมาะสม ร้อยละ๘๐ ๕.เด็ก อายุ 3-5 ปี ได้รับบริการทางทันตกรรมป้องกัน(ทาฟลูออไรด์วานิช)และรักษาตามความจำเป็น  ร้อยละ๗๕ ๖.ผู้สูงอายุและแกนนำศาสนา สามารถดูแลความสะอาดช่องปากทั้งฟันแท้และฟันเทียมได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ๘๐ ๗.แกนนำอสม.และแม่อาสามีความรู้และสามารถดูแลช่องปากตนเอง บุตร และคนในชุมชนได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ ๗๕

1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 483
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 127
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 120
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้นำศาสนา 23
แกนนำอสม.และแม่อาสา 50

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมฝึกทักษะการแปรงฟันสำหรับหญิงตั้งครรภ์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมฝึกทักษะการแปรงฟันสำหรับหญิงตั้งครรภ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าวัสดุฝึกแปรงฟัน (หญิงตั้งครรภ์) จำนวน 120 ชิ้น ๆ ละ 40 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท
  2. ค่าวัสดุสำหรับสอนเช็ดทำความสะอาดช่องปากลูก อายุ 0-6 เดือน จำนวน 65 ชิ้น ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 1,950 บาท
  3. ค่าชุดของขวัญ Complete case เพื่อจูงใจในการรับบริการครบตามเกณฑ์ จำนวน 50 ชุด ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 5,00 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11750.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมฝึกทักษะการแปรงฟันกลุ่มเด็กอายุ 0 - 3 ปี

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมฝึกทักษะการแปรงฟันกลุ่มเด็กอายุ 0 - 3 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าวัสดุฝึกแปรงฟัน จำนวน 270 ชิ้น ๆ ละ 40 บาท เป็นเงิน 10,800 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10800.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการ แกนนำ อสม. และแม่อาสา

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการ แกนนำ อสม. และแม่อาสา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับแกนนำอสม. และแม่อาสา ในการประชุมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 50 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 11 บาท เป็นเงิน 550 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
550.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการดูแลทันตสุขภาพและฝึกทักษะการแปรงฟันกลุ่มผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการดูแลทันตสุขภาพและฝึกทักษะการแปรงฟันกลุ่มผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอุปกรณ์ฝึกทักษะการแปรงฟันผู้สูงอายุในชมรมและผู้นำศาสนา จำนวน 150 ชิ้น ๆ ละ 40 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท
  2. ค่าอุปกรณืดูแลฟันปลอม (เม็ดฟู่ความสะอาดฟันปลอม) จำนวน 150 ชิ้น ๆละ 100 บาท เป็นเงิน 15,000 บาท
  3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการฝึกปฏิบัติการดูแลทันตสุขภาพของตนเอง ของผู้สูงอายุและผู้นำศาสนา จำนวน 150 คน จำนวน  1 มื้อ ๆละ 11 บาท เป็นเงิน 1,650 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22650.00

กิจกรรมที่ 5 ประชาสัมพันธ์โครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์โครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าจัทำป้ายไวนิลโครงการขนาด 1*2 เมตร ๆละ 350 บาท จำนวน 1 ป้าย ๆ ละ 700 บาท เป็นเงิน 700 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 46,450.00 บาท

หมายเหตุ :
รวมทั้งสิ้น ๕๕,๑๕๐ บาท(ห้าหมื่นห้าพันหนึ่งร้อยห้าสิบบาท)

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑.หญิงตั้งครรภ์ตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพช่องปาก สามารถดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองได้ดีและปรับลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคในช่องปาก
๒.ผู้ปกครองเด็ก ๐-๓ปี มีความรู้ความเข้าใจ มีทัศนคติที่ดีและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองและบุตร สามารถตรวจสุขภาพช่องปากเบื้องต้นของตนเองและบุตรได้
๓.ผู้ปกครองเด็กอายุ ๓-๕ ปีและครูผู้ดูแลเด็กสามารถดูแลสุขภาพช่องปากเด็กได้ถูกต้องเหมาะสม และเด็ก ได้รับบริการทางทันตกรรมป้องกันและรักษาตามความจำเป็น
๔.ผู้สูงอายุมีความรู้เบื้องต้นในการปฏิบัติตัวในการป้องกันการเกิดโรคในช่องปากมีสุขภาพฟันดี ไม่ป่วยด้วยโรคในช่องปากและได้รับบริการทันตกรรมป้องกัน
๕.แกนนำอสม.และแม่อาสา มีความรู้ความเข้าใจและสามารถดูแลสุขภาพช่องปากตนเอง บุตรของตนเองและคนในชุมชนได้


>