2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
ไข้มาลาเรียยังคงเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขโดยเฉพาะพื้นที่ที่มีพรมแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน จังหวัดนราธิวาสเป็นจังหวัดหนึ่งซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศมาเลเซีย ซึ่งแต่ละปีจะมีการอพยพเคลื่อนย้ายของประชากร ประกอบกับประชาชนที่อาศัยอยู่ตามแนวชายแดน มีอาชีพเสี่ยงต่อการติดเชื้อไข้มาลาเรีย และสภาพพื้นที่ตามแนวชายแดนเอื้อต่อการระบาดของโรคมาลาเรีย
จากรายงานระบาดวิทยา ของ ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ ๑๒.๔จังหวัดนราธิวาส สถานการณ์ไข้มาลาเรียของ ตำบลดุซงญอ ในปี ๒๕๕๙ – ๒๕๖๑ พบผู้ป่วยคิดเป็นอัตรา ๑๕๘.๒๑และ๗๓.๘๓ ต่อแสนประชากร ในปี ๒๕๖๑ไม่พบผู้ป่วย ส่วนใหญ่จะพบผู้ป่วยในพื้นที่หมู่ที่ ๔บ้านรือเปาะ เป็นพื้นที่ที่พบไข้มาลาเรียซ้ำซาก ( Hard core )
จากสภาพปัญหาดังกล่าวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกาแย-กาเต๊าะ ร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลดุซงญอ จึงได้จัดทำโครงการ ควบคุม ป้องกันโรคไข้มาลาเรียตำบลดุซงญออำเภอจะแนะจังหวัดนราธิวาส ประจำปี ๒๕๖๒
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคมาลาเรียร้อยละ 20/ปี
2เพื่อให้การประสานงานในการควบคุมป้องกันโรคมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
3 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันตนเองและครอบครัวจากโรคไข้มาลาเรีย
4 ลดการแพร่ระบาดของยุงก้นปล่องที่เป็นพาหะนำโรคฯ ในพื้นที่
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/10/2018
กำหนดเสร็จ 30/09/2019
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความตระหนักในการป้องกันตนเองและครอบครัวส่งผลให้
อัตราป่วยด้วยโรคมาลาเรียลดลง
2. มีการประสานงานระหว่างองค์กรภาครัฐ ,ชุมชนและในการควบคุมป้องกันไข้มาลาเรีย
ส่งผลให้ลดการแพร่กระจายของโรคในทุกพื้นที่
3. ประชาชนมีความรู้และเข้าใจในการป้องกันโรคมาลาเรีย