กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์ลดปริมาณขยะในชุมชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย

1.นางอุไร พงค์จันทร์เสถียร
2.นางละเอียด สุวรรณชาตรี
3.นางเพ็ญ ขาวมาก
4.นางอำไพ ก้งเส้ง
5.นายชรินทร์ หนูเกื้อ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปริมาณขยะที่ครัวเรือนผลิตได้แต่ละวัน 5.3 ตัน/วัน แต่สามารถคัดแยกได้ 1.83 ตัน

 

3.00

ปัจจุบันปัญหาเรื่องขยะมูลฝอยเป็นปัญหาสำคัญทั้งในระดับชุมชนและระดับประเทศ สาเหตุเนื่องมาจากประชากรในประเทศมีจำนวนมากขึ้น ชุมชนก็เพิ่มขึ้น สถานประกอบการต่างๆมีมากขึ้น และ สิ่งที่ตามมาอย่างเลี่ยงไม่ได้ก็คือ ขยะมูลฝอย ย่อมมีจำนวนมากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นชุมชนจัดเป็นแหล่งสำคัญหนึ่งที่ผลิตของเสียออกสู่สิ่งแวดล้อม แม้ว่าขยะจากชุมชนหรืออาคารบ้านเรือนจะไม่ใช่ของเสียที่เป็นอันตราย เมื่อเปรียบเทียบกับของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมหรือการเกษตรกรรม แต่ถ้ามีปริมาณมากก็ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนและสิ่งแวดล้อมได้ โดยเฉพาะขยะมูลฝอยจากชุมชนหรืออาคารบ้านเรือนปริมาณขยะในแต่ละวันของตำบลโคกชะงาย 5.3 ตันต่อวัน สามารถคัดแยกขยะได้ 1.83 ตันเท่านั้นมีขยะที่สามารถย่อยสลายได้ในธรรมชาติและขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ (recycle) ขยะประเภทวัสดุเหลือใช้ ขยะที่อาจเป็นอันตรายอันเนื่องมาจากสารพิษ เป็นต้น ซึ่งการแก้ปัญหาขยะมูลฝอยในพื้นที่และกลไกเพื่อการคัดแยกขยะ แปรรูปขยะเป็นพลังงานด้วยนวัตกรรมที่เหมาะสมกับพื้นที่ และเป็นการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและลดแหล่งเพาะพันธุ์พาหะนำโรคต่างๆ เช่น โรคไข้เลือดออก โรคติดต่อนำโดยแมลง พวกหนู แมลงวัน แมลงสาป รวมทั้งโรคติดต่อทางอาหาร
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย จึงได้จัดโครงการรณรงค์ลดปริมาณขยะในชุมชน เพื่อระวังภัยสุขภาพ ใส่ใจสิ่งแวดล้อมขึ้น การจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งแวดล้อม จึงจัดให้มีระบบการจัดการขยะในชุมชนภายใต้แนวคิด “ประชารัฐ”เพื่อให้ประชาชนและชุมชนส่งเสริมการดำเนินการตามหลัก 3 Rs ได้แก่ การลดการใช้ (Reduce) การใช้ซ้ำ(Reuse)และการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนและชุมชน ได้ตระหนักและรับรู้ถึงความจำเป็น ในการคัดแยกขยะ และการใช้ประโยชน์จากขยะและเป็นการลดปริมาณขยะที่มีประสิทธิภาพ และป้องกันปัญหาการเกิดมลพิษ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งยังส่งเสริมให้แต่ละครัวเรือนมีการจัดการขยะที่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง เพื่อไม่ให้ขยะดังกล่าวตกค้าง ทำให้ชุมชนสะอาด น่าอยู่ และไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์โรคจากขยะในครัวเรือนและชุม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชนได้มีความรู้ในการคัดแยกขยะ และสามารถลดขยะในชุมชนได้

ร้อยละ 80 ประชาชนมีความรู้การจัดการขยะ และคัดแยกขยะที่ถูกต้อง

2.00 53.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ( อสม. ) 53

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 20/11/2018

กำหนดเสร็จ 31/07/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมแต่งตั้งคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมแต่งตั้งคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีคณะทำงานการขับเคลื่อนการรณรงค์ลดปริมาณขยะในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
750.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมแกนนำหมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมแกนนำหมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 53 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 50 บาทเป็นเงิน 2,650 บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 53 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 2,650 บาท 3.ค่าถ่ายเอกสารประกอบการอบรม เป็นเงิน 1,000 บาท
4.ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรมประกอบด้วย ป้ายไวนิล 1 แผ่น กระดาษฟรู๊ฟ สมุดและปากกาฯลฯ เป็นเงิน 2,000 บาท หมายเหตุ: ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำมีความรู้การคัดแยกขยะ และจัดการขยะในบ้านตนเองและในชุมชนที่ถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8300.00

กิจกรรมที่ 3 ตรวจประเมินบ้านที่เข้าร่วมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ตรวจประเมินบ้านที่เข้าร่วมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารกลางวันจำนวน 30 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 30 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้ครัวเรือนต้นแบบในการคัดแยกขยะ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,050.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.แกนนำสามารถนำความรู้ไปถ่ายทอดให้ครัวเรือนในชุมชนให้คัดแยกขยะให้ถูกต้อง
2.ชุมชนสามารถลดปริมาณขยะที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ให้น้อยลง


>