กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการลดขยะมูลฝอยตกค้าง เพื่อบ้านลูโบ๊ะการันยีสะอาด น่าอยู่ ปลอดแหล่งเพาะพันธุ์โรค

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

คณะทำงานจัดการขยะมูลฝอยชุมชน หมู่ที่ 7 บ้านลูโบ๊ะการันยี

นายอับดุลรอเชค ยาติกุล 084-5719151
นายเจ๊ะซาการียา โกบปุเลา 086-2886523
นางสาวนาตีละห์ นำยูรี 087-9907884
นายมีดาน ยะโกบ
นายสอแล๊ะ นำยูรี

หมู่ที่ 7 บ้านลูโบ๊ะการันยี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนครัวเรือนที่มีการคัดแยกขยะถูกต้อง (ครัวเรือน)

 

15.00
2 จำนวนครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะถูกต้อง (ครัวเรือน)

 

0.00
3 จำนวนหมู่บ้านที่มีนโยบายหรือมาตรการด้านการจัดการขยะที่ถูกต้อง (แห่ง)

 

0.00

ปัจจุบันปัญหาเรื่องขยะ ถือว่าเป็นปัญหาสำคัญทั้งในระดับชุมชนและระดับประเทศ สาเหตุ เนื่องมาจากประชากรในประเทศมีจำนวนมากขึ้น ชุมชนก็เพิ่มขึ้น สถานประกอบการต่างๆมีมากขึ้นและสิ่งทีตามมาอย่างเลี่ยงไม่ได้ก็คือ ขยะ ย่อมมีจำนวนมากขึ้นตามไปด้วยในแต่ละวันจะมีขยะเพิ่มขึ้นเป็นนับร้อยล้านตัน แต่เราสามารถกำจัดขยะได้เพียงวันละไม่กี่สิบล้านตันเท่านั้นแม้รัฐบาลจะมีพื้นที่ที่จัดไว้เพื่อรองรับขยะแต่ก็ไม่เพียงพอกับปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วสร้างปัญหาเป็นอย่างมากทั้งทางด้านทิวทัศทั้งกลิ่น ความสะอาด เกิดเป็นปัญหาขยะล้นเมืองถึงแม้ในปีหนึ่งๆประเทศจะต้องเสียงบประมาณเป็นจำนวนมากไปกับการจัดการขยะแต่ผลลัพท์ที่ได้ก็ยังไม่เป็นที่น่าพอใจประกอบกับประชาชนในชุมชนก็ยังขาดจิตสำนึกในการทิ้งขยะให้เป็นที่เป็นทางไม่มีการขัดแยกขยะก่อนทิ้งรวมทั้งขาดความรู้เกี่ยวกับการนำขยะกลับมาใช้ใหม่
ในการจะแก้ไขปัญหาให้ได้ผลระยะยาวนั้นเราต้องเริ่มจากจุดเล็กๆก่อนด้วยการปลูกฝั่งจิตสำนึกที่ดีในเรื่องการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนก่อน จัดกิจกรรมให้สมาชิกในครอบครัวได้เห็นความสำคัญและประโยชน์ของการคัดแยกขยะแล้วก็สามารถขยายผลไปยังภาพรวมของชุมชนต่อไปโดยหวังผลว่า การลดขยะตกค้างในชุมชน จะช่วยทำให้หมู่บ้านสะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อยลดแหล่งเพาะพันธุ์โรคในชุมชนสมาชิกในชุมชนมีสุขภาพดี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนขยะมูลฝอยที่ตกค้างในชุมชน

(ร้อยละ) ถังขยะที่ไม่มีขยะมูลฝอยล้นถัง ใน 1 สัปดาห์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70

80.00
2 ประชาชนมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะรีไซเคิล เข้าสู่ระบบการใช้ซ้ำ

จำนวนครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรมตลาดนัดรีไซเคิล (ครัวเรือน)

150.00
3 เพื่อสร้างข้อตกลงทางสังคมในการจัดการขยะมูลฝอยที่ต้นทาง

หมู่บ้านเกิดข้อตกลงทางสังคมในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน อย่างน้อย 3 มาตรการ

4.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
จำนวนครัวเรือนหมู่ที่ 7 309

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมกำหนดข้อตกลงทางสังคมเรื่องการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมกำหนดข้อตกลงทางสังคมเรื่องการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมสร้างข้อตกลงภายในชุมชม จำนวน ตัวแทน 100 ครัวเรือน
1. ค่าอาหารว่างและะเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 100 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
2. เอกสารที่ใช้ในการจัดประชุม เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดมาตรการทางสังคมและการกำหนดข้อปฏิบัติ จำนวน 3 มาตรกร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

กิจกรรมที่ 2 สร้างความตื่นตัวและการรับรู้ของชุมชน

ชื่อกิจกรรม
สร้างความตื่นตัวและการรับรู้ของชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1.2 X 2.5 เมตร (ตร.ม.ละ 150 บาท) เป็นเงิน 450 บาท
2.ป้ายประชาสัมพันธ์กิจกรรม ประชาสัมพันธ์มาตรการทางส้งคม และให้ความรู้ ขนาด 1.2 x 2 เมตร (ตร.ม. ละ 150 บาท) จำนวน 6 ป้าย เป็นเงิน 2,160 บาท
3.ค่าจ้างเหมารถสามล้อประชาสัมพันธ์ หรือรถแห่ประชาสัมพันธ์ เช่าเครื่องเสียง จำนวน 2 เที่ยวๆละ 1,000 บาทเป็นเงิน 2,000 บาท
4.ค่าอาหาร อาหารว่างและเครื่องดื่ม จัดกิจกรรมสำรวจปริมาณขยะมูลฝอยในถังขยะครัวเรือน( จำนวน 1 วัน) เพื่อสรุปผลข้อมูล จำนวน15 คนๆละ 110 บาท เป็นเงิน 1,650 บาท
5.จัดทำถังบริจาคขยะรีไซเคิลประจำหมู่บ้าน ขนาดถัง กว้าง 1 เมตร ยาว 1.5 เมตร สูง 0.80 เมตรถังละ 1,500 บาท จำนวน 2 ถัง เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีสื่อประชาสัมพันธ์  ป้ายประชาสัมพันธ์มาตรการทางสังคม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9260.00

กิจกรรมที่ 3 ตลาดนัดรีไซเคิล

ชื่อกิจกรรม
ตลาดนัดรีไซเคิล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมตลาดนัดรีไซเคิล แลกรับขยะอันตรายในชุมชน(นำขยะรีไซเคิลในครัวเรือนมาแลกไข่ไก่) กิจกรรมให้ความรู้ในการคัดแยกประเภทขยะมูลฝอย
1.ไข่ไก่ จำนวน 25 แผงๆละ 90 บาท เป็นเงิน 2,250 บาท
2.วัสดุ/อุปกรณ์ที่ใช้ในกิจกรรม (โทรโข่ง ปากกา เครื่องคิดเงิน ฯลฯ) เป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดกิจกรรมตลาดนัดรีไซเคิล ขยะรีไซเคิลถูกเก็บเข้าระบบการใช้ซ้ำ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,010.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.หมู่บ้านน่าอยู่ สะอาดมีความเป็นระเบียบ เรียบร้อย
2.ลดปริมาณขยะมูลฝอยตกต้างในชุมชน
3.สามารถลดแหล่งเพาะพันธุ์พาหะนำโรคในชุมชนได้


>