กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาท่ามใต้

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบ้านนาท่ามร่วมใจป้องกันภัยเด็กจมน้ำ ปี ๒๕๖2

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาท่ามใต้

ชมรม อสม.บ้านนาท่าม

๑.นางจำรัส ช่วยออก
2.นางศิริวรรณทองมี
3.นางฉวีวรรณชัยแก้ว
4.นายสาโรจน์ จิตรา
5.นางอรรถพรจงเจริญวิทย์

รพ.สต บ้านนาท่าม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สถานการณ์การตกน้ำจมน้ำของเด็กในประเทศไทยอายุต่ำกว่า 15 ปี เป็นสาเหตุแห่งการเสียชีวิตอันดับหนึ่งในทุกสาเหตุทั้งโรคติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ อัตราการเสียชีวิตต่อประชากรแสนคน (ปี พ.ศ.2548 – 2557) มีจำนวนการเสียชีวิตเฉลี่ย ปีละ 1,177 คนหรือวันละ 3.2 คน อัตราการป่วยตาย (CaseFatalityRate) จากการจมน้ำเท่ากับร้อยละ 37.2 กลุ่มประชากรเสี่ยง ได้แก่ เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ซึ่งมีสัดส่วนการเสียชีวิตจากการตกน้ำ จมน้ำสูงถึงร้อยละ 30 ของทุกกลุ่มอายุ โดยเพศชายมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าเพศหญิงประมาณ 2 เท่าตัว และกระทรวงสาธารณสุขพบว่าทุกๆ 8 ชั่วโมง จะมีเด็กจมน้ำเสียชีวิต 1 คน โดยเฉลี่ยทุกๆ 1 เดือนประเทศไทยสูญเสียเด็กจากการจมน้ำเสียชีวิตมากกว่า 90 คน ซึ่งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (ปี 2549–2558) ประเทศไทยสูญเสียเด็กไปแล้วถึง 10,923 คน(ข้อมูลจากสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค) จากข้อมูลการเฝ้าระวังเด็กมักจะจมน้ำเสียชีวิตพร้อมกันหลายๆ คน เนื่องจากเด็กไม่รู้วิธีการเอาชีวิตรอดในน้ำและวิธีการช่วยเหลือที่ถูกต้องจึงมักจะกระโดดลงไปช่วยคนที่ตกน้ำ และจากการศึกษาของสำนักงานโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรคพบว่าเด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปี ว่ายน้ำเป็นร้อยละ 23.7 และว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดได้ (มีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ ทักษะการเอาชีวิตรอด และทักษะการช่วยเหลือ) เพียงร้อยละ 4.4 ทั้งนี้เด็กที่เรียนหลักสูตรว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดจะมีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ ทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำ และทักษะการช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำ มากกว่าคนที่ไม่ได้เรียนถึง 7.4 เท่า, 20.7 เท่า และ 2.7 เท่า ตามลำดับ และช่วงเดือนเมษายนเป็นช่วงที่มีเด็กจมน้ำเสียชีวิตมากที่สุด เท่ากับ 148 คน รองลงมาคือมีนาคมมีจำนวน 129 คนและพฤษภาคม 125 คน ซึ่งช่วงดังกล่าวเป็นช่วงปิดภาคการศึกษา
ซึ่งพื้นที่เขตรพ.สต.บ้านนาท่าม เป็นพื้นที่ที่มีลำคลองไหลผ่านและการไหลเชี่ยวของสายน้ำค่อนข้างแรง มีจุดเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุจมน้ำอยู่หลายพื้นที่ ดังนั้นจะเห็นได้ว่า อุบัติเหตุการเสียชีวิตเกิดขึ้นกับเด็ก ซึ่งอาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น ขาดความระมัดระวัง ไม่รู้จักวิธีการเอาตัวรอด ขาดการละเลยจากสายตาพ่อแม่ผู้ปกครอง ดังนั้นรพ.สต.บ้านนาท่าม ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยทางน้ำ ทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำ และทักษะการช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำ จึงได้จัดทำโครงการบ้านนาท่ามร่วมใจป้องกันภัยเด็กจมน้ำ ปีงบประมาณ 2562 เพื่อให้เด็ก เยาวชน และผู้ปกครองในชุมชนมีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำและมีความรู้พื้นฐานในการช่วยเหลือผู้จมน้ำและการปฐมพยาบาลให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นได้ และเพื่อให้เด็กและเยาวชนมีทักษะในการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1…เพื่อกระตุ้นให้เกิดการดำเนินงานป้องกันการจมน้ำพื้นที่

1.มีการดำเนินงานป้องกันการจมน้ำในกลุ่มเป้าหมาย

100.00
2 2…เพื่อให้ประชาชนผู้ดูแลเด็กมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันการจมน้ำเสียชีวิตได้

2.ประชาชนผู้ดูแลเด็กมีความรู้ความเข้าใจและสามารถป้องกันการจมน้ำเสียชีวิตได้

80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.อบรมหลักสูตรว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด         -ศึกษาข้อมูลสถานการณ์เสียชีวิตจากการจมน้ำ         - บรรยายเรื่องการจัดการแหล่งน้ำเสี่ยง         -การเรียนการสอนหลักสูตรว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด        -ฝึกปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR )      2.กิจกรรมประชาสัมพันธ์การป้องกันการจมน้ำ งบประมาณ

ค่าป้ายโครงการขนาด  2x3 เมตร จำนวน 1 ผืนเป็นเงิน  800 บาท
ค่าวิทยากร 6 ชม. ๆ ละ 600บาท2 วันเป็นเงิน 7,200 บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้ารับการอบรม วิทยากรและเจ้าหน้าที่จำนวน60 คนๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ25 บาท2 วัน เป็นเงิน 6,000บาท ค่าอาหารกลางวันผู้เข้ารับการอบรม วิทยากรและเจ้าหน้าที่ จำนวน 60 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 50 บาท2 วัน เป็นเงิน 6,000 บาท ค่าบำรุงสถานที่ฝึกอบรมจำนวน 50 คน ๆ ละ 40 บาท2วัน เป็นเงิน 4,000 บาท ค่าจ้างเหมารถพาหนะจำนวน 2คัน 2วัน เป็นเงิน  3,000 บาท - ค่าถ่ายเอกสาร จำนวน50ชุดเป็นเงิน 3,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น30,000บาท (ค่าใช้จ่ายสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายกันได้)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เด็ก เยาวชน และแกนนำจิตอาสาในชุมชนมีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ พื้นฐานในการช่วยเหลือผู้จมน้ำและการปฐมพยาบาลให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นได้
2.เด็ก และแกนนำจิตอาสาในชุมชนมีทักษะในการช่วยเหลือคนจมน้ำและทักษะการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำได้ 3.เด็กเยาวชน และแกนนำจิตอาสาในชุมชน มีส่วนร่วมในการป้องกันเหตุการณ์จมน้ำในเขตพื้นที่ชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็ก เยาวชน และแกนนำจิตอาสาในชุมชนมีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ พื้นฐานในการช่วยเหลือผู้จมน้ำและการปฐมพยาบาลให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นได้
2.เด็ก และแกนนำจิตอาสาในชุมชนมีทักษะในการช่วยเหลือคนจมน้ำและทักษะการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำได้
3.เด็กเยาวชน และแกนนำจิตอาสาในชุมชน มีส่วนร่วมในการป้องกันเหตุการณ์จมน้ำในเขตพื้นที่ชุมชน


>