กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบุดี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมวัยทำงาน ลดเสี่ยงโรคเรื้อรัง ปี 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบุดี

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบุดี

ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบุดี ตำบลบุดี อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจหลอดเลือดสมอง มะเร็ง ฯลฯเป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อน ทำให้เกิดความพิการและตายก่อนวัยอันควร การเกิดโรคมีสาเหตุจากหลายปัจจัยเสี่ยงที่มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย และนำไปสู่การเจ็บป่วยแทรกซ้อนที่สำคัญ อาทิ โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคไตวายเรื้อรัง (CKD) โรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD) แผลเรื้อรัง การถูกตัดขา ตัดนิ้ว เป็นต้น ความเจ็บป่วยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยตลอดจนค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขโดยรวม ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นอย่างมาก
องค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวว่านอกจากการบริการทางคลินิกแล้ว การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพมีความสำคัญและจำเป็นในการแก้ไขปัญหาโรคไม่ติดต่อดังกล่าวซึ่งการบริการสุขภาพภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ส่งผลให้ประชาชนส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานที่จำเป็น รวมทั้งการบริการสุขภาพเพื่อป้องกันและควบคุมโรคเป็นสำคัญ โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ถือเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น กรรมพันธุ์ อายุ และปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ เช่น ความอ้วน ความเครียด การออกกำลังกาย พฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม การดื่มสุรา และการสูบบุหรี่ ซึ่งหากประชาชนไม่สามารถควบคุมปัจจัยดังกล่าว ร่วมกับการมีอายุที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่อายุ 35 ปีขึ้นไปย่อมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง และต้องได้รับการรักษาด้วยการรับประทานยาตลอดชีวิต อีกทั้งหากมีพฤติกรรมสุขภาพไม่เหมาะสมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา ส่งผลให้สูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น จากผลการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป ในปี 2561 ของหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบุดี คือ หมู่ที่ 1,2,8 จำนวน 13 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.26 และกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน 27 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.40
จากสถานการณ์ปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบุดี ตำบลบุดี อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ได้ตระหนักถึงความสำคัญของภาวะสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมวัยทำงาน ลดเสี่ยงโรคเรื้อรังขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริม กระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายวัยทำงาน ตระหนัก รับรู้ถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพของตนเองมากขึ้น เป็นบุคคลที่มีสุขภาพดีและคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงวัยทำงาน/ปัจจัยเสี่ยงโรคเรื้อรัง มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพ ที่ถูกต้องในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในชีวิตประจำวัน

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงวัยทำงาน/ปัจจัยเสี่ยงโรคเรื้อรัง มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพที่ถูกต้องในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงวัยทำงาน/ปัจจัยเสี่ยงโรคเรื้อรังมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพและสามารถพึ่งตนเองด้านสุขภาพได้

สามารถปรับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ และสามารถใช้ยาได้ถูกต้องปลอดภัย

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 80
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงวัยทำงาน/ปัจจัยเสี่ยงโรคเรื้อรัง

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงวัยทำงาน/ปัจจัยเสี่ยงโรคเรื้อรัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ประชาสัมพันธ์ ให้กลุ่มเป้าหมายเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
  • จัดกิจกรรมตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และภาวะอ้วนลงพุง ในกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป พร้อมแจ้งผลการคัดกรองให้กลุ่มเป้าหมายทราบ และร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์  ทบทวนความรู้ให้ เหมาะสมกับการดำรงชีวิตและวิถีชุมชน
  • ประชาสัมพันธ์เชิญชวนประชาชนกลุ่มเสี่ยงวัยทำงาน/ปัจจัยเสี่ยงโรคเรื้อรังเข้าร่วมโครงการเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
  • จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงวัยทำงาน/ปัจจัยเสี่ยงโรคเรื้อรัง แบ่งเป็น 2 รุ่นๆ ละ 40 คน ดังนี้           - ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองให้เหมาะสม ความรู้เรื่องการออกกำลังกาย           - การฝึกปฏิบัติ การสาธิตประกอบอาหารเพื่อสุขภาพ การออกกำลังกาย การฝึกจิตคลายเครียด           - การควบคุมน้ำหนัก และการคิดค่าพลังงานตามโครงการ
  • ติดตามประเมินผล
    งบประมาณ :
  1. ค่าอาหารกลางวัน      จำนวน 80 คน x 75 บาท x 1 มื้อ  เป็นเงิน 6,000  บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  จำนวน 80 คน x 35 บาท x 2 มื้อ  เป็นเงิน 5,600  บาท
  3. ค่าสมนาคุณวิทยากร        จำนวน 12 ชั่วโมงๆ ละ 3๐๐ บาท    เป็นเงิน 3,600     บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงวัยทำงาน/ปัจจัยเสี่ยงโรคเรื้อรัง ที่เข้าร่วมอบรม มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในชีวิตประจำวัน สามารถนำความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง ทั้งความรู้เรื่องโรค  การตรวจสุขภาพด้วยตนเอง การรับประทานอาหาร การรับประทานยา การออกกำลังกาย การตรวจเท้าและการดูแลเท้า มาใช้ดูแลสุขภาพด้วยตนเองได้ถูกต้องเหมาะสม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงวัยทำงาน/ปัจจัยเสี่ยงโรคเรื้อรัง มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในชีวิตประจำวัน สามารถนำความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง ทั้งความรู้เรื่องโรคการตรวจสุขภาพด้วยตนเอง การรับประทานอาหาร การรับประทานยา การออกกำลังกาย การตรวจเท้าและการดูแลเท้า มาใช้ดูแลสุขภาพด้วยตนเองได้ถูกต้องเหมาะสม
2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงวัยทำงาน สามารถปรับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ และสามารถใช้ยาได้ถูกต้องปลอดภัย


>