กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุ 0- 5 ปี ประจำปีงบประมาณ 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกาเด๊ะ

1. นางลาตียา มะหมาด
2. นางฮาหวา ตะฮาวัน
3. นางฮามีส๊ะ ยาหนา
4.นางสริญญา สตอหลง
5. รตท.วิศักดิ์ เส็มหย้ง ที่ปรึกษาพี่เลี้ยง

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกาเด๊ะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กช่วงอายุแรกเกิด- 5 ปีที่มีน้ำหนักไม่ถึงเกณฑ์

 

50.00

การมีชีวิตที่สมบูรณ์แข็งแรงทั้งชีวิตและจิตใจขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายอย่าง นับตั้งแต่ การเจริญเติบโตอยู่ในครรภ์มารดาและ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญของการส่งเสริมสุขภาพเด็กอายุ 0-5 ปี เพื่อให้มีคุณภาพดีตั้งแต่เยาว์วัยและมีการพัฒนาการที่เหมาะสม โดยสนับสนุนดูแลสุขภาพของเด็ก เพื่อให้เด็กให้ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนมีประโยชน์ และ พัฒนาการสมวัยเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ขาดสารอาหารเป็นปัญหาสำคัญที่พบได้ทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กอายุ 0-5 ปี เมื่อเริ่มขาดสารอาหารตั้งแต่เด็กก็ไม่สามารถเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์แข็งแรงได้เพื่อให้เด็กเหล่านี้ได้รับประทานอาหารที่มีคุณค่า จึงจำเป็นให้ ผู้ปกครองมีความรู้ด้านอาหารและโภชนาการ เด็กจะได้มีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง จะต้องเน้นการส่งเสริมสุขภาพของเด็กอายุ 0-5 ปี โดยการร่วมกับผู้ปกครองหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการตามวัย จัดอบรมส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับโภชนาการทั้งนี้เพื่อให้ผู้ปกครองตระหนักถึงความสำคัญของการเลี้ยงดูเด็กอายุ 0-5 ปีให้มีการเจริญเติบโตเป็นไปตามปกติพัฒนาการสมวัยส่งผลให้สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงทั้งทางร่างกายและจิตใจ จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลในปี ปี 2559-2560 พบว่าเด็กอายุ 0-5 ปี มีการเจริญเติบโตตามเกณฑ์ ร้อยละ 86.48 และเด็กที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการร้อยละ 13.20มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 99.17 นับเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไข้ในเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกาเด๊ะ เห็นถึงความสำคัญของการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก เพื่อเป็นการลดปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็ก 0-5 ปี ในความรับผิดชอบของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกาเด๊ะ จึงขอเสนอ โครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด 0- 5 ปีขึ้น เพื่อให้เด็กมีการเจริญเติบโตตามเกณฑ์มาตรฐานและมีการพัฒนาการตามวัยซึ่งนำไปสู่การพัฒนาประเทศชาติต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการ ในกลุ่มเด็ก 0- 5 ปี ที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการน้ำหนักไม่ถึงเกณฑ์

ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีการจดบันทึกการเฝ้าระวังของภาวะทางโภชนาการและน้ำหนัก ส่วนสูง สมส่วน ไม่สมส่วน ของเด็กเป็นรายบุคคล เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น

100.00
2 เพื่อให้ผู้ปกครองของเด็กมีความรู้ ความเข้าใจ ถึงภาวะโภชนาการในเด็ก 0-5 ปี

ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องภาวะโภชนาการที่เหมาะสมในเด็ก อยู่ในเกณฑ์ ดี อย่างน้อยร้อยละ 80

80.00
3 เพื่อให้ผู้ปกครองให้ความสำคัญกับการจัดอาหารเช้าให้แก่เด็ก

พฤติกรรมในการจัดอาหารเช้าจากผู้ปกครองให้แก่นักเรียนมีการเปลี่ยนแปลง จากการเตรียมอาหารเช้ามาให้เด็กรับประทานที่ศูนย์เด็กฯ ดีขึ้น โดยการจัดทำแบบประเมินวัดความรู้ก่อนการอบรมและหลังการอบรม

80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 60
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ปกครอง และครูผู้ดูแล 75

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/0201

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของเด็ก

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรมตามแผน : เชฺิญวิทยากรที่เชี่ยวชาญด้านภาวะโภชนาการเด็กบรรยาย จัดอบรมให้ความรู้ผู้ปกครองเกี่ยวกับภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็ก ซึ่งน้ำหนักกับส่วนสูงของเด็กต้องสัมพันธ์กัน ผู้ปกครองต้องเฝ้าระวังและส่งเสริมโภชนาการร่วมกับศูนย์ให้เห็นประโยชน์และโทษของการไม่ได้คำนึงถึงภาวะโภชนาการของเด็ก และจัดสื่อ นิทรรศการ บอร์ดให้ความรู้
งบประมาณ
1. ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อสำหรับผู้เข้าอบรมและครู ตลอดจนกรรมการสถานศึกษาจำนวน 75 คนๆละ 60 บาทเป็นเงิน 4,500 บาท
2.อาหารว่างและเครื่องดื่มคนละ 2 มื้อๆละ 25 บาท ผู้ปกครองที่เข้าร่วมประชุมครูและกรรมการสถานศึกษาจำนวน 75 คน เป็นเงิน 3,750 บาท
3.ค่าป้ายไวนิลโครงการ1.5*2เมตร เป็นเงิน 450 บาท
4.ค่าเช่าเครื่องเสียง เต้นท์ โต๊ะ เก้าอี้ เป็นเงิน 2,000 บาท
5.ค่าตอบแทนวิทยากร 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
6.ค่าจัดทำเอกสารคู่มือให้ความรู้ 62 เล่มๆละ 60 บาท เป็นเงิน 3,720 บาท
7.ค่าจัดทำสือ บอร์ดนิทรรศการ 2 ชิ้น เป็นเงิน 1,500 บาท
8.จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องชั่งน้ำหนักดิจิตอลพร้อมไม้วัดส่วนสูง เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ความเข้าใจ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22520.00

กิจกรรมที่ 2 เฝ้าระวังปัญหาภาวะทุพโภชนาการและพัฒนาการเด็ก

ชื่อกิจกรรม
เฝ้าระวังปัญหาภาวะทุพโภชนาการและพัฒนาการเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรมตามแผน :คณะครูติดตามภาวะโภชนาการเด็กโดยการติดตามชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเดือนละ 2 ครั้ง จดบันทึกผลในแบบบันทึกเฝ้าระวังโภชนาการประจำตัวเด็กแต่ละคน เป็นระยะเวลา 3 เดือนติดต่อกัน เปรียบ สังเกต ความเปลี่ยนแปลง รายงานผลส่งต่อรพ.สต ทีดูแลต่อไป พร้อมควบคุมอาหารกลางวันของศูนย์ที่อาจส่งผลต่อภาวะโภชนาการเด็ก

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กเล็กได้รับการคัดกรองภาวะโภชนาการทุกราย และมีการเฝ้าระวัง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,520.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยจ่ายได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็ก 0 - 5 ปี ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการครอบคลุมน้ำหนักและส่วนสูงสมส่วน
2. ปัญหาภาวะโภชนาการในเด็ก 0 -5 ปี ลดลง
3. ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ในการดูแลเด็กด้านโภชนาการและการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
4. ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจและเห็นความสำคัญในการจัดอาหารมื้อเช้าให้กับเด็กอย่างถูกหลักโภชนาการ


>