กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาสัก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบริโภคอาหารสะอาดปลอดภัยปราศจากสารปนเปื้อน ปีงบประมาณ 2561

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาสัก

รพ.สต.แก่งกระทั่ง

รพ.สต.แก่งกระทั่ง และร้านค้าจำหน่ายอาหารในเขตรับผิดชอบ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

อาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต การบริโภคอาหารที่ไม่สะอาดเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ โดยมีเชื้อโรคและสารปนเปื้อนหลายชนิดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ หลักการสำคัญในการเลือกรับประทานอาหารนอกเหนือจากรสชาติแล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงและพิจารณาควบคู่ไปด้วยคือคุณค่าตามหลักโภชนาการ คุณภาพความสะอาดและปราศจากสารปนเปื้อน
การบริโภคอาหารเพื่อให้ได้อาหารที่สะอาดปลอดภัย มีคุณค่าตามหลักโภชนาการและปราศจากสารปนเปื้อนนั้น จำเป็นต้องมีระบบการดูแลควบคุมตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร เพื่อให้ประชาชนสามารถจัดหาอาหารที่สะอาดและปลอดภัยมาบริโภคได้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงจำเป็นต้องมีระบบการดูแลและควบคุมตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร และดำเนินการ จำหน่ายอาหารให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการบริโภคอาหารที่สะอาดและปลอดภัย โดยในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแก่งกะทั่ง มีร้านค้าในเขตรับผิดชอบจำนวนทั้งสิ้น 46 ร้าน เป็นร้านที่จำหน่ายของชำจำนวน 32 ร้าน ขายอาหารสดจำนวน 9 ร้าน ขายอาหารปรุงสำเร็จและเครื่องดื่ม 19 ร้าน
จากความสำคัญข้างต้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแก่งกระทั่ง ได้ตระหนักเห็นความสำคัญของการเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารจากร้านจำหน่ายอาหาร จึงได้จัดทำโครงการบริโภคอาหารสะอาดปลอดภัยปราศจากสารปนเปื้อนขึ้น เพื่อเป็นการพัฒนาและสร้างความรู้แก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภคให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกซื้ออาหารที่สะอาดปลอดภัยและปราศจากสารปนเปื้อน อันจะส่งผลให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่สะอาดและปลอดภัยต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านจำหน่ายอาหารมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกซื้อและจำหน่ายอาหารที่ปลอดภัย ปราศจากสารปนเปื้อน
2.เป็นการเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารจากร้านจำหน่ายอาหารภายในเขตรับผิดชอบ ให้ได้มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร
3.เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอันตรายและโรคภัยไข้เจ็บที่มีสาเหตุอันเนื่องมาจากการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัยของประชาชนในพื้นที่

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ประกอบการร้านจำหน่ายอาหารในเขตรับผิดชอบ จำนวน 4 46

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2017

กำหนดเสร็จ 30/09/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการบริโภคอาหารสะอาดปลอดภัยปราศจากสารปนเปื้อน ปีงบประมาณ 2561

ชื่อกิจกรรม
โครงการบริโภคอาหารสะอาดปลอดภัยปราศจากสารปนเปื้อน ปีงบประมาณ 2561
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ขั้นเตรียมการ
1.1 ประชุมอาสาสมัครประจำหมู่บ้านและบุคลากรทางสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแก่งกะทั่ง เพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินการ
1.2 ปรึกษาหน่วยงานบุคลากรที่เกี่ยวข้องในด้านงบประมาณ และความเป็นไปได้
1.3 เขียนโครงการและขออนุมัติโครงการ
1.4 ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
1.5 จัดเตรียมเอกสารในการให้ความรู้และแบบประเมินต่างๆ รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์และสถานที่ในการจัดกิจกรรมโครงการ 2.ขั้นดำเนินงาน 2.1อบรมเชิงปฏิบัติการโดยกิจกรรมและขั้นตอนดังนี้        -  บรรยายให้ความรู้เรื่องอาหารสะอาดปลอดภัย ปราศจากสารปนเปื้อนอันตรายจากการบริโภคอาหารที่ไม่สะอาด มีสารปนเปื้อน และแนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการจำหน่ายอาหารสินค้าให้กับผู้บริโภค
       -  ผู้ประกอบการร่วมกันกำหนดแนวทาง  และข้อตกลงในการจำหน่ายสินค้าให้กับผู้บริโภคในชุมชน 2.2 เจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมกับตัวแทนอบรมแกนนำ ดำเนินการตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหารของร้านค้าจำหน่ายอาหารในเขตรับผิดชอบ 2.3เจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมกับตัวแทน อสม. แกนนำดำเนินการตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหารของร้านค้าจำหน่ายอาหารในเขตรับผิดชอบซ้ำทุก 6 เดือน 3.ขั้นประเมินผล
3.1 ผลการตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหารของร้านค้าจำหน่ายอาหาร
3.2 ติดตามผลการตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหารของร้านค้าจำหน่ายอาหารในเขตรับผิดชอบซ้ำทุก 6 เดือน
4.ขั้นการสรุปผลการดำเนินโครงการ 4.1 การประเมินผลการดำเนินงานและสรุปของการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้ประกอบการร้านจำหน่ายอาหารมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกซื้อและจำหน่ายอาหารที่ปลอดภัยปราศจากสารปนเปื้อน
2.ประชาชนในเขตพื้นที่เป้าหมายได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัยปราศจากสารเคมีและสิ่งปนเปื้อ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12395.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,395.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ประกอบการร้านจำหน่ายอาหารมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกซื้อและจำหน่ายอาหารที่ปลอดภัยปราศจากสารปนเปื้อน
2.ประชาชนในเขตพื้นที่เป้าหมายได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัยปราศจากสารเคมีและสิ่งปนเปื้อ


>