กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาท่ามใต้

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเพิ่มศักยภาพคลีนิคบริการโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ปี ๒๕62

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาท่ามใต้

รพ.สต.บ้านนาท่าม

1…นาย…บรรจบ………แก้วละเอียด……………
2…นาง……สุชญา………นิติรงสรรค
3…นางสาวสุปราณี……เทพจันดา.................

รพ.สต. บ้านนาท่าม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

60.00
2 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

60.00

ในปัจจุบัน ปัญหาทางด้านสาธารณสุขที่สำคัญ คือ ปัญหาผู้ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อและโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง นับวันจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งโรคเรื้อรังดังกล่าว โดยเฉพาะโรคเบาหวานก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ มีการประมาณการทางสถิติว่า ทั่วโลกมีผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานประมาณ ๑๒๕ ล้านคน และมีอัตราการเพิ่มของผู้ป่วยทุกปี และในการศึกษาสถานการณ์และธรรมชาติวิทยาของโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในประชากร พบว่า ภาพรวมของประเทศ พบประชากรไทยมีแนวโน้มการป่วยและตายด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นใน ๑๓ ปีขึ้นไป มากกว่าหนึ่งล้านเก้าแสนคน และมีแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของความชุกและจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากนั้น ยังพบว่า เมื่ออายุสูงขึ้นมีโอกาสเป็นเบาหวานได้ง่าย เมื่อเป็นโรคเบาหวานระยะหนึ่งและจะเกิดโรคแทรกซ้อนทางตา เท้า ไต หัวใจ ระบบประสาท แผลเรื้อรัง เป็นต้น
จากผลการดำเนินงานรักษาพยาบาลและคัดกรอง ค้นหาผู้ป่วยของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านนาท่ามได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพ โดยให้บริการตรวจคัดกรอง เพื่อค้นหาโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเบื้องต้น พบว่ามีผู้ป่วยรายใหม่และผู้ที่มีภาวะเสี่ยงจำนวนมาก โดยเฉพาะในปี ๒๕๕๙ พบผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ในชุมชนถึง ๒ คนและโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่จำนวน ๖ คน และปัจจุบัน แม้ว่าการรักษาโรคเบาหวานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจะดีขึ้น กล่าวคือ มีแพทย์ออกให้บริการตรวจรักษาถึงในระดับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล แต่ระบบติดตามดูแลฟื้นฟู การให้ความรู้เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน และการส่งเสริมสุขภาพทั้งทางกาย จิตใจ และสังคมภายหลังการรับการรักษายังมีระบบที่ไม่ดีเพียงพอ ทำให้ผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรังดังกล่าวมีภาวะแทรกซ้อนเพิ่มมากขึ้น
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านนาท่ามได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาคลินิกบริการโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ จากโรค

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานได้

ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่เกิน 110mg/dl ร้อยละ 60

60.00
2 ๒.เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานได้

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมได้ไม่เกินค่ามาตรฐานร้อยละ 60

60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 100
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ๑.ให้บริการผู้ป่วยคลินิกโรคเรื้อรังโดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วยสูง วัดความดันโลหิต ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด 2.ผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบณ์(KMในผู้ป่วยเรื้อรัง) 3.สอนและสาธิตการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้ป่วย 4.ผู้ป่วยรับการคตรวจรั

ชื่อกิจกรรม
๑.ให้บริการผู้ป่วยคลินิกโรคเรื้อรังโดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วยสูง วัดความดันโลหิต ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด 2.ผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบณ์(KMในผู้ป่วยเรื้อรัง) 3.สอนและสาธิตการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้ป่วย 4.ผู้ป่วยรับการคตรวจรั
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑. ประชุมเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ปัญหาในการรับบริการที่คลินิก เพื่อกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน ๒. นำเสนอปัญหาต่าง ๆ ในการดำเนินการให้บริการผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาท่าม เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหา ๓. เขียนโครงการเพื่อของสนับสนุนงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนตำบลนาท่ามใต้ ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง หน่วยงาน เพื่อดำเนินงานโครงการ ๔. จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ ในการดำเนินงานตามโครงการ ๕. กำหนดกิจกรรมในการดำเนินงานในคลินิก โดยมีรูปแบบของกิจกรรม ดังนี้ - ให้บริการผู้ป่วยคลินิกโรคเรื้อรัง โดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ประเมินค่าดัชนีมวลกาย วัดความดันโลหิต ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด - ผู้ป่วยรับประทานอาหารเช้าร่วมกัน - ผู้ป่วยเข้าร่วมทำกิจกรรมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และสร้างเสริมกำลังใจแก่กัน (KMในคลินิกโรคเรื้อรัง) โดยมีการจุดกราฟแสดงค่าระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยแต่ละคน และจุดกราฟความดันโลหิตเพื่อดูแนวโน้มของการเกิดภาวะแทรกซ้อน และหาแนวทางในการแก้ไขร่วมกันของกลุ่ม ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่างๆ ให้เหมาะสมกับโรคที่เป็น โดยทีมสุขภาพของ CUP โรงพยาบาลตรัง ซึ่งประกอบไปด้วยแพทย์ พยาบาล เภสัชกร และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาท่าม เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ
- สอนและสิตการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้ป่วย สรุปเนื้อหา สาระสำคัญ นัดหมายการพบกันครั้งต่อไป ปิดกลุ่ม - ผู้ป่วยรับการตรวจรักษาโดยแพทย์ พยาบาล เภสัชกร และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของ CUP โรงพยาบาลตรัง - ผู้ป่วยรับยาและคำอธิบายการใช้ยา ผลข้างเคียง และประเมินความถูกต้องในการรับประทานยาของผู้ป่วยจากเภสัชกร ๖. ตรวจสุขภาพประจำปีให้กับผู้ป่วยตามเกณฑ์ อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง ๗. ทีมสุขภาพร่วมประชุมและวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วย เพื่อประเมินแนวโน้มในการเกิดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยในแต่ละราย ๘. ทีมสุขภาพร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุข ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเบาหวานที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี และควบคุมระดับความดันโลหิตได้ไม่ดี 9. สรุปและประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ งบประมาณ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มารับบริการในคลินิกแล้วมีผลความดันและค่าน้ำตาลผิดปกติเพื่อเข้าประชุมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จำนวน 4 ครั้งๆละ ๑๐๐ คนๆละ25บาท (4x100x25)เป็นเงิน 10,000 บาท -ค่าข้าว rice berry (สำหรับผู้ที่สามารถควบคุมโรคได้) ถุงละ 2 กิโลกรัม จำนวน 15 ถุงๆละ200 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท -ค่าวัสดุในการประชุมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เป็นเงิน 2,000 บาท รวมเป็นเงิน 15,000 บาท(หนึ่งหมื่นห้าพันบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑. ผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ป่วยโรคความดันหิตสูงในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาท่ามได้รับการเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพ สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตได้ตามเกณฑ์     ๒. ผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ป่วยโรคความดันหิตสูงและญาติมีส่วนร่วมในการรักษาพยาบาลและส่งเสริมสุขภาพและมีความพึงพอใจต่อการให้บริการของโรพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล     ๓. ผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ป่วยโรคความดันหิตสูงไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนของโรค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. ผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ป่วยโรคความดันหิตสูงในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาท่ามได้รับการเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพ สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตได้ตามเกณฑ์
๒. ผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ป่วยโรคความดันหิตสูงและญาติมีส่วนร่วมในการรักษาพยาบาลและส่งเสริมสุขภาพและมีความพึงพอใจต่อการให้บริการของโรพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
๓. ผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ป่วยโรคความดันหิตสูงไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนของโรค


>