2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
ข้อมูลด้านสาธารณสุขของตำบลหารเทาในปี ๒๕๖๑ พบว่าประชาชนตำบลหารเทาประสบกับปัญหาเรื่องสุขภาพเป็นจำนวนมาก เช่น โรความดันโลหิต โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง หรือมะเร็ง ทำให้แกนนำชาวบ้านเริ่มตื่นตัว และเล็งเห็นว่า พืชผัก ผลไม้ และอาหารที่รับประทานไม่มีความปลอดภัย เพราะส่วนใหญ่ซื้อมาจากตลาด ทำให้มีสารเคมีปนเปื้อนสูง รวมทั้งพฤติกรรมการบริโภคอาหารสำเร็จรูปมากยิ่งขึ้นยิ่งขึ้น ล้วนมีสารเคมีเจือปน หากรับประทานเข้าไปมากๆ อาจได้รับโทษกลับมาแทน ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพในเวลาต่อมา ด้วยเหตุนี้เกษตรกรจึงหันมารวมกลุ่มกันปลูกผัก ผลไม้ และประกอบอาหารขึ้นในชุมชน ในนามกลุ่มสัมมาชีพในเขตตำบลหารเทา โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ยึดตามแนวทฤษฎีใหม่ขั้นกลางดำเนินการรวมพลังกันในรูปกลุ่ม ร่วมแรงร่วมใจกันดำเนินการด้านการผลิต ร่วมมือในการผลิตและการเพาะปลูก ด้านการตลาด เมื่อมีการผลิตแล้ว ต้องเตรียมการเพื่อการขายลผลิตให้ได้ประโยชน์สูงสุด และการรวมกันขายผลผลิตให้ได้ราคาดี และลดค่าใช้จ่ายลงด้วย ความเป็นอยู่ เกษตรกรต้องมีความเป็นอยู่ที่ดีในการดำรงชีวิต ด้านสวัสดิการ ด้านการศึกษา สังคมและศาสนา ชุมชนควรเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาสังคมและจิตใจ โดยมีศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยว ดังนั้นการพัฒนาคนให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ จะต้องคำนึงถึงการหลักโภชนาการในเรื่องของอาหาร ซึ่งเป็นปัจจัยสี่ต่อการดำรงชีวิตของเด็ก เยาวชนและประชาชนในตำบลหารเทาและประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงโดยเน้นถึงความสำคัญต่อระบบสุขภาพ อาหารที่บริโภคต้องสะอาด ปราศจากเชื้อโรค ปลอดภัย ไร้สารพิษ และกระตุ้นการเอาใจใส่สุขภาพของตัวเอง และสร้างหลักประกัน ความมั่นคง ในการสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชน เด็กและเยาวชนที่กำลังจะเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติ รวมทั้งการพัฒนาทางด้านสติปัญญา ทางด้านร่างกาย ทางด้านอารมณ์ และทางด้านสังคม เมื่อผลผลิตได้เยอะเหลือกิน ก็มีการแบ่งปันกัน เกิดวิถีชีวิตชุมชนเครือญาติมีการเกื้อกูลกัน ชาวบ้านก็เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน กลุ่มสัมมาชีพตำบลหารเทาได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องของอาหารตามหลักโภชนาซึ่งเป็นปัจจัยสี่ต่อการดำรงชีวิตของเด็ก เยาวชนและประชาชนในตำบลหารเทาและประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงซึ่งมีความสำคัญต่อสุขภาพ คือ อาหารที่บริโภคต้องสะอาด ปราศจากเชื้อโรค ปลอดภัย ไร้สารพิษ และกระตุ้นการเอาใจใส่สุขภาพของตัวเอง เพื่อมุ่งสร้างหลักประกัน ความมั่นคง ในการสร้างสุขภาพดีให้กับประชาชน เด็กและเยาวชนที่กำลังจะเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติ รวมทั้งการพัฒนาทางด้านสติปัญญา ทางด้านร่างกาย ทางด้านอารมณ์ และทางด้านสังคมซึ่งในปัจจุบันมีความเจริญและพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี ในยุคโลกาภิวัตน์ ที่มีการแข่งขันกันมากยิ่งขึ้น จำเป็นอย่างยิ่งจะต้องมีการพัฒนาด้านโภชนาการ เศรษฐกิจสังคม ศาสนา วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม และการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อให้เด็ก เยาวชนและประชาชนในพื้นที่และประชาชนทั่วไปมีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง ได้บริโภคอาหารสะอาด ปลอดภัย ไร้สารพิษ ได้อย่างเพียงพอ อันส่งผลให้มีสุขภาพจึงได้จัดทำโครงการอาหารปลอดภัย“ชีวิตดีมีสุข ไม่มีโรค”ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปี 256๒nเพื่อส่งเสริมการบริโภคอาหารปลอดภัย ปลอดสารพิษ ไร้สารตกค้าง เพื่อส่งเสริมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการปลูกพืชผัก การผลิตอาหารของกลุ่มเกษตรกรในชุมชนตามแนวทางทฤษฎีใหม่เพื่อส่งเสริมการจำหน่ายอาหารที่ปลอดภัยไม่มีสารตกค้าง เพื่อส่งเสริมให้เด็ก เยาวชนและประชาชนมีสุขดีถ้วนหน้าสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของประเทศชาติต่อไป
ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 18/01/2019
กำหนดเสร็จ
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?๑.ผู้บริโภคได้มีความรู้ ความเข้าใจ ในวิธีการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย ปลอดสารพิษ สารตกค้าง
๒.เด็ก เยาวชน และประชาชน ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้การบริโภคอาหารได้มากยิ่งขึ้น
๓.กลุ่มเกษตรกรผลิตอาหารให้กับผู้บริโภคได้อย่างเพียงพอตามความต้องการ เหมาะสมตามหลักโภชนาการ
๔.เด็ก เยาวชน และประชาชน มีสุขภาพดีถ้วนหน้า อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข และเป็นพลเมืองดีมีคุณภาพของประเทศชาติต่อไป