กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการติดตามดูแลผู้ป่วยความดันโลหิตสูงให้ได้รับยาเหมาะสมกับความเจ็บป่วย (HBPM) ศูนย์แพทย์ชุมชนในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง ปี 2562

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองพัทลุง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการติดตามดูแลผู้ป่วยความดันโลหิตสูงให้ได้รับยาเหมาะสมกับความเจ็บป่วย (HBPM) ศูนย์แพทย์ชุมชนในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง ปี 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองพัทลุง

กลุ่มงานการพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลพัทลุง

-

ศูนย์แพทย์ชุมชนทั้ง 3 แห่งในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงควบคุมโรคได้

 

75.00

กลุ่มของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่เป็นปัญหาสาธารณสุขและมีความสำคัญต่อการป่วย พิการและตายก่อนวัยอันควรจำนวนมาก ได้แก่ โรคหัวใจขาดเลือด โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์ อัมพาต ซึ่งโรคไม่ติดต่อเรื้อรังนี้ไม่ได้มีผลกระทบเฉพาะบุคคลผู้ที่เป็นโรคเท่านั้น แต่ยังส่งผลไปถึงครอบครัว ชุมชน รวมไปถึงการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยพบว่าจากการคาดประมาณการสูญเสียรายได้จากผลผลิตประชาชาติ (GDP) ของประเทศไทยจากหัวใจ อัมพาต และเบาหวาน ในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ประมาณ ๔,๒๐๐ ล้านบาท และในอีก ๑๐ ปี ข้างหน้า พ.ศ. ๒๕๕๘ (หากยังคงมีการเพิ่มของปัญหาเช่นเดียวกับเมื่อก่อนปี พ.ศ.๒๕๔๗) จะมีการสูญเสียสะสม เป็นประมาณ ๕๒,๑๕๐ ล้านบาท จากข้อมูลของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ปี๒๕๕๐พบอัตราการพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลเพิ่มสูงขึ้น จากปี ๒๕๔๐ ทุกโรค ดังนี้ ๑. โรคความดันโลหิตสูง เพิ่มขึ้น ๔.๙๕ เท่า ๒.โรคเบาหวาน เพิ่มขึ้น ๔.๔๐ เท่า ๓. โรคหัวใจขาดเลือดเพิ่มขึ้น ๕.๓๕ เท่า และ ๔. โรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น ๒.๗๕ เท่า
นโยบายด้านสาธารณสุข รัฐบาลมุ่งเน้นในการปรับปรุงระบบบริการสาธารณสุขให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น พัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร่วมกับพัฒนาบทบาท อสม.ในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เปลี่ยนจากงานรักษาพยาบาลแบบตั้งรับ มาเน้นการส่งเสริมให้มีการสร้างสุขภาพเชิงรุกของบุคคล ครอบครัว และชุมชน ซึ่งจะมีผลทำให้ระบบบริการสุขภาพในภาพรวม มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ลดปริมาณผู้ป่วยโรคเรื้อรังไปใช้บริการในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ลดลง ลดภาระค่าใช้จ่ายและเวลาในการเดินทางของประชาชน อีกทั้งเป็นการประหยัดงบประมาณของชาติในระยะยาว
เขตเทศบาลเมืองพัทลุง ปัจจุบันมีผู้ป่วยความดันโลหิตสูง จำนวน 3,942 คน และมีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมโรคไม่ได้ จำนวน 2,178 คน กลุ่มงานการพยาลชุมชนโรงพยาบาลพัทลุงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ จึงได้ทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อป้องกันและลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงลดการใช้ยา และผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการบริการและได้รับการดูแลและรักษาอย่างถูกต้องส่งเสริมการดูแลตนเอง และญาติของผู้ป่วย แบบองค์รวม เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี และความยั่งยืนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีภาวะ white coat ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง 2. เพื่อประเมินผลการดูแลรักษาภาวะความดันโลหิตสูงโดยมีการติดตามค่าความดันโลหิตที่จัดการที่บ้านด้วยตนเอง

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมโรคไม่ได้ที่มีภาวะ white coat ได้รับการดูแลเรื่องการใช้ยาได้อย่างถูกต้องเหมาะสมผู้ป่วยสามารถควบคุมโรคได้ร้อยละ 50

50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 30
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการที่ศูนยืแพท 30

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2019

กำหนดเสร็จ 31/08/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการแก่เจ้าหน้าที่และ อสม.ผู้รับผิดชอบงานศูนย์แพทย์ชุมชนทั้ง 3 แห่ง

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการแก่เจ้าหน้าที่และ อสม.ผู้รับผิดชอบงานศูนย์แพทย์ชุมชนทั้ง 3 แห่ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการแก่เจ้าหน้าที่และ อสม.ผู้รับผิดชอบงานศูนย์แพทย์ชุมชนทั้ง 3 แห่ง
  • จัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมาย
  • ประชาสัมพันธ์ให้พื้นที่ทราบ
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะทำงานได้รับทราบแนวทางการดำเนินงานโครงการ

รวบรวมข้อมูลกำหนดกลุ่มเป้าหมายและสร้างทะเบียน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอมรมเชิงปฏิบัติการในกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะ white coat

ชื่อกิจกรรม
จัดอมรมเชิงปฏิบัติการในกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะ white coat
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอมรมให้ความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง

จัดอมรมเชิงปฏิบัติการในกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะ white coat

งบประมาณ
1.ค่าสมณาคุณวิทยากรจำนวน 3 ชม.ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
2.ค่าเครื่องวัดความดันโลหิตสูง จำนวน 10 เครื่อง x 3,500บาทเป็นเงิน 35,000 บาท
3. ค่าวัสดุอบรมเป็นเงิน 3,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมโรคไม่ได้ที่มีภาวะ white coatได้รับการดูแลเรื่องการใช้ยาได้ยาได้อย่างถูกต้องเหมาะสมผู้ป่วยสามารถป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนได้ดีขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
40000.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามผลกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
ติดตามผลกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามความดันโลหิตสูง 7 วันต่อเนื่องกันภายใน 1 สัปดาห์

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายสามารถควบคุมความดันโลหิต และได้รับการดุแลเรื่องการใช้ยา ต่อเนื่อง 7 วัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ประเมินผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ประเมินผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามค่าความดันโลหิตสูงหลังเข้าโครงการ ๓ เดือน

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมาย ได้รับการดูแลเรื่องการใช้ยาได้ยาได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและสามารถป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนได้ดีขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 40,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมโรคไม่ได้ที่มีภาวะ white coatได้รับการดูแลเรื่องการใช้ยาได้ยาได้อย่างถูกต้องเหมาะสมผู้ป่วยสามารถป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนได้ดีขึ้น


>