กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานหวานหมู่ที่๑,๒,๓,๔,๑๓ ตำบลพนางตุงประจำปี ๒๕๖๒

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลพนางตุง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานหวานหมู่ที่๑,๒,๓,๔,๑๓ ตำบลพนางตุงประจำปี ๒๕๖๒

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลพนางตุง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทะเลน้อย

นางปัทมพรทองเกลี้ยง
นางมณฑารามทอง
นางสาวนราธิปหนู่พุ่ม
นางสุภาพรพูนสง
นางสาวพักตร์สุดา เรืองวุธ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทะเลน้อย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรัง และเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของโลก ถึงแม้ว่าจะมีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการเกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน แต่ความชุกและอุบัติการณ์ กลับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งในชุมชนเมืองและในชนบทอีกทั้งผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานนั้น ถ้ามีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม จะเกิดภาวะแทรกซ้อน ทั้งทางตา ไต เท้า สมอง หัวใจหรืออาจหมดสติจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง หมดสติจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ติดเชื้อง่าย หลอดเลือดตีบหรือแตกในสมอง ทำให้เป็นอัมพาตได้ผลกระทบของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน มีทั้งกระทบโดยตรงต่อผู้ป่วยและครอบครัว คือ จะต้องเสียค่าใช้จ่ายต่างๆการรักษาพยาบาล รวมทั้งสูญเสียอวัยวะ และความพิการซึ่งเกิดขึ้นได้มาก กว่าคนปกติ รวมทั้งมีผลกระทบถึงสภาพจิตใจด้วย นอกจากนี้ผลเสียทางอ้อมอันเกิดจากภาวะแทรกซ้อนและการมีพยาธิสภาพ ซึ่งทำให้เกิดความพิการหรือไร้สมรรถภาพ เช่น ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ขาดรายได้จากการทำงาน สมรรถภาพในการทำงานลดลง การสูญเสียทรัพยากรบุคคลและอาจมีอายุสั้นกว่าปกติ ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ดีพอ อีกทั้งรัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายในการนำเข้าเวชภัณฑ์จากต่างประเทศ และค่าใช้จ่ายในด้านอุปกรณ์การตรวจโรคเบาหวานและโรคแทรกซ้อนด้วยเหตุที่โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง การรักษาเพื่อควบคุมโรคนั้นประกอบไปด้วยการควบคุมอาหาร การใช้ยาเบาหวาน การออกกำลังกายการดูแลสุขภาพทั่วไป ซึ่งถ้าผู้ป่วยรู้จักปฎิบัติตนได้อย่างถูกต้องเหมาะสมแล้ว ก็จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดใกล้เคียงกับคนปกติและสามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้ยืนยาวและมีความสุข จากสถานการณ์โรคเบาหวานปี 2555 – 2558ในภาพรวมของประเทศพบอัตราตาย ในปี 2556 - 2558 เท่ากับ 14.93, 17.53 และ 17.83จังหวัดพัทลุงมีอัตราตายของผู้ป่วยเบาหวานร้อยละ 3.95ต่ำกว่าในระดับประเทศในส่วนของอำเภอควนขนุนมีอัตราตาย ร้อยละ 4.39 และ มีแนวโน้มผู้ป่วยโรคเบาหวานสูงขึ้นทุกๆปีจากสถิติตั้งแต่2558 – 2560ความชุกของผู้ป่วยเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นดังนี้ ดังนี้4.615,5158,5,483 ต่อแสนประชากรตามลำดับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทะเลน้อยจึงจัดทำโครงการโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานหวานหมู่ที่๑,๒,๓,๔,๑๓ ตำบลพนางตุงประจำปี ๒๕๖๒เพื่อ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3 อ. 2 ส.ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลในเลือดไม่ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มข้นในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ที่มีความเสี่ยง CVD risk และให้ผู้ป่วยเบาหวานได้รับบริการตรวจประเมินสุขภาพเท้าตามแนวทางปฏิบัติ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

วัตถุประสงค์
๑. ประชากรกลุ่มป่วยเบาหวานมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง
๒. ประชากรกลุ่มป่วยเบาหวานมีพฤติกรรมที่ถูกต้องในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้อย่างยั่งยืน
๓. ประชากรกลุ่มป่วยเบาหวานมีผลการตรวจภาวะแทรกซ้อนทางไต ไม่เกินระดับ ๓
๔. ประชากรกลุ่มป่วยเบาหวานมีผลการตรวจเท้าปกติ
กลุ่มเป้าหมาย ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลไม่ได้๓๐ รายในเขตรับผิดชอบหมู่ที่๑,๒,๓,๔,๑๓ ตำบลพนางตุง
๑.๑ อบรมให้ความรู้เรื่อง โภชนาการ ออกกำลังกาย สุขภาพจิต การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
๑.๒ อบรมให้ความรู้แก่ผู้ป่วยเบาหวานเรื่องภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน
๑.๓ อบรมทักษะการใช้ชีวิตและพฤติกรรมที่เหมาะสม
๑.๔ ตรวจภาวะแทรกซ้อน ตา ไต เท้าผู้ป่วยเบาหวานที่คุมน้ำตาลไม่ได้
๒. ประเมินความรู้และพฤติกรรมผู้เข้าร่วมโครงการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
๑. ประชากรกลุ่มป่วยเบาหวานมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง(Pretest/Posttest)มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ ๘๐
๒. ประชากรกลุ่มป่วยเบาหวานมีพฤติกรรมที่ถูกต้องในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้อย่างยั่งยืนมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ ๘๐
๓. ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการค่า eGfR > ๔๔
๔.ไม่พบแผลเรื้อรังบริเวณเท้า

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 30
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 0.00 บาท

หมายเหตุ :
จำนวนเงินงบประมาณ ๙,๔๕๐ บาท

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ระดับความรู้ของผู้เข้าร่วมโครงการมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ ๘๐
2. ผู้เข้าร่วมโครงการมีพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ ๘๐
๓. ประชากรกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานมีภาวะแทรกซ้อนไม่เกินร้อยละ ๓
๔. ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับ HbA๑c ได้น้อยกว่า ๘


>