กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองพัทลุง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

พัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีอุปกรณ์ติดตัว ปี 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองพัทลุง

กลุ่มงานการพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลพัทลุง

เขตเทศบาลเมืองพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล (คน)

 

75.00
2 จำนวนผู้ช่วยเหลือ(CG)ที่มีทักษะการดูและช่วยเหลือผู้สูงอายุในชุมชน (คน)

 

75.00

ปัจจุบันสังคมไทยกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางประชากรครั้งสำคัญ คือการเข้าสู่สังคม
ผู้สูงอายุ และจำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น โดยสัดส่วนจำนวนประชากรในวัยทำงานและวัยเด็กลดลง เนื่องจากอัตราเกิดและอัตราตายลดลงอย่าง ต่อเนื่องในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา ทำให้ประชากรไทยโดยเฉลี่ยมีอายุยืนยาวขึ้น ผลสำรวจล่าสุด มีผู้สูงอายุ กว่า 1 ล้านคนที่สุขภาพไม่ดีนอนติดเตียง ต้องพึ่งคนอื่นดูแลคิดเป็นเกือบร้อยละ 15 โดยมีประมาณ 960,000 คน ที่ช่วยเหลือตนเองได้บางส่วน อีกประมาณ 63,000 คน ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เลย (มูลนิธิวัยวิวัฒนานิวาส, 2558) ในกลุ่มผู้ป่วยติดเตียงหรือกลุ่มผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพของโรคทำให้เกิด ความพิการ/จำกัดความสามารถในการทำกิจกรรมของตนเอง หรือมีอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์เพื่อช่วยในการดำรงชีวิต มีความจำเป็นต้องมีผู้ดูแลช่วยเหลือการทำกิจวัตรประจำวันให้(ชลการ ทรงศรี, 2557) ส่งผลกระทบในระยะยาวต่อตัวผู้ป่วย ผู้ดูแล ครอบครัว สังคม ชุมชน และประเทศชาติทำให้สูญเสียรายได้และมีปัญหาด้านเศรษฐกิจสังคมตามมา
กลุ่มผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียงที่อยู่ในชุมชน ต้องใช้อุปกรณ์ติดตัวจำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ มีความจำเป็นที่ญาติหรือผู้ดูแลต้องใช้ความรู้และทักษะที่ถูกต้อง ในการใช้และการดูแลอุปกรณ์ติดตัวที่ต้องใช้ในการดำรงชีพของผู้ป่วยที่ติดเตียงที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เช่น ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์–อัมพาต ผู้ป่วยระยะสุดท้าย เป็นต้น
กลุ่มงานการพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลพัทลุง ได้เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการ”พัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีอุปกรณ์ติดตัว ปี 2562”ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

ข้อที่ 1 เพื่อให้ญาติ/ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่มีอุปกรณ์ติดตัวได้มีความรู้/มีทักษะในการดูแลได้อย่างถูกต้อง
ข้อที่ 2 เพื่อให้ผู้ป่วยติดเตียงที่มีอุปกรณ์ติดตัวมีคุณภาพชีวิตที่ดี
ข้อที่ 3 เพื่อให้ผู้ป่วยติดเตียงที่มีอุปกรณ์ติดตัวได้รับการเยี่ยมติดตามอย่างต่อเนื่อง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 30
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีอุปกรณ์ติดตัว ปี 2562 จำนวน 1 วัน

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีอุปกรณ์ติดตัว ปี 2562 จำนวน 1 วัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีอุปกรณ์ติดตัว ปี 2562 จำนวน 1 วัน -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าอบรม/เจ้าหน้าที่/วิทยากร จำนวน 30คนๆละ 2มื้อๆละ25บาทเป็นเงิน 1,500บาท -ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าอบรม/เจ้าหน้าที่/วิทยากร จำนวน 30คนๆละ1มื้อๆละ50บาท เป็นเงิน 1,500บาท -ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน1,800 บาท -ค่าสมนาคุณวิทยากรกลุ่มจำนวน3กลุ่มๆละ1คนๆละ3ชั่วโมงๆละ600 บาท
เป็นเงิน 5,400บาท -ค่าวัสดุ/เอกสารเป็นเงิน 900 บาท -ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ เป็นเงิน 900 บาท -ค่าเดินทางผู้เข้าร่วมประชุม3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ญาติ/ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่มีอุปกรณ์ติดตัวได้รับความรู้และพัฒนาทักษะในการดูแล
2.ผู้ป่วยติดเตียงที่มีอุปกรณ์ติดตัวมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
3. ผู้ป่วยติดเตียงที่มีอุปกรณ์ติดตัวได้รับการเยี่ยมดูแลอย่างต่อเนื่อง


>