กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองนาสาร

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการถนนสุขภาพและส่งเสริมสมรรถภาพด้วยการเดิน-วิ่ง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองนาสาร

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลเมืองนาสาร

ริมคลองฉวาง ตำบลนาสาร อำเภอบ้านนาสาร

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

 

20.00
2 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

10.00

ด้วยปัจจุบัน‘กรมอนามัย’ เผยผลสำรวจสถานการณ์การออกกำลังกายของคนไทยพบว่า ยังมีการออกกำลังกายน้อย แนะนำให้ปรับพฤติกรรมในการใส่ใจการออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อช่วยให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงและป้องกันการเกิดโรคต่างๆได้องค์กรอนามัยโลกได้คาดการณ์ว่าในปี 2558 ทั่วโลกจะมีคนที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน 2,300 ล้านคน คนอ้วน 700 ล้านคน ซึ่งภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง และเบาหวาน ส่งผลให้แต่ละปีมีผู้เสียชีวิตกว่า 2.8 ล้านคน สำหรับประเทศไทยจากการสำรวจสุขภาพประชาชน โดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 พ.ศ.2551-2552 ของประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป พบค่าดัชนีมวลกายที่เท่ากับและมากกว่า 25 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ชายร้อยละ 28.4 หญิงร้อยละ 40.7 และเส้นรอบเอวเกินมาตรฐาน ชายร้อยละ 18.6 หญิงร้อยละ 45.0 นอกจากนี้ยังป่วยเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรไทยจำนวนหลายล้านคน นอกจากนี้จากการสำรวจสถานการณ์การเคลื่อนไหวในการออกแรงหรือออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพของคนไทย พบว่า ประชากรไทยที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ร้อยละ 20 มีกิจกรรมทางกายต่ำ และหากพิจารณาเฉพาะการออกกำลังกายพบว่า ผู้ใหญ่ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3 วันๆ ละ 30 นาที ร้อยละ 22-24 และมีเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น ที่ออกกำลังกายเพียงพอต่อการป้องกันและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ดังนั้น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคนไทยให้หันมาใส่ใจการออกกำลังกายเพิ่มมากขึ้น จึงเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะการเดิน-วิ่ง ที่กำลังได้รับความนิยมในทุกกลุ่มวัย การเดิน-วิ่ง เป็นประจำทุกวัน วันละ 30 นาที จะช่วยให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ช่วยให้ระบบการไหลเวียนของโลหิตและการหายใจดีขึ้น ทำให้หัวใจและปอดทำงานได้ดี สามารถป้องกันโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และการวิ่งที่ถูกวิธียังช่วยลดแรงกระแทกบริเวณหัวเข่า ข้อเท้า ช่วยให้กล้ามเนื้อกระชับและกระดูกแข็งแรง สำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักการวิ่ง สามารถช่วยเผาผลาญพลังงานได้เป็นอย่างดี
ถนนสุขภาพ หมายถึง เส้นทางที่มีความสะอาดและปลอดภัยเหมาะสำหรับการใช้ชีวิตประจำวัน ในการออกกำลังกายด้วยการเดินหรือการวิ่งและการปั่นจักรยาน เพื่อสุขภาพ ทั้งนี้ การสร้างสุขภาพกายที่ดีจะช่วยฝึกจิตใจให้เป็นสุข ช่วยให้จิตใจเบิกบานแจ่มใส และยืดอายุให้ยืนยาวขึ้น การวิ่งเพื่อสุขภาพต่างกับการวิ่งแข่งขัน เพราะเป็นการวิ่งเหยาะๆ ด้วยความเร็วระหว่างการเดินกับการวิ่งเร็ว การวิ่งเพื่อสุขภาพเป็นการออกกำลังกายแบบอากาศนิยม
(แอโรบิค)ชนิดหนึ่งที่ทำได้ง่ายเพราะไม่มีเทคนิคที่ซับซ้อนและมีอันตรายน้อยเมื่อเทียบกับการเล่นกีฬาหรือการออกกำลังกายแบบอื่นการวิ่งเพื่อสุขภาพที่ปฏิบัติอย่างถูกต้องและเหมาะสมกับสภาพร่างกายจะส่งผลให้สมรรถภาพการรับออกซิเจนของร่างกายดีขึ้น เพราะทำให้หัวใจหลอดเลือดและปอดมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางกายภาพและการทำงานจนสามารถรับและขนส่งออกซิเจนได้ดีขึ้น นอกจากนั้นยังมีผลต่อจิตใจที่ทำให้ผู้วิ่งคลายความเคร่งเครียดทางจิตใจและมีอารมณ์ปลอดโปร่งขึ้นด้วย
ดังนั้นกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลเมืองนาสาร จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสมรรถภาพด้วยการเดิน-วิ่ง เพื่อสุขภาพเป็นการสร้างเสริมสุขภาวะร่างกายของประชาชนเมืองนาสาร และเห็นความสำคัญของการออกกำลังกายให้มีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บอันไม่พึงปรารถนาเกิดเป็นภาคีเครือข่ายสร้างสุขภาพและส่งผลให้ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองนาสารมีคุณภาพชีวิตที่ดีสืบไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อจัดระบบถนนที่เอื้อต่อการออกกำลังกายอย่างปลอดภัย

มีถนนที่เอื้อต่อการออกกำลังกายอย่างปลอดภัย

0.00
2 2. เพื่อจัดประชาสัมพันธ์การส่งเสริมการออกกำลังกายแบบเดิน-วิ่ง

ประชาชนได้รับการส่งเสริมการออกกำลังกายแบบเดิน-วิ่ง

20.00
3 3. เพื่อส่งเสริมกิจกรรมการเดิน-วิ่ง อย่างถูกวิธี

มีการส่งเสริมกิจกรรมการเดิน-วิ่ง อย่างถูกวิธี

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 20
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ 10
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดกิจกรรมถนนสุขภาพส่งเสริมสมรรถภาพด้วยการเดิน-วิ่ง ทุกวันเสาร์ เวลา 17.00 – 19.00 น.

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมถนนสุขภาพส่งเสริมสมรรถภาพด้วยการเดิน-วิ่ง ทุกวันเสาร์ เวลา 17.00 – 19.00 น.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าจัดทำป้ายไวนิลโครงการ ฯ ขนาด 3x1.5 เมตร ตารางเมตรละ 150 บาท จำนวน 1 แผ่น เป็นเงิน 675 บาท 2.ค่าป้่ายสติ๊กเกอร์บอกการใช้พลังงานแคลอรี่ที่ได้จากการเดิน-วิ่ง ขนาด 17x70 ซม. ราคาแผ่นละ 60 บาท จำนวน 11 แผ่น เป็นเงิน 660 บาท 3.ค่าป้ายสติ๊กเกอร์ทางขึ้น-ลงบันได ขนาด 17x60 ซม. ราคาแผ่นละ 50 บาท จำนวน 37 แผ่น เป็นเงิน 1,850 บาท 4.ค่าป้ายปิดซอยทางเข้า-ออก จำนวน 3 ซอย ขนาด 0.6x0.6 เมตร ตารางเมตรละ 150 บาท จำนวน 3 แผ่น เป็นเงิน 162 บาท 5.ค่าบอร์ดให้ความรู้ ขนาด 90x90 ซม. ราคาแผ่นละ 400 บาท จำนวน 2 แผ่น เป็นเเงิน 800 บาท 6.ค่าจัดทำป้ายไวนิลปิดถนนทางเข้า-ออก ขนาด 0.6x2 เมตร ตารางเมตรละ 150 บาท จำนวน 2 แผ่น เป็นเงิน 360 บาท 7.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้ารับฟังการให้ความรู้เรื่องท่าการวอร์มร่างกายก่อนเดิน-วิ่ง และประโยชน์ที่ได้จากการ ออกกำลังกายด้วยการเดิน-วิ่งรวมทั้งข้อดี-ข้อเสียที่ส่งผลต่อร่างกาย จากการออกกำลังกาย คนละ 35 บาท จำนวน 300 คน เป็นเงิน 10,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15007.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,007.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนทุกคนมีถนนที่เอื้อต่อการออกกำลังกายอย่างปลอดภัย
2.ประชาชนทุกคนที่เข้าร่วมกิจกรรมออกกำลังกายมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีห่างไกลโรค


>