กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สุคิริน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการควบคุมและป้องกันโรคระบาดประจำถิ่น

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สุคิริน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำตก

-โรงเรียน 1 แห่ง
-หมู่บ้าน/ชุมชน 4 แห่ง
-วัด/มัสยิด/ค่ายทหารพราน 1104
-ผู้นำชุมชน อบต. อสม. ครู ครู ศพด

4 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 1 บ้านไอกาบู หมู่ 5 บ้านน้ำตก หมู่ 10 บ้านรักธรรม หมู่ 12 บ้านน้อมเกล้า

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 สถานการณ์โรคไข้มาลาเรียของพื้นที่รพ.สต.บ้านน้ำตก ในช่วง 5 ปีย้อนหลัง ตั้งแต่ปี 2557 - 2561 พบผู้ป่วยจานวน 52 ราย

 

3,307.88
2 สถานการณ์โรคไข้เลือดออกของพื้นที่รพ.สต.บ้านน้ำตกในช่วง 5 ปีย้อนหลัง ตั้งแต่ปี 2557 – 2561 พบผู้ป่วยจำนวน 13 ราย

 

833.83

โรคติดต่อเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อโรคเข้าไปเพิ่มจำนวนในร่างกาย อาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นเป็นจากตัวเชื้อโรคเอง หรือพิษที่เชื้อโรคนั้นปล่อยออกมา เชื้อโรคจะติดต่อถ่ายทอดจากผู้ป่วยโดยตรงหรือโดยอ้อมไปสู่คนปกติ บางครั้งเรียกว่า โรคติดเชื้อแทนคำว่า โรคติดต่อ สำหรับในเขตร้อน อากาศอบอุ่นจนถึงร้อนจัดตลอดปี และมีฝนตกชุก มีความชื้นสูง เป็นผลให้เชื้อโรคต่างๆ ชุกชุม เมื่อมีการติดต่อถ่ายทอดไปยังผู้อื่น ก็จะทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคมากขึ้น จึงจะต้องมีมาตรการควบคุมที่เคร่งครัด ชัดเจน และมีมาตรฐานในแต่ละปีรัฐบาลต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วย ที่เข้ารับการรักษาเกี่ยวกับโรคต่างๆ เช่น โรคไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย ไข้หวัดนก โรคซาร์ส โรคไข้หวัดใหญ่ โรคมือเท้าปาก และโรคอื่นที่อุบัติใหม่ ฯลฯ เป็นต้น ทำให้เกิดการสูญเสียชีวิต และทรัพย์สินจำนวนมาก ซึ่งกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลสุคิรินถือเป็นหน่วยงานที่ดำเนินการด้านการสนุบสนุน ส่งเสริม ฟื้นฟู และระงับโรคติดต่อที่เกิดขึ้นในพื้นที่ สถานการณ์โรคไข้เลือดออกของพื้นที่รพ.สต.บ้านน้ำตกในช่วง 5 ปีย้อนหลัง ตั้งแต่ปี 2557 – 2561 พบผู้ป่วยจำนวน 13 ราย อัตราป่วยเท่ากับ 833.827 ต่อแสนประชากร และสถานการณ์โรคไข้มาลาเรียของพื้นที่รพ.สต.บ้านน้ำตก ในช่วง 5 ปีย้อนหลัง ตั้งแต่ปี 2557 - 2561 พบผู้ป่วยจานวน 52 ราย อัตราป่วยเท่ากับ 3307.88 ต่อแสนประชากรดังนั้น เพื่อให้การป้องกันควบคุมและเฝ้าระวังโรคระบาดประจำท้องถิ่น เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และมีประสิทธิภาพจึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคระบาดประจำท้องถิ่นขึ้น เพื่อเสริมสร้างให้ประชาชนได้มีสุขภาพที่สมบูรณ์ แข็งแรง เป็นการแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดต่อ ชุมชนมีส่วนร่วมในการป้องกัน ควบคุม และเฝ้าระวังโรคติดต่อในชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังและควบคุมการระบาดของโรคระบาดประจำถิ่น

สามารถป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคติดต่อได้ร้อยละ 50

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่ดี

ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่ดีขึ้นร้อยละ 50

0.00
3 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีการรับรู้และให้ความร่วมมือในการเฝ้าระวังและควบคุมโรคระบาดประจำถิ่น

สามารถสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในชุมชนได้ร้อยละ 50

0.00
4 เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ

ประชาชนได้รับความรู้เกี่ยวกับการองกันและควบคุมโรคติดต่อร้อยละ 50

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 90
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 525
กลุ่มวัยทำงาน 726
กลุ่มผู้สูงอายุ 194
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 13/06/2019

กำหนดเสร็จ 27/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการป้องกันและควบคุมโรคระบาดในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
โครงการป้องกันและควบคุมโรคระบาดในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โรงเรียนชุมชนรพ.สต. และอื่น ๆร่วมกันวางแผนดำเนินการ
2.ลงพื้นประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบถึงวิธีป้องกัน และปฏิบัติตัวเมื่อเกิดโรค
3. เมื่อเกิดโรคระบาดขึ้นมาให้ลงพื้นที่เพื่อดำเนินการระงับ และป้องกันการแพร่ระบาดสู่คนอื่นด้วยวิธีต่าง ๆ
4.ติดตาม ประเมินผล
5.สรุปผลกาดำเนินงาน ได้รับจัดสรรจากงบกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลสุคิริน ประจำปี 2562 จำนวนรวมทั้งหมด
15,160 บาท ๑.ค่าเครื่องดื่มและอาหารว่างทีม srrtตำบลในวันประชุมแผนงาน 50 คน
- ค่าเครื่องดื่มและอาหารว่าง 50 คน x 25 บาท x 2 มื้อเป็นเงิน 2,500 บาท ๒. ค่าอาหารกลางวันทีมรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคนำโดยแมลงจำนวน50คน - ค่าอาหารกลางวันทีมรณรงค์50 คน x50 บาท x2 ครั้ง เป็นเงิน5,000 บาท 3.ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงในการผสมน้ำยาพ่นหมอกควัน หมู่บ้านละ ๒ ครั้ง ระยะห่าง 6 เดือน - น้ำมันดีเซลลิตรละ 34 บาท x 40 ลิตร x 2 ครั้ง เป็นเงิน 2,720บาท - น้ำมันเบนซินลิตรละ 36 บาท x 20 ลิตร x 2 ครั้ง เป็นเงิน 1,440บาท 4.ค่าทรายเคลือบสารเทมีฟอส 1%1ถัง (ขนาดบรรจุ500ซอง)เป็นเงิน 3,500บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 15,160 บาท (หนึ่งหมื่นห้าพันหนึ่งร้อยหกสิบบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-ชุมชนได้รับความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่นำโดยแมลงและมีส่วนร่วมในการป้องกัน ควบคุม และเฝ้าระวังโรคติดต่อ ลดอัตราป่วยในชุมชนลง
-ผู้ป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรีย ลดน้อยลงทุกปี จนไม่มีผู้ป่วยอีกในอนาคต

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15160.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,160.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนเห็นความสำคัญและตระหนักถึงอันตรายของโรคติดต่อที่มีอยู่ในพื้นที่มากขึ้น
2. มีการบูรณาการระหว่าหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ให้มากขึ้น ต่อเนื่อง ตลอดไป
3. ผู้ป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรีย ลดน้อยลงทุกปี จนไม่มีผู้ป่วยอีกในอนาคต
4. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำความรู้ที่ได้ รวมถึงนำภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการประยุกต์ใช้ในการควบคุมป้องกันโรคได้
5. ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ใช้ชีวิตอยู่อย่างพอเพียง
6. ประชาชนมีสุขภาพดีถ้วนหน้าตลอดไป


>